กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 4 ก.พ. -25 ก.พ. 2562 รวม 9 อัตรา

แชร์เลย

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/1803/ หรือ
ตำแหน่ง: เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ,วิศวกรปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ,วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ป.ตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-16,500
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 4 ก.พ. – 25 ก.พ. 2562
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดรับสมัครสอบ

ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเืพ่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน ตำแหน่งนักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ และตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

ด้วยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน ตำแหน่งนักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ และตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ชื่อตำแหน่ง :เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500-12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :- ปวส.
– อนุปริญญา


ชื่อตำแหน่ง :นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500-12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :2 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปวส.


ชื่อตำแหน่ง :นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000-16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


ชื่อตำแหน่ง :วิศวกรปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000-16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


ชื่อตำแหน่ง :วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000-16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :3 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


ชื่อตำแหน่ง :วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000-16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทุกสาขาวิชา และ
๒. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
๒. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป

วิศวกรปฏิบัติการ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ
๒. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ.ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด และ
๒. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ.ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด และ
๒. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ.ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่งลงทะเบียน ร่างหนังสือโตตอบจัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดําเนินไปได้ โดยสะดวกราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูลจัดเก็บข้อมูลสถิติเอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสํานักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้ งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นําเสนอต้อผู้บังคับบัญชา เพื่อนําไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดตอประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๒) ใหบริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการเพื่่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนําไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(๓) ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และพร้อม ในการใช้งาน โดยสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบด้านสำรวจและโยธา โดยเฉพาะงานด้านช่างสำรวจ และช่างโยธา ตามลักษณะงานของหน่วยงานนั้นๆ ในกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(๒) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชา และมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะ ทั่วไปให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้มี ความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่วมศึกษา ค้นคว้า รวบรบม วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงาน เพื่อจัดทำและพัฒนาหลักสูตร คู่มือและสื่อในการฝึกอบรม หรือโครงการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยเฉพาะงานทางด้านวิศวกรรม (ทางเครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ และพลังงาน)
(๒) ร่วมศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยเฉพาะงานทางด้านวิศวกรรม (ทางเครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ และพลังงาน)
(๓) ร่วมดำเนินการจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานให้กับภาครัฐและเอกชน และกำกับดูแล ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และออกหนังสือรับรองบุคลากรด้านพลังงานตามกฎหมาย
(๔) ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรด้านพลังงานให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน
(๕) ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ โครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ (เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ และพลังงาน)
(๖) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานออกหนังสือรับรองและเพิกถอนหนังสือรับรองของผู้ให้บริการฝึกอบรมบุคลากรด้านพลังงาน
(๗) ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีด้านพลังงาน ซึ่งประกอบด้วยศูนย์แสดงเทคโนโลยีพลังงาน ศูนย์ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ สาธิต และพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านพลังงาน
(๘) ปฏิบัติงานด้านการทดสอบความรู้และสมรรถนะของบุคลากรด้านพลังงาน และการประเมินผลด้านการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน
(๙) ปฏิบัติงานทางด้านระบบการจัดเก็บและเผยแพร่หลักสูตร คู่มือและสื่อการฝึกอบรม ฐานข้อมูล และสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
(๑๐) ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรืองานที่ได้รับมอบหมาย

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
/ ๓. ด้านการ …

๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อให้การดำเนินงานด้านพลังงานมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย
(๒) จัดอบรม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ด้านพลังงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานประกอบการ และประชาชน
(๓) จัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศและให้บริการข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

วิศวกรปฏิบัติการ

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโยธา ทางสำรวจ ทางคอมพิวเตอร์ ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการและมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(๒) หาข้อมูลและตรวจสอบด้านวิศวกรรมโยธา สำรวจ คอมพิวเตอร์ กรณีเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงาน สถานประกอบการ และพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) ค้นคว้า ทดลอง และตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ ประหยัดและปลอดภัยในการใช้พลังงานของประเทศ
(๔) สำรวจ ออกแบบ วิเคราะห์ ค้นคว้า ทดสอบและตรวจสอบงานด้านระบบเครื่องจักรกล
(๕) สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
โดยประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในงานวิศวกรรม และการจัดการกับสิ่งแวดล้อม
(๖) ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแล การประกอบกิจการ เพื่อให้การดำเนินงานของสถานประกอบการถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
(๗) ตรวจสอบ การขอจดทะเบียน การแจ้ง การขออนุญาต ตั้ง ขยาย ย้าย ยกเลิก ต่อใบอนุญาต การประกอบกิจการ เพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
(๘) ปฏิบัติงาน กำกับดูแลการซ่อมบำรุงรักษา ผลิตและสอบเทียบ เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และเครื่องจักรกล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๙) ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบ และกำหนดรูปแบบรายการ เครื่องมือ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และเครื่องจักรกล เพื่อการผลิตและการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ
ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คำนวณ ประมาณราคา ควบคุม
งานก่อสร้าง งานบำรุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๒) ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
(๓) ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบแผนที่ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ กำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
(๕) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุ ที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
(๖) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึง การแก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ
ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ

วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจข้อมูล เพื่อออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าฝ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(๒) ศึกษาและกำหนดรูปแบบรายการ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้างการผลิต การควบคุม การติดตั้ง และการประมาณราคาในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(๓) ควบคุมการก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ระบบมีความถูกต้อง ปลอดภัย ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ
(๔) ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนางานวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน
(๕) จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานของหน่วยงาน

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่รับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศ
ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ

วิชาที่สอบ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป งานขอมูลสถิติเอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ งานพัสดุ ครุภัณฑของสํานักงาน
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเจรจา ประสานงานทั่วไป ให้บริการผู้มาติดต่อ
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้ความเข้าใจงานด้านช่างเทคนิคที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
– ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
– ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงาน
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๐
– ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมพลังงาน
– ความรู้ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผน และการเขียนโครงการด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

วิศวกรปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
– ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ของสภาวิศวกร
– ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการวิศวกรรมโยธา การบริหารงานก่อสร้าง ที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
– ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ของสภาวิศวกร
– ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมชลศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับปฐพีกลศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจทำแผนที่เบื้องต้น
– ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
– ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ของสภาวิศวกร
– ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
– ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ของสภาวิศวกร
– ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)

 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. – 25 ก.พ. 2562 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 19 เม.ย. 2562

 

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |