สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 17 ต.ค. -18 พ.ย. 2565 รวม 7 อัตรา,

แชร์เลย
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ลิงค์: https://ehenx.com/17640/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ,นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโททุกสาขา,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 11,500-19,250
อัตราว่าง: 7
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 17 ต.ค. – 18 พ.ย. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

เรื่อง  รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งต่าง ๆ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*,ปริญญาโททุกสาขา*


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

ปริญญาโท
1. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชา จากสถาบัน การศึกษาที่ ก.พ. รับรอง และ
2. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาโท 
ปริญญาตรี
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทุกสาขาวิชา จากสถาบัน การศึกษาที่ ก.พ. รับรอง และ
2. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป 


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน สาขาวิชานิเทศศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง และ
2. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง และ
2. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป 


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาวิชาการตลาด จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง และ
2. ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

ปริญญาโท
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการศึกษา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประชุมคณะกรรมการ/ อนุกรรมการ/ คณะทำงาน/ การประชุมสัมมนา/การประชุมปฏิบัติการ รวมทั้งการพัฒนางานด้านวิชาการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
(2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเบื้องต้น เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน มาตรฐาน และติดตามประเมินผลการศึกษา
(3) จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงาน
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานฐานข้อมูลด้านการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐาน
(6) ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และสรุปผลด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนางานด้านการศึกษา
(7) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคาประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
(8) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ การประชุมต่าง ๆ ตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) จัดบริการส่งเสริมการศึกษาวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้การบริการความรู้ และบริการทางด้านการศึกษาแก่หน่วยงาน/ สถาบัน/ องค์กรต่าง ๆ และประชาชน
(2) ผลิตคู่มือ เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นแก่บุคคล/ หน่วยงาน/ สถาบัน/ องค์กรต่าง ๆ และชุมชน และประชาชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการความรู้อย่างทั่วถึง
(3) ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จัดประชุมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและให้แนวทางการศึกษา
(4) จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง 
ปริญญาตรี
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการศึกษา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประชุมคณะกรรมการ/ อนุกรรมการ/ คณะทำงาน/ การประชุมสัมมนา/การประชุมปฏิบัติการ รวมทั้งการพัฒนางานด้านวิชาการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
(2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเบื้องต้น เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน มาตรฐาน และติดตามประเมินผลการศึกษา
(3) จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงาน
(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานฐานข้อมูลด้านการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐาน
(6) ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และสรุปผลด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนางานด้านการศึกษา
(7) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคาประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
(8) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ การประชุมต่าง ๆ ตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) จัดบริการส่งเสริมการศึกษาวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้การบริการความรู้ และบริการทางด้านการศึกษาแก่หน่วยงาน/ สถาบัน/ องค์กรต่าง ๆ และประชาชน
(2) ผลิตคู่มือ เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นแก่บุคคล/ หน่วยงาน/ สถาบัน/ องค์กรต่าง ๆ และชุมชน และประชาชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการความรู้อย่างทั่วถึง
(3) ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จัดประชุมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและให้แนวทางการศึกษา
(4) จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดกิจกรรมตามโครงการทั้งในและต่างประเทศ โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
(2) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และสรุปผลเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
(3) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวิจัย วางแผนประชาสัมพันธ์และติดตามผลจัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน มาตรฐาน และติดตามประเมินผลการศึกษา
(4) จัดทำเอกสาร และผลิตบทความ เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอก งบประมาณฯ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
(2) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
(3) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(4) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(5) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(2) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
(3) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
(4) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(2) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

ปริญญาโท
1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนด้วยข้อสอบแบบปรนัย ดังนี้
(1) วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
– กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
– กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
– กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
– กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
– การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการวิเคราะห์นโยบาย แผนทางการศึกษา และการศึกษาเปรียบเทียบ
– ความรู้ความเข้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

(2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
– ความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และแนวโน้มการจัดการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษา หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา การวัดผลทางการศึกษา
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีสารสนเทศ การปกครอง การบริหารราชการ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ความรู้ภาษาอังกฤษ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งและเมื่อสอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบ
เพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งให้ทราบต่อไป
ปริญญาตรี
1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนด้วยข้อสอบแบบปรนัย ดังนี้
(1) วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
– กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
– กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
– กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
– กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
– ความรู้ความเข้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
– ความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และแนวโน้มการจัดการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษา หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา การวัดผลทางการศึกษา
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีสารสนเทศ การปกครอง การบริหารราชการ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ความรู้ภาษาอังกฤษ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งและเมื่อสอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งให้ทราบต่อไป 


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนด้วยข้อสอบแบบปรนัย ดังนี้
(1) วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
– กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
– กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
– กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
– กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
– ความรู้ความเข้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
– ความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประขาสัมพันธ์และการให้ข่าวราชการ พ.ศ. 2548
– ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2553 -2565
– ความรู้เกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณและทักษะของผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์
– ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนงานและการประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ประเด็น การเขียน การแปล และการเรียบเรียงข้อมูลเพื่อการประซาสัมพันธ์ เช่น การเขียนข่าว การเขียนบทความ การเขียนบทโทรทัศน์/วิทยุ
– ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารในยุคดิจิทัล การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
ในรูปแบบและช่องทางต่าง ๆ
– ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย การผลิตวีดิทัศน์ การออกแบบอินโฟกราฟิก แอนิเมชั่น นิเทศศิลป์
– ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีสารสนเทศ การปกครอง การบริหารราชการ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ความรู้ภาษาอังกฤษ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งและเมื่อสอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งให้ทราบต่อไป


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนด้วยข้อสอบแบบปรนัย ดังนี้
(1) วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
– กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
– กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
– กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
– กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
– ความรู้ความเข้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับการเงิน บัญชี และงบประมาณ
– ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ GFMIS)
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับการเบิกเงินจากคลัง การรับเงินการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี สอบทานข้อมูลทางการเงิน วิเคราะห์และรายงานทางการเงิน
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ความรู้ภาษาอังกฤษ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งและเมื่อสอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งให้ทราบต่อไป


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนด้วยข้อสอบแบบปรนัย ดังนี้
(1) วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
– กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
– กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
– กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
– กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
– ความรู้ความเข้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ GFMIS)
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับการเบิกเงินจากคลัง การรับเงินการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
2. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ความรู้ภาษาอังกฤษ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งและเมื่อสอบผ่านการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งให้ทราบต่อไป

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. – 18 พ.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร