กฟภ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครสอบพนักงานรัฐวิสาหกิจ 20 ก.ค. -26 ก.ค. 2563 รวม 223 อัตรา,

แชร์เลย
กฟภ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดรับสมัครสอบพนักงานรัฐวิสาหกิจ

กฟภ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ลิงค์: https://ehenx.com/9864/ หรือ
ตำแหน่ง: วิศวกร(ไฟฟ้า),วิศวกร(คอมพิวเตอร์),นักการเงิน,นักตรวจสอบภายใน,นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นิติกร,บุคลากร,เศรษฐกร,สถาปนิก,นักวิทยาศาสตร์,นักบัญชี,นักพัสดุ,บุคลากร,นักประชาสัมพันธ์,วิทยากร,วิศวกรโยธา,นักการเงิน,นักสถิติ,วิศวกร(ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม),วิศวกร(เครื่องกล),วิศวกร(โยธา),นักบัญชี,พนักงานช่าง(ไฟฟ้า),พนักงานช่าง(โทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์),พนักงานช่าง(โยธา),พนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์,พนักงานบัญชี
ระดับการศึกษา: ปวส.,ป.ตรี
อัตราเงินเดือน:
อัตราว่าง: 223
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร,กาญจนบุรี,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยภูมิ,ชุมพร,ชลบุรี,เชียงใหม่,เชียงราย,ตรัง,ตราด,นครนายก,นครปฐม,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช,นครสวรรค์,นราธิวาส,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ปทุมธานี,ปัตตานี,พระนครศรีอยุธยา,พังงา,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบุรี,เพชรบูรณ์,แพร่,พัทลุง,ภูเก็ต,แม่ฮ่องสอน,ยะลา,ร้อยเอ็ด,ระนอง,ระยอง,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,เลย,ศรีสะเกษ,สงขลา,สระแก้ว,สระบุรี,สุรินทร์,สตูล,หนองบัวลำภู,อุดรธานี,อุทัยธานี,อุบลราชธานี,อ่างทอง
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 20 ก.ค. – 26 ก.ค. 2563
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กฟภ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัคร

ประกาศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกจากบุคคลภายนอก เพื่อเข้าปฏิบัติงานกับ กฟภ. ประจำปี 2563

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภคสาขาพลังงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 โดยมีภารกิจในการจัดหา ให้บริการพลังงานไฟฟ้า และ ดําเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ ทั้งด้านคุณภาพและบริการ โดยการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมพื้นที่จําหน่ายไฟฟ้า 74 จังหวัด (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ) คิดเปฌนพื้นที่รับผิดชอบ ร้อยละ 99 ของพื้นที่ประเทศไทย ในการนี้กฟภ. มีความประสงค์จะรับสมัครสอบคัดเลือกจากบุคคลภายนอกเพื่อเข้าปฏิบัติงานกับ กฟภ. ประจําปี 2563 โดยมีอัตรารับสมัครเขตพื้นที่การปฏิบัติงานสํานักงานใหญ่ จํานวน 29 อัตรา และสํานักงานส่วนภูมิภาค ทั่วประเทศ จํานวน 194 อัตรา รวมจํานวน 223 อัตรา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

คอร์สติวเข้ม เจาะข้อสอบกฟภ.

 

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

วิศวกร (ไฟฟ้า)

อัตราว่าง : 55 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


วิศวกร (คอมพิวเตอร์)

อัตราว่าง : 5 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักการเงิน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักตรวจสอบภายใน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


คู่มือเตรียมสอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระดับปริญญาตรี ปี 63 BC-32769
270.00 ฿ ลดพิเศษ!! เหลือเพียง 243.00 ฿

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นิติกร

อัตราว่าง : 6 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


บุคลากร

อัตราว่าง : 7 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


เศรษฐกร

อัตราว่าง : 4 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


สถาปนิก

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักวิทยาศาสตร์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักบัญชี

อัตราว่าง : 14 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักพัสดุ

อัตราว่าง : 7 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


บุคลากร

อัตราว่าง : 2 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักประชาสัมพันธ์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


วิทยากร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


วิศวกรโยธา

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักการเงิน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักสถิติ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


วิศวกร (ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม)

อัตราว่าง : 2 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


วิศวกร (เครื่องกล)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


วิศวกร (โยธา)

อัตราว่าง : 2 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นักบัญชี

อัตราว่าง : 1 อัตรา

คุณวุฒิ : ป.ตรี


พนักงานช่าง (ไฟฟ้า)

อัตราว่าง : 84 อัตรา

คุณวุฒิ : ปวส.


พนักงานช่าง (โทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์)

อัตราว่าง : 2 อัตรา

คุณวุฒิ : ปวส.


พนักงานช่าง (โยธา)

อัตราว่าง : 8 อัตรา

คุณวุฒิ : ปวส.


พนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์

อัตราว่าง : 3 อัตรา

คุณวุฒิ : ปวส.


พนักงานบัญชี

อัตราว่าง : 10 อัตรา

คุณวุฒิ : ปวส.

เขตพื้นที่การปฏิบัติงาน

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ 

ปฏิบัติงานที่ กรุงเทพมหานคร (จำนวน 29 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 1 (เชียงใหม่) ภาค 1

ปฏิบัติงานที่จังหวัดลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย  (จำนวน 17 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 2 (พิษณุโลก) ภาค 1

ปฏิบัติงานที่จังหวัดกำแพงเพชร, แพร่, พิษณุโลก, พิจิตร 

(จำนวน 11 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 3 (ลพบุรี) ภาค 1

ปฏิบัติงานที่จังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, เพชรบูรณ์ 

(จำนวน 15 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 1 (อุดรธานี) ภาค 2

ปฏิบัติงานที่จังหวัดหนองบัวลำภู, ขอนแก่น, อุดรธานี, เลย, บึงกาฬ 

(จำนวน 16 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 2 (อุบลราชธานี) ภาค 2

ปฏิบัติงานที่จังหวัดศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ร้อยเอ็ด 

(จำนวน 14 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 3 (นครราชสีมา) ภาค 2

ปฏิบัติงานที่จังหวัดนครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ชัยภูมิ 

(จำนวน 13 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 1 (อยุธยา) ภาค 3

ปฏิบัติงานที่ที่จังหวัดปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี, นครนายก, สระแก้ว 

(จำนวน 14 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 2 (ชลบุรี) ภาค 3

ปฏิบัติงานที่จังหวัดชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, ฉะเชิงเทรา 

(จำนวน 39 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 3 (นครปฐม) ภาค 3

ปฏิบัติงานที่จังหวัดวกาญจนบุรี, นครปฐม 

(จำนวน 13 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 1 (เพชรบุรี) ภาค 4

ปฏิบัติงานที่จังหวัดราชบุรี (ยกเว้นบ้านโป่ง), เพชรบุรี, ระนอง, ชุมพร 

การไฟฟ้าเขต 2 (นครศรีธรรมราช) ภาค 4

ปฏิบัติงานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช, พังงา, ภูเก็ต, ตรัง 

(จำนวน 14 อัตรา)

การไฟฟ้าเขต 3 (ยะลา) ภาค 4

ปฏิบัติงานที่จังหวัดสงขลา, สตูล, พัทลุง, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส 

(จำนวน 13 อัตรา)

คุณสมบัติทั่วไป

  1. ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1-24) ตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับที่ 3
  2. ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย
  3. ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกิน ดังต่อไปนี้ ในวันที่ยื่นใบสมัรทางระบบรับสมัครออนไลน์
    1. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกตำแหน่ง อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
    2. ปริญญาตรี ทุกตำแหน่ง ยกเว้นตำแหน่งนิติกร (มีประสบการณ์) อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
    3. ปริญญาตรี เฉพาะตำแหน่งนิติกร (มีประสบการณ์) อายุไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์
  4. ผู้สมัครที่ใช้คุณวุฒิปริญญาตรี ต้องมีผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ. กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์ ดังนี้(ผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษของทุกสถาบัน ต้องเป็นการสอบแบบส่วนบุคคล (Personal) หรือ ที่อกในนามของหน่วยงาน กฟภ. และจะต้องเป็นผลการสอบที่ได้รับการรับรองจากสถาบันทดสอบในประเทศไทย เท่านั้น)
    1. TOEIC สอบทักษะ Listening และ Reading
      ผลคะแนนที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด : ไม่น้อยกว่า 500 คะแนน (คะแนนเต็ม 900 คะแนน)
      อายุของผลคะแนน : มีอายุไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่สอบภาษาอังกฤษ (Test Date) จนถึงวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์
    2. TOEFL แบบ Internet Based Test (IBT)
      ผลคะแนนที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด : ไม่น้อยกว่า 61 คะแนน (คะแนนเต็ม 120 คะแนน)
      อายุของผลคะแนน : มีอายุไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่สอบภาษาอังกฤษ (Test Date) จนถึงวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์
    3. TOEFL แบบ Computer Based Test (CBT)
      ผลคะแนนที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด : ไม่น้อยกว่า 173 คะแนน (คะแนนเต็ม 300 คะแนน)
      อายุของผลคะแนน : มีอายุไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่สอบภาษาอังกฤษ (Test Date) จนถึงวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์
    4. IELTS
      ผลคะแนนที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด : ไม่น้อยกว่า 5 คะแนน (คะแนนเต็ม 9 คะแนน)
      อายุของผลคะแนน : มีอายุไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่สอบภาษาอังกฤษ (Test Date) จนถึงวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์
    5. CU-TEP
      ผลคะแนนที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด : ไม่น้อยกว่า 60 คะแนน (คะแนนเต็ม 120 คะแนน)
      อายุของผลคะแนน : มีอายุไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่สอบภาษาอังกฤษ (Test Date) จนถึงวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์
    6. TU-GET
      ผลคะแนนที่ผ่านตามเกณฑ์ที่ กฟภ.กำหนด : ไม่น้อยกว่า 500 คะแนน (คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน)
      อายุของผลคะแนน : มีอายุไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากเดือนและปีที่สอบภาษาอังกฤษ (Test Date) จนถึงวันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์
  5. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาแล้วในคุณวุฒิที่สมัคร ณ วันที่ยื่นใบสมัครทางระบบรับสมัครออนไลน์ (ถือวันที่สำเร็จการศึกษาตามที่ระบุในใบระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records))
  6. ผู้สมัครต้องมีคุณวุฒิ สาขาวิชา และคุณสมบัติตามระเบียบการไฟฟ้าส่วนวภูมิภาคกำหนดรวมถึงคุณสมบัติเพิ่มเติมตามที่ระบุตามข้อ 2.2 ในประกาศ
  7. ผู้สมัครเพศชาย ต้องพ้นภาระทางทหารแล้ว โดยต้องมีหลักฐาน สด.8 หรือ สด.43 หรือ สด.3 (กรณี เป็นข้าราชการทหาร) เท่านั้น
  8. ไม่อนุญาตให้บุคคล ดังต่อไปนี้ สมัครสอบ
    1. พนักงาน กฟภ. ปัจจุบัน
    2. อดีตพนักงาน กฟภ. ที่พ้นสภาพเนื่องจากถูกให้ออก หรือปลดออก หรือไล่ออก
    3. ผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าปฏิบัติงานกับ กฟภ. ทุกกรณี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

วิศวกร (ไฟฟ้า)
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
  •  ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาอื่นๆ ทั้งนี้จะตอ้งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรขึ้นไป สาขาไฟฟ้า งานไฟฟ้า ไฟฟ้ากำลัง
วิศวกร (คอมพิวเตอร์)
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
นักการเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
นักตรวจสอบภายใน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการ
  • ปริญญาตรีบัญชีหรือ สาขาที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองให้เป็นคุณวุฒิทางด้านบัญชี
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาสถิติ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทางธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทวั่ ไป
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการระหว่างประเทศ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการตลาด
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงิน
  • ปริญญาตรีบัญชีหรือ สาขาที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองให้เป็นคุณวุฒิทางด้านบัญชี
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การประกอบการ ยกเว้น สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ทางด้านการเกษตร
นิติกร
  • ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต นิติศาสตร์
บุคลากร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทางธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ ที่มีใบอนุญาตมาตรฐานวิชาชีพการบริหารทรัพยากรมนุษย์
เศรษฐกร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การประกอบการ ยกเว้น สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ทางด้านการเกษตร
สถาปนิก
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง ทั้งนี้จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (ก.ส.) ระดับภาคีสถาปนิกขึ้นไป สาขา สถาปัตยกรรมหลัก หรือ สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง หรือ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม หรือ สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
นักวิทยาศาสตร์
  • – ปริญญาตรีสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
นักบัญชี
  • – ปริญญาตรีสาขาวิชาบัญชีหรือ สาขาทสี่ ภาวิชาชีพบัญชีรับรองให้เป็นคุณวุฒิทางด้านบัญชี
นักพัสดุ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทวั่ ไป
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการระหว่างประเทศ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบัญชีหรือ สาขาที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองให้เป็นคุณวุฒิทางด้านบัญชี
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
บุคลากร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทางธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ ที่มีใบอนุญาตมาตรฐานวิชาชีพการบริหารทรัพยากรมนุษย์
นักประชาสัมพันธ์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาวารสารศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาวารสารสนเทศ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการกระจายเสียง
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการโฆษณา
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาสื่อสารมวลชน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาวาทวิทยา
วิทยากร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการทางธุรกิจ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการระหว่างประเทศ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการความรู้
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการพัฒนาเทคโนโลยี
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรม
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการพัฒนานวัตกรรม
  • ปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ ทมี่ ีใบอนุญาตมาตรฐานวิชาชีพการบริหารทรัพยากรมนุษย์
วิศวกรโยธา
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโยธา
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาอื่นๆ ทั้งนี้จะตอ้งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร สาขาโยธา
นักการเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงิน
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการธนาคาร
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
นักสถิติ
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาสถิติศาสตร/์สถิติประยุกต์
วิศวกร (ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม)
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโทรคมนาคม
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาอื่นๆ ทั้งนี้จะตอ้งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรขึ้นไป สาขาไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร
วิศวกร (เครื่องกล)
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องมือกล
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาอื่นๆ ทั้งนี้จะตอ้งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรขึ้นไป สาขาเครื่องกล
วิศวกร (โยธา)
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโยธา
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาอื่นๆ ทั้งนี้จะตอ้งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรขึ้นไป สาขาโยธา
นักบัญชี
  • ปริญญาตรีสาขาวิชาบัญชีหรือ สาขาทั้งสภาวิชาชีพบัญชีรับรองให้เป็นคุณวุฒิทางด้านบัญชี
พนักงานช่าง (ไฟฟ้า)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาไฟฟ้า
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
พนักงานช่าง (โทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
พนักงานช่าง (โยธา)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาโยธา
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการก่อสร้าง
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคการก่อสร้าง
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคการควบคุมงานก่อสร้าง
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างสำรวจ
พนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาซอฟแวร์ระบบสมองกลฝังตัว
พนักงานบัญชี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาบัญชี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการบัญชี

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

วิศวกร (ไฟฟ้า)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานตามภาระงานที่เกี่ยวกับการวางแผน และโครงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การออกแบบและค านวณอุปกรณ์ไฟฟ้า การควบคุมการก่อสร้างในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทดสอบ หาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบ การตรวจสอบวินิจฉัยงานวิศวกรรมไฟฟ้า การวางโครงการสร้างหรือประกอบสิ่งต่าง ๆ ในสาขา วิศวกรรมไฟฟ้า การให้ค าปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบ ที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า การอ านวยการติดตั้ง ซ่อม ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งงานลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องมีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภทตามที่กำหนดไว้ส าหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพวิศวกรรม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

วิศวกร (คอมพิวเตอร์)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริม ระบบสารสนเทศ การจัดทำมาตรฐานด้าน ความมั่นคงและปลอดภัยบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และวิธีป้องกันการกระทำที่เป็นภัย คุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ ควบคุมดูแล ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้านสื่อสารและโทรคมนาคม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาต การจดทะเบียน และกำกับดูแลเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

นักตรวจสอบภายใน

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ลักษะงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานตรวจสอบป้องกันการรั่วไหลเสียหาย ในการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของ กฟภ. ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการดำเนินงาน การบริหารจัดการด้านสารสนเทศ การผลิตและปฏิบัติการ การบำรุงรักษา การบริหารงาน โครงการและงานก่อสร้าง การขายการตลาดและบริการลูกค้า การบริหารการเงินและการบัญชี การจัดการและบริการองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดซื้อ จัดจ้าง และบริหารพัสดุ ของหน่วยงานในสังกัดของ กฟภ. ให้สอดคล้องกับแผนงาน โครงการ และนโยบายของส่วนราชการ กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง การประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน และเทคนิควิธีการตรวจสอบ เสนอแนะนโยบายและแนวทางการตรวจสอบ มาตรการ การควบคุม ภายใน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์นโยบายและแผน เช่น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานแผน ประมวลแผน พิจารณาเสนอแนะเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายจัดทำแผน หรือ โครงการ ติดตามรายงานประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น นโยบาย แผนงาน โครงการและแผนวิสาหกิจ เป็นต้น


นิติกร

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ค าปรึกษา และวินิจฉัยปัญหาด้านกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ของ กฟภ. เป็นผู้ว่าต่าง แก้ต่างคดีทุกประเภท พิจารณาและ ตรวจสอบหนังสือสัญญาประเภทต่าง ๆ ติดต่อประสานงานด้านกฎหมาย เก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับอรรถคดี และกฎหมาย รวบรวมข้อมูล รายละเอียดและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การขออนุมัติเกี่ยวกับคดี และนิติกรรมต่าง ๆ ติดตามทวงค่าเสียหายประเภทต่าง ๆ หลังจากที่ หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องติดตามแล้วไม่ได้รับการชำระหนี้ ติดตามสืบหาทรัพย์ลูกหนี้เพื่อบังคับ คดีตามคำพิพากษา เป็นต้น


เศรษฐกร

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะแนวทางเพื่อประกอบ การพิจารณา วางแผน กำหนดนโยบาย หรือแก้ไขปัญหา ประเมินและคาดการณ์เกี่ยวกับ ความต้องการใช้ไฟฟ้าและหน่วยสูญเสีย ตรวจสอบและควบคุมดูแลระบบข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง


สถาปนิก

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ เขียนแบบ แก้ไขแบบแปลนอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งการออกแบบวางผัง การออกแบบรายละเอียด การเขียนแบบ ปรับปรุงแก้ไขหรือดัดแปลง งานสถาปัตยกรรม การอำนวยการควบคุมการก่อสร้าง การตกแต่งภูมิทัศน์ตามรูปแบบรายการ ที่กำหนด โดยมุ่งเน้นความถูกต้อง ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง


นักวิทยาศาสตร์

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ด้านวิจัย พัฒนา

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ และ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสมส าหรับการใช้งาน ตรวจสอบประเมินคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง รณรงค์ อบรมชี้แจง แนะนำการป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงาน งานความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ในการท างาน

ด้านปฏิบัติการทางการแพทย์

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงาน กฟภ. จัดซื้อ จัดหา เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และน้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ออกใบนัด กำหนดวันตรวจตามใบสั่งแพทย์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงาน ให้บริการเจาะเลือด และจัดส่ง ไปยังโรงพยาบาลของรัฐ สนับสนุนกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้อง


นักบัญชี

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชี การรับรองความถูกต้องทางการบัญชีและการเงิน การวิเคราะห์งบดุล การจดทำบัญชีที่มีลักษณะพิเศษ การวางระบบและปรับปรุงแก้ไขระบบบัญชี การวางรูปบัญชี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง


นักพัสดุ

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการพัสดุ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น จัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง ตรวจรับ เก็บรักษา การทำบัญชีและท าทะเบียนพัสดุ การเบิกจ่าย การขนส่ง การตรวจสอบความถูกต้องของใบส าคัญ หลักฐาน และเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ ศึกษาค้นคว้า รายละเอียดต่าง ๆ ของพัสดุครุภัณฑ์ เช่น วิวัฒนาการคุณสมบัติระบบราคา การเสื่อมราคา การสึกหรอ ประโยชน์ใช้สอย ค่าบริการ อะไหล่ การบำรุงรักษา ความแข็งแรง ทนทาน เพื่อกำหนดมาตรฐานและคุณภาพ วิเคราะห์และประเมินคุณภาพของพัสดุครุภัณฑ์ การจัดเก็บ ข้อมูล การจัดทำรายงานเกี่ยวกับพัสดุ การวางแผนดำเนินงานด้านพัสดุและเสนอความเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการจัดหาจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน เป็นต้น


บุคลากร

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และ วิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล การวางแผนทรัพยากรบุคคล การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การสรรหา บรรจุ และการแต่งตั้ง การเสริมสร้างแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงาน การรักษาจรรยาและวินัย การออกจากงาน การคุ้มครองระบบคุณธรรม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง


นักประชาสัมพันธ์

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น สำรวจ รวบรวม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ลูกค้า ผู้รับบริการ ฯลฯ รวบรวมข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ช่วยจัดทำข่าวสาร เอกสารความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ วางแผน และดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดปาฐกถา อภิปราย สัมมนา จัดนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือผลงานของหน่วยงาน หรือของ รัฐบาล หรือนโยบายของรัฐบาล ชี้แจงตอบปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ช่วยศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

วิทยากร

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

นักการเงิน

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง เช่น จัดทำใบขอเบิกเงิน ตรวจสอบการขอเบิกเงิน การเบิกจ่ายในหมวดต่าง ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท จัดทำรายงาน เงินรายจ่ายตามงบประมาณประจำเดือน จัดทำประมาณการรายได้รายจ่ายประจำปี พร้อมทั้ง จัดทำแผนการปฏิบัติงาน ดำเนินการเกี่ยวกับงานขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงรายการ งบประมาณ วิเคราะห์ ประเมินผลและติดตามผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณการรายได้รายจ่าย และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน เป็นต้น


นักสถิติ

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการทางด้านสถิติ เช่น การกำหนดมาตรฐานสถิติ กำหนดระเบียบ วิธีปฏิบัติและควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ และเทคนิคการปฏิบัติการทางสถิติ การวางแผนการจัดทำ สถิติ รวมทั้งการดำเนินการส่งเสริมวิชาการสถิติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง


วิศวกร (ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานตามภาระงานที่เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม การวิเคราะห์ วิจัย ค้นคว้า และการออกแบบแปลนแผนผังทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม การควบคุมและบริหารงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม การให้คำปรึกษา แนะนำ หรือ ตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม อำนวยการติดตั้ง ซ่อม และการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งงานดังกล่าวข้างต้นนี้ต้องมีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภทตามที่กำหนดไว้ส าหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

วิศวกร (เครื่องกล)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานตามภาระงานที่เกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณด้านวิศวกรรมเครื่องกล การควบคุม และอ านวยการในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทดสอบ หาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงานวิศวกรรมเครื่องกล การวางโครงสร้างหรือประกอบสิ่งใด ๆ ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล การอำนวยการติดตั้ง เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในด้านวิศวกรรมเครื่องกล การให้คำปรึกษา แนะนำ หรือตรวจสอบ ที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งงานดังกล่าวข้างต้นนี้ต้องมีลักษณะ ขนาด หรือ อยู่ในประเภทตามที่กำหนดไว้ส าหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วย วิชาชีพวิศวกรรม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

วิศวกร (โยธา)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานตามภาระงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ และคำนวณด้านวิศวกรรมโยธา การค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ทดสอบ หาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบ การตรวจสอบวินิจฉัย งานวิศวกรรมโยธา การวางโครงการก่อสร้างในสาขาวิศวกรรมโยธา การให้ คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบ ที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งงานดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องมีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภทตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

พนักงานช่าง (ไฟฟ้า)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานตามภาระงานที่เกี่ยวกับการตรวจ ทดสอบ สร้าง ซ่อม ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้ง แก้กระแส ไฟฟ้าขัดข้อง และบ ารุงรักษา เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ มิเตอร์ หม้อแปลง งานฮอทไลน์ รวมทั้งค านวณราคาและประมาณราคาในการดำเนินการดังกล่าว จัดเก็บรักษา เบิกจ่าย เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

พนักงานช่าง (โทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานตามภาระงานที่เกี่ยวกับงานช่างไฟฟ้าสื่อสาร งานช่างโทรคมนาคม ติดตั้ง ซ่อม และการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้าสื่อสาร รวมทั้ง การช่วยนักวิชาการสื่อสารปฏิบัติงานด้าน การปรับปรุง จัดระบบ วางระเบียบข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

พนักงานช่าง (โยธา)

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

พนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล ประสานงาน แก้ไขปัญหา ติดตั้งและบำรุงรักษา อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

พนักงานบัญชี

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ และการบัญชีทั่วไป เช่น การตรวจสอบ หลักฐาน ใบสำคัญจ่ายเงิน ลงบัญชี ทำรายงานการบัญชี รวบรวมรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ การขอจัดตั้งงบประมาณ รายรับและรายจ่ายประจำปี ทำหนังสือชี้แจง โต้ตอบ ด้านงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

นักระบบงานคอมพิวเตอร์

1. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Practic)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibilities)

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริม ระบบสารสนเทศ การจัดทำมาตรฐาน ด้านความมั่นคงและปลอดภัยบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และวิธีป้องกันการกระท าที่เป็น ภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ ควบคุมดูแล ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้านสื่อสารและ โทรคมนาคม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาต การจดทะเบียน และกำกับดูแล เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

วิชาที่สอบ

คุณวุฒิ ปริญญาตรี

1. วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป และความเหมาะสมกับองค์กร ประกอบด้วย

  1. หัวข้อวิชาที่สอบ : ค่านิยมและพฤติกรรมตามค่านิยมของ กฟภ. : ทันโลก บริการดี มีคุณธรรม โดยมีพฤติกรรม ตามค่านิยม TRUSTED : Technology savvy (T), Rush to Service (R), Under good Governance (U), Specialist (S), Tearnwork (T), Engagement (E), Data Driven (D)
    น้ำหนักคะแนน : 20%
  2. หัวข้อวิชาที่สอบ : ทักษะ ความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Literacy) ได้แก่ การใช้เครื่องมือแลการแก้ไขปัญหา (Digital Use and Problem Solving), การจัดการข้อมูล (Information Handling), การสื่อสารทางดิจิทัลอย่างชาญฉลาด (Digital Intelligence Communication), การสร้างเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creation) และ ความปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Safety)
    น้ำหนักคะแนน : 20%
  3. หัวข้อวิชาที่สอบ : ความถนัดทางเชาวน์ปัญญา (Aptitude Test) ประกอบด้วย การคิดคำนวณ การวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เงื่อนไข มิติสัมพันธ์ การจับใจความ การใช้เหตุผล และการสรุปความ
    น้ำหนักคะแนน : 20%

2. วิชาความรู้เฉพาะตำแหน่ง

หัวข้อวิชาที่สอบ : วิชาที่เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะตำแหน่งที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ใน Job Information
น้ำหนักคะแนน : 40%

คุณวุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

1. วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป และความเหมาะสมกับองค์กร ประกอบด้วย

  1. หัวข้อวิชาที่สอบ : ค่านิยมและพฤติกรรมตามค่านิยมของ กฟภ. : ทันโลก บริการดี มีคุณธรรม โดยมีพฤติกรรม ตามค่านิยม TRUSTED : Technology savvy (T), Rush to Service (R), Under good Governance (U), Specialist (S), Tearnwork (T), Engagement (E), Data Driven (D)
    น้ำหนักคะแนน : 15%
  2. หัวข้อวิชาที่สอบ : ทักษะ ความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Literacy) ได้แก่ การใช้เครื่องมือแลการแก้ไขปัญหา (Digital Use and Problem Solving), การจัดการข้อมูล (Information Handling), การสื่อสารทางดิจิทัลอย่างชาญฉลาด (Digital Intelligence Communication), การสร้างเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creation) และ ความปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Safety)
    น้ำหนักคะแนน : 15%
  3. หัวข้อวิชาที่สอบ : ภาษาอังกฤษ (English Language Test : ELT)
    น้ำหนักคะแนน : 15%
  4. หัวข้อวิชาที่สอบ : ความถนัดทางเชาวน์ปัญญา (Aptitude Test) ประกอบด้วย การคิดคำนวณ การวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เงื่อนไข มิติสัมพันธ์ การจับใจความ การใช้เหตุผล และการสรุปความ
    น้ำหนักคะแนน : 15%

2. วิชาความรู้เฉพาะตำแหน่ง

หัวข้อวิชาที่สอบ : วิชาที่เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะตำแหน่งที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ใน Job Information
น้ำหนักคะแนน : 40%

วิธีการสมัครงานพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฟภ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. – 26 ก.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

สอบวันที่: 22 ส.ค. 2563

ดาวน์โหลดไฟล์ “กฟภ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 | 3 | เว็บรับสมัคร |