สำนักงบประมาณ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 15 มิ.ย. -5 ก.ค. 2565 รวม 30 อัตรา,

แชร์เลย

สำนักงบประมาณ

ลิงค์: https://ehenx.com/17116/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 30
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 15 มิ.ย. – 5 ก.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงบประมาณ เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงบประมาณ

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเขารับราชการในตำแหน่ง นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
และตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ

ด้วยสำนักงบประมาณจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ ตำแหนงนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการ ตรวจสอบภายในปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ และตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ฉะนั้น อาลัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการ สอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 20 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นิติกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (รัฐประศาสนศาสตร์) สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณรุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (รัฐประศาสนศาสตร์) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชา เศรษฐศาสตร์


นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์งบประมาณ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ความเห็น ข้อเสนอแนะ ในการทำระบบและหลักเกณฑ์ มาตรฐานด้านต่าง ๆ ไปใช้ในการจัดทำและวิเคราะห์งบประมาณ รวมทั้งจัดทำรายงานความก้าวหน้ารายไตรมาส และรายงานภาพรวมประจำปี เพื่อประกอบการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณประจำปี
(๒) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบ รูปแบบ การจัดทำมาตรฐานต้นทุน บัญชีราคามาตรฐานด้านต่าง ๆ ประมาณการภาระหนี้สาธารณะ โครงสร้างแผนงบประมาณของหน่วยงาน และกระบวนการจัดทำแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณ ประจำปี
(๓) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ ยุทธศาสตร์ นโยบายของรัฐบาล กรอบการขอจัดสรรงบประมาณ ความสอดคล้องของโครงการกับยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน ความเป็นไปไดในการใช้จ่าย เพื่อประกอบ การวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณประจำปี
(๔) ร่วมจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเดิม เอกสารประกอบ และคำแถลงงบประมาณรายจ่ายประจำปี และจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง การโอนเปลี่ยนแปลงรายการ เพื่อเสนอต่อรัฐสภา
(๕) ร่วมติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานความสำเร็จของหน่วยงานตาม กรอบงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์และ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธํ่ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธื้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่ความรู้ ด้านงบประมาณ ระเบียบการ และ ระบบการติดตามประเมินผลในกระบวนการงบประมาณ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
(๒) ให้บริการข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะนำและตอบข้อหารือเกี่ยวกับการงบประมาณต่าง ๆ ให้กับหน่วยงาน และผู้เกี่ยวซ้อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงบประมาณ
(๓) จัดทำคู่มือ หรือเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบ การปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวอาจมีภารกิจที่จะต้องอยู่ปฏิบัติงานนอกเหนือเวลา ราชการเป็นเวลาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงจัดเตรียม วิเคราะห์ และจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี บริหารงบประมาณ ติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย และ/หรือสามารถไปปฏิบัติงานประจำในส่วนกลางและสำนักงานงบประมาณเขตที่ ๑- ๑๘ ได้


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำลังระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสบุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแกั[ขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย (๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตาม
ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แกี่ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูล ของหน่วยงานที่ไม่ซับช้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตาม ความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ ของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย
ไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้ การออกใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการฟิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสบุนการใช้ระบบงานที่พัฒนา แก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแกไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานต้านตรวจสอบภายใน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือชองข้อมูล ตัวเลช หลักฐาน การทำสัญญา และเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างถูกต้องและ ได้ผลตรงกับหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง
(๒) ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การเงิน พัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพสูง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
(๓) จัดทำรายงานการตรวจสอบรายเดือน เพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะ
ให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบผลการดำเนินงาน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ฟิกอบรม ให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจ และเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วย แก้ปัญหาข้อขัดแย้งในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(๒) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และขึ้แจง เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องด้นแก่หน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดชื้อจัดจ้างตามกฎหมายและระเบียบการพัสดุภาครัฐ
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สิน
(๔) ซ่อมแชมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเลื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการ อีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แกทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการ ปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับ เบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็น ในการดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึง การดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลส้มฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลส้มฤทธิ๋ตามที่กำหนด
(๖) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงาน ของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว

วิชาที่สอบ

นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) โดยวิธีการสอบข้อเขียน วิชาดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การงบประมาณ และพระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
– ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการงบประมาณ (การวางแผน จัดทำ อนุมัติ บริหาร และติดตามประเมินผล) และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
–    ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและการสื่อสารคอมพิวเตอร์ (Network and Communication)
–    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมระบบงานในลักษณะ Web Application
–    ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ ออกแบบ ฐานข้อมูล
–    ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management information System)
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และ
พระราชบัญญ้ติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
–    ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติ
การควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
–    ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติ
การตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
–    ความรู้เกี่ยวกับการเงินการคลังภาครัฐ เช่น งบประมาณ การเงิน บัญชี พัสดุ เป็นด้น


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
–    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัสดุภาครัฐ
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดชี้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ


นิติกรปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ-ศ. ๒๕๓๔
และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ,ศ. ๒๕๖๐

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงบประมาณ  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. – 5 ก.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สำนักงบประมาณ

แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร