กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 9 มี.ค. -11 มี.ค. 2565 รวม 33 อัตรา,

แชร์เลย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ลิงค์: https://ehenx.com/16428/ หรือ
ตำแหน่ง: เภสัชกร,พยาบาลวิชาชีพ,นักเทคนิคการแพทย์,นักวิทยาศาสตร์การแพทย์,นักวิชาการสาธารณสุข
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 40,000-59,680
อัตราว่าง: 33
ปฏิบัติงานที่: นนทบุรี,ภูเก็ต,อุดรธานี
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 9 มี.ค. – 11 มี.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ด้วยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ(คพร.)ในการประชุมครั้งที่๔/๒๕๖๔เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ ได้อนุมัติการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจให้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการเฉพาะกิจ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรร พนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และหนังสือ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๑๒.๒/๓๗๓ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ จึงประกาศ รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

เภสัชกร

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 41500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


พยาบาลวิชาชีพ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 59680- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักเทคนิคการแพทย์

อัตราว่าง : 8 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 41500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

อัตราว่าง : 19 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 40000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการสาธารณสุข

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 40000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

เภสัชกร

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ตํ่ากว่านี้ ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม


พยาบาลวิชาชีพ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ตํ่ากว่าบื้ในสาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์ และ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาการพยาบาลขั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ขั้นหนึ่ง


นักเทคนิคการแพทย์

๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ตํ่ากว่านี้ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ของสภาเทคนิคการแพทย์ หรือ
๒. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ตํ่ากว่านี้ ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ของสภาเทคนิคการแพทย์


นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ตํ่ากว่านี้ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางชีววิทยา ทางจุลชีววิทยา ทางชีวเคมี ทางพันธุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสถิติ หรือ
๒. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดไม่ตํ่ากว่านี้ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางชีววิทยา ทางจุลชีววิทยา ทางชีวเคมี ทางพันธุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสถิติ


นักวิชาการสาธารณสุข

๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ตํ่ากว่านี้ในสาชาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางชีววิทยา ทางจุลชีววิทยา ทางชีวเคมี ทางพันธุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ
๑. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดไม่ตํ่ากว่านี้ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางชีววิทยา ทางจุลชีววิทยา ทางชีวเคมี ทางพันธุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เภสัชกร

ปฏบัติงานทางเภสัชกรรม โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. งานบริการทางการแพทย์
๑.๑ การจ่ายยา และแนะนำวิธีใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ และสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบ Home Isolation ที่เป็นเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๑.๒ ประสานงานผู้ประกอบการยื่นประเมินเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ชุดทดสอบแบบตรวจหา แอนติบอดีทางนํ้าเหลืองวิทยาของเชื้อ SARS-CoV-2 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงการตรวจสอบเอกสาร การเก็บรักษาและจัดทำทะเบียนนํ้ายา/ชุดทดสอบที่ขอยื่นประเมินเทคโนโลยีๆ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕
๑.๓ ให้คำปรึกษาทางด้านยา หรือวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒. งานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒.๑ ดำเนินงานวิจัยทางคลินิกของโครงการวิจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) โครงการการเตรียมชุดตัวอย่างเพื่อประเมินประสิทธิภาพชุดทดสอบโรคโควิด 19
(๒) การศึกษาผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบวัคซีนไขวิในประเทศไทย
(๓) โครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรองรับการระบาดของโรคโคโรน่า สายพันธุใหม่ 2019 (COVID-19)
(๔) โครงการผลของพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ภายหลัง ได้รับวัคซีนโควิด-19
(๕)โครงการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน โควิด 19 ในประเทศไทย
(๖)โครงการการศึกษาความชุกของแอนติบอดีต่อโรคโควิด 19ใน๑๒ เขตสุขภาพ ของประเทศไทย
(๗) การเฝ็าระวังการกลายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 (COVID-19)
(๘) โครงการวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒.๒ ลักษณะหน้าที่ในการดำเนินงานวิจัยทางคลินิก ตามโครงการวิจัยข้างต้น มีดังต่อไปนี้ (๑) อธิบาย ให้รายละเอียด และขอความยินยอมอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก (๒) เก็บรักษา จัดเตรียม และทำทะเบียนการเบิก-จ่ายผลิตภัณฑ์ยาวิจัยทางคลินิก และวัคซีน
(๓) จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆที่ต้องใช้ในโครงการวิจัยทางคลินิก
(๔) ประเมินอาการไม่พิงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน หรือได้รับยาต่าง ๆ ของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก พร้อมทั้งให้คำปรึกษาทางด้านยา
(๕) บันทึกข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ของอาสาสมัครที่เกี่ยวข้องกับยา และวัคซีน ในแบบบันทึกข้อมูลอาสาสมัคร (CRF) แบบฟอร์มอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๖) ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอาสาสมัครในโครงการวิจัยทางคลินิก
(๗) ประสานงานระหว่างนักวิจัย คณะกรรมการจริยธรรม ผู้ให้ทุน ตลอดจน หน่วยงานอื่น ๆ ที่ร่วมดำเนินงานวิจัยทางคลินิก
(๘) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล และจัดทำรายงานสรุปฉบับสมบูรณ์ของโครงการวิจัย ทางคลินิก
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคโควิดอื่น ที่ได้รับมอบหมาย


พยาบาลวิชาชีพ

ปฏิบัติงานทางการพยาบาล โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. งานบริการทางการแพทย์
ด.๑ คัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ภาวะเสี่ยง ให้การช่วยเลือกทางการพยาบาล บันทึกรวบรวม ข้อมูลด้านการพยาบาล การดูแลผู้ป่วย พนักงาน เจ้าหน้าที่ บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ด.๒ซักประวัติ ติดตามอาการ ให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตัวให้กับกลุ่มผู้ดิดเชื้อ COVID-19 แบบ Home Isolation รวมถึงให้คำปรึกษา ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟินฟูสุขภาพประชาชน
ด.๓ การเก็บตัวอย่างจากมนุษย์ เพื่อล่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด การเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab การขูดผิวหนัง ป้ายเนื้อเยื่อ แผล และหนอง
ด.๔ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือการทำหัตถการอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
๒. งานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒.๑ ดำเนินงานวิจัยทางคลินิกของโครงการวิจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(ด) โครงการการเตรียมชุดตัวอย่างเพื่อประเมินประสิทธิภาพชุดทดสอบโรคโควิด 19
(๒) การศึกษาผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบวัคซีนไขว้ในประเทศไทย
(๓) โครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรองรับการระบาดของโรคโคโรน่า สายพันธุใหม่ 2019 (COVID-19)
(๔) โครงการผลของพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ภายหลัง ได้รับวัคซีนโควิด-19
(๕) โครงการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหรืออาการไมพังประสงค์หลังการฉีด วัคซีนโควิด-!9 ในประเทศไทย
(๖)โครงการการศึกษาความชุกของแอนติบอดีต่อโรคโควิด 19ใน 12 เขตสุขภาพ ของประเทศไทย
(๗) การเฝ็าระวังการกลายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 (COVID-19)
(๘) โครงการวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19 อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒.๒ ลักษณะหน้าที่ในการดำเนินงานวิจัยทางคลินิก ตามโครงการวิจัยข้างต้น มีดังต่อไปนี้
(ด) อธิบาย ให้รายละเอียด และขอความยินยอมอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย ทางคลินิก
(๒) ซักประวัติ ตรวจร่างกายเบืองต้น วัดสัญญาณชีพ ให้คำปรึกษา นัดหมาย ติดตาม สอบถามอาการไม,พึงประสงค์ ของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก
(๓) จัดทำทะเบียนอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก รวมถึงจัดทำสรุป จำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วม และถอนตัวออกจากโครงการ
(๔) เก็บตัวอย่างอาสาสมัคร เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏีบติการ เช่น เจาะเลือด การเก็บ ตัวอย่าง Nasopharangeal swab เก็บนํ้าลาย หรืออื่น ๆ ตามที่โครงร่างการวิจัยกำหนด
(๕) ดำเนินการทำหัตถการ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การรดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก
(๖) จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการพยาบาล ให้พร้อม และเพียงพอ ตลอดจนดูแลบำรุงรักษา เครื่องมือทางการแพทย์และการพยาบาลให้พร้อมใช้งาน
(๗) ประสานงานระหว่างนักวิจัย คณะกรรมการจริยธรรม ผู้ให้ทุน ตลอดจน หน่วยงานอื่น ๆ ที่ร่วมดำเนินงานวิจัยทางคลินิก
(๘) บันทึกข้อมูลทางคลินิกของอาสาสมัคร ในแบบบันทึกข้อมูล (CRF) เอกสาร ต้นฉบับ (Source document) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
(๙) จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในโครงการวิจัยทางคลินิก
(๑๐) รวบรวมและจัดทำรายงานสรุปทางคลินิกของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคโควิดอื่น ที่ได้รับมอบหมาย


นักเทคนิคการแพทย์

ปฏบัติงานทางเทคนิคการแพทย์ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. งานบริการทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
๑.๑ การเก็บตัวอย่างจากมนุษย์ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด การเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab การขูดผิวหนัง ป้ายเนื้อเยื่อ แผล หนอง และเก็บรักษา จัดทำทะเบียน
๑.๖ การประเมินประสิทธิภาพชุดทดสอบแบบตรวจหาแอนติบอดี ทางนํ้าเหลีองวิทยา ของเชื้อ SARS-CoV-2
๑.๓ สามารถทดสอบตรวจหาระดับ NT antibody ต่อเชื้อ SARS CoV-2 ด้วยวิธี cell based assay และ surrogate NT assay ได้
๑.๔ สามารถทดสอบหาปริมาณไวรัสด้วยเทคนิค cell based assay เช่น plaque method, focus forming method เป็นต้น และหาปริมาณไวรัสด้วยเทคนิค molecular เช่น real time RT-PCR และ digital PCR ได้
๑.๕ การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real Time-PCR โดยตรวจสอบตัวอย่าง จัดเรียงตัวอย่าง สกัดตัวอย่าง เตรียมนํ้ายาตรวจ ตรวจผล ประเมินวิเคราะห์ สรุปผล และออกรายงานผล
๑.๖ ตรวจวิเคราะห์สายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real Time RT-PCR โดยตรวจสอบตัวอย่าง จัดเรียงตัวอย่าง สกัดตัวอย่าง เตรียมนื้ายาตรวจ ตรวจผล ประเมินวิเคราะห์ สรุปผล และออกรายงานผล
๑.๗ งานตรวจวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมของเชื้อไวรัส (Whole Genome Sequencing) ด้วยวิธี next generation sequencing โดยตรวจสอบตัวอย่าง จัดเรียงตัวอย่าง สกัดตัวอย่าง เตรียมนํ้ายาตรวจ ตรวจผล ประเมินวิเคราะห์ สรุปผล และออกรายงานผล
๑.๘ สามารถวิเคราะห์ผลการทดสอบ Neutralization assay (NT) และระดับปริมาณ ไวรัสด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
๑.๙ สามารถวิเคราะห์ผลการประเมินประสิทธิภาพชุดทดสอบแบบตรวจหาแอนติบอดี ทางนํ้าเหลืองวิทยาของเชื้อ SARS-CoV-2 (COVID-19) ได้
๑.๑๐ บริหารจัดการตัวอย่างบวกจากทั่วประเทศ ให้เข้าระบบเพื่อง่ายต่อการนำไปใช้งาน โดยการเรียงตัวอย่าง แบ่งตัวอย่างและจัดเก็บ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพ
๑.๑๑ รวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ได้แก่ จำนวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวนสายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 ที่พบในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลจากฐานข้อมูล GISAID ข้อมูลการฉีดวัคซีน เป็นต้น และสรุปเป็นรายงานประจำสัปดาห์เพื่อเสนอผู้บริหาร
๑.๑๒ ดำเนินการงานข้อมูล C0VID-19 สรุป วิเคราะห์ผลจาก COLAB สายพันธุ และงานวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ
๑.๑๓ การสรุปข้อมูลผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการเครือข่ายรายวัน พร้อมจัดทำงาน นำเสนอรายวัน
๑.๑๔ การรวบรวม ตรวจสอบแก่ไข ผลการตรวจสายพันธุ และจัดทำข้อมูลสรุปรายวัน/ รายสัปดาห์
๑.๑๕ ค้นหา ปรับปรุงข้อมูล จากฐานข้อมูลสายพันธุต่างประเทศ
๑.๑๖ บันทึกผลการตรวจข้อมูลสายพันธุย้อนหลัง ลงระบบ COLAB
๑.๑๗ สามารถติดต่อประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการประชุม การติดตาม สถานการณ์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ไข้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โนประเทศไทย
๑.๑๘ สามารถจัดทำรายงานสำหรับนำเสนอข้อมูลและสามารถนำเสนอรายงานได้
๒. งานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒.๑ อธิบายโครงการ และขอความยินยอมอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก
๒.๒ เก็บตัวอย่างอาสาสมัคร เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เข่น การเจาะเลือด การเก็บ ตัวอย่าง Nasopharyngeal swab หรืออื่น ๆ ตามที่โครงร่างการวิจัยกำหนด
๒.๓ ศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน โดยตรวจระดับภูมิคุ้มกันของ SARS-CoV-2 ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ เข่น ตรวจสารชีวเคมีในเลือด ความสมบูรณ์ ของเม็ดเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจทางชีวเคมี โลหิตวิทยา หรืออื่น ๆ ตามที่โครงร่างการวิจัยกำหนด
๒.๔ จัดเตรียม ปันแยก serum หรือ plasma รวมถึงสกัดแยก PBMC จากตัวอย่างที่ได้ จาก อาสาสมัคร และจัดทำทะเบียนการเก็บรักษาตัวอย่าง
๒.๕ให้คำปรึกษา แจ้งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ อาสาสมัครที่เข้าร่วม โครงการวิจัยทางคลินิก
๒.๖ วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระดับภูมิคุ้มกันของ SARS-CoV-2 จากวิธี CLIA, PRNT และการใช้ Pseudovirus
๒.๗ จัดทำใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และสรุปผลการตรวจ วิเคราะห์ไนภาพรวมของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัย
๒.๘ วิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูล CO-LAB, CO-FINDING เพื่อให้ได้ข้อมูลเฝืาระวัง ข้อมูลวิชาการที่สำคัญต่อการบริหารจัดการการระบาด หรือการควบคุมโรค
๒.๙ จัดทำ Data visualize model จากเครื่องมือวิเคราะห์ฐานข้อมูลโดยใช้ข้อมูล จากฐานข้อมูล COLAB
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคโควิดอื่น ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

ปฏบัดิงานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. งานบริการทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
๑.๑ รับตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 การตรวจวิเคราห์สายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 การตรวจวิเคราะห์ระดับแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 และการตรวจวิเคราะห์อื่น ๆ โดย จดบันทึกจำนวนตัวอย่าง ตรวจสอบสภาพตัวอย่าง จัดทำทะเบียนตัวอย่าง
๑.๒ การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real Time-PCR โดยตรวจสอบตัวอย่าง จัดเรียงตัวอย่าง สกัดตัวอย่าง เตรียมนํ้ายาตรวจ ตรวจผล ประเมิน วิเคราะห์ สรุปผล
และออกรายงานผล
๑.๓ ตรวจวิเคราะห์สายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real Time RT-PCR โดยตรวจสอบตัวอย่าง จัดเรียงตัวอย่าง สกัดตัวอย่าง เตรียมนํ้ายาตรวจ ตรวจผล ประเมินวิเคราะห์ สรุปผล และออกรายงานผล
๑.๔ งานตรวจวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมของเชื้อไวรัส (Whole Genome Sequencing) ด้วยวิธี next generation sequencing โดยตรวจสอบตัวอย่าง จัดเรียงตัวอย่าง สกัดตัวอย่าง เตรียมนํ้ายาตรวจ ตรวจผล ประเมินวิเคราะห์ สรุปผลและออกรายงานผล
๑.๕ การตรวจวิเคราะห์หาแอนติบอดีทางนํ้าเหลืองวิทยาของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี ทางซีโรโลยีจำนวน
๑.๖ การตรวจวิเคราะห์หาแอนติบอดีทางนํ้าเหลืองวิทยาของเชื้อ SARS-CoV-2 (COVID-19) ด้วยวิธี Neutralizing antibody วิธี Surrogate NT
๑.๗ สามารถสรุปผล แปลผล จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ ด้วยวิธี ELISA และวิธี Neutralizing antibody วิธี Surrogate NT
๑.๘ แบ่งตัวอย่างชีวภาพของผู้ป่วยโควิด 19 จัดเก็บเข้าคลังตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ตรวจหา สายพันธุ แยกเชื้อ ตรวจแอนติบอดี หรือนำไปใช้ศึกษาวิจัยด้านประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป
๑.๙ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินห้องปฏิบัติการ
๑.๑๐ ช่วยงานแก้ไข และติดตามข้อมูลการเบิกจ่ายค่าตรวจวิเคราะห์การตรวจ RT-PCR และ antibody
๑.๑๑ สามารถแก้ไขปัญหาและตอบคำถาม เกี่ยวกับผลการตรวจวิเคราะห์
๑.๑๒ รวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ได้แก่ จำนวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวนสายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 ที่พบในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลจากฐานข้อมูล GISAID ข้อมูล การฉีดวัคซีน เป็นด้น และสรุปเป็นรายงานประจำสัปดาห์เพื่อเสนอผู้บริหาร
๑.๑๓ ลงข้อมูล แก้ไข และติดตามการเบิกจ่ายค่าตรวจวิเคราะห์
๒. งานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒.๑ การจัดหา/จัดเตรียม ชุดตัวอย่างนํ้าเหลืองมาตรฐาน เพื่อใช้ในการประเมินเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ชุดทดสอบแบบตรวจหาแอนติบอดีทางนํ้าเหลืองวิทยาของเชื้อ SARS-CoV-2
๒.๒ สามารถจัดเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเชลล์ และจัดเตรียมเชลล์สำหรับการเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัส SARS CoV-2 สำหรับการทดสอบ Neutralization assay (NT) และการจัดเตรียม PT สำหรับชุด ตรวจ ATK
๒.๓ ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับตัวอย่าง PT การตรวจวิเคราะห์ COVID-19
๒.๔ ศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในผู้ได้รับวัคซีนโควิด 19 โดยการวิเคราะห์ชนิด ของเชลล์เม็ดเลือดเลือดขาวโดยเทคนิค Flow cytometry
๒.๕ ตรวจวิเคราะห์ระดับของภูมิคุ้มกัน ในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 และกระคุ้นภูมิคุ้มกัน ด้วยวัคซีนต่างชนิด โดยเทคนิค Enzyme-linked immune absorbent spot (ELISPOT)
๒.๖ การตรวจวิเคราะห์ระดับของการแสดงออกของยีน (Gene expression)โดยใช้เทคนิค Real-time polymerase chain reaction (real-time PCR)
๒.๗ ตรวจการตอบสนองทางภูมิกันในผู้ที่ได้รับวัคซีนและกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนต่างชนิด ที่โดยเทคนิค Multiplex fluorescence-based solid phase immunoassay (Luminex assay) เพื่อศึกษา การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันก่อนและหลังการกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนต่างชนิด
๒.๘ อธิบายโครงการ และขอความยินยอมอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก
–    โครงการผลของพันธุกรรมและภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ภายหลังได้รับ วัคซีนโควิด 19
–    โครงการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน โควิด-19 ในประเทศไทย
๒.๙ เก็บตัวอย่างอาสาสมัคร เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด การเก็บ ตัวอย่าง Nasopharyngeal swab หรืออื่น ๆ ตามที่โครงร่างการวิจัยกำหนด ภายใต้การควบคุมของพยาบาล วิชาชีพ และ/หรือนักเทคนิคการแพทย์
๒.๑๐ ศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน โดยตรวจระดับภูมิคุ้มกันของ SARS-CoV-2 ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ เช่น ตรวจสารชีวเคมีในเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ด เลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจทางชีวเคมี โลหิตวิทยา หรืออื่น ๆ ตามที่โครงร่างการวิจัยกำหนด
๒.๑๑ จัดเตรียม ปันแยก serum หรือ plasma รวมถึงสกัดแยก PBMC จากตัวอย่างที่ได้ จากอาสาสมัคร และจัดทำทะเบียนการเก็บรักษาตัวอย่าง
๒.๑๒ ให้คำปรึกษา แจ้งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ อาสาสมัครที่เข้าร่วม โครงการวิจัยทางคลินิก
๒.๑๓ วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระดับภูมิคุ้มกันของ SARS-CoV-2 จากวิธี CLIA, PRNT และการใช้ Pseudovirus
๒.๑๔ จัดทำใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และสรุปผลการตรวจ วิเคราะห์ในภาพรวมของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัย
๒.๑๕ ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศในโครงการ Bio-Hub ของ WHO
๒.๑๖ สามารถเข้าร่วมประชุมนานาชาติ เพื่อเก็บประเด็นสถานการณ์โรคโควิด (COVID-19) ในต่างประเทศ และจัดทำรายงานเสนอผู้บริหาร
๒.๑๗ รับและจัดการตัวอย่างซีรั่มผู้ได้รับวัคซีนโควิด 19 (heat-inactivated, จัดแบ่งซีรั่ม บันทึกข้อมูลที่มาซีรั่ม)
๒.๑๘ ทำการทดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่มในห้องปฏิบัติการ BSL 3
๒.๑๙ ย้อมสีเพลททดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่มในห้องปฏิบัติการ BSL 3
๒.๒๐ เพาะเลี้ยงเซลล์สำหรับการทดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่ม
๒.๒๑ จัดเตรียมเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่อการทดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่ม
๒.๒๒ จัดเตรียมอาหารเลี้ยงเซลล์
๒.๒๓ จัดเตรียม Carboxymethyl cellulose สำหรับการทดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่ม
๒.๒๔ จัดเตรียม Formaldehyde สำหรับการ Fix เซลล์
๒.๒๕ จัดเตรียมสีย้อมเพื่ออ่านผลการทดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่ม
๒.๒๖ อ่าน วิเคราะห์คำนวณผล สรุปผลการทดสอบภูมิคุ้มกันในตัวอย่างซีรั่ม
๒.๒๗ บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลระดับภูมิคุ้มกันในตัวอย่างชีรั่มผู้ได้รับวัคซีน
๒.๒๘ จัดทำสื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบ inforgraphic
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคโควิดอื่น ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการสาธารณสุข

ปฏบัติงานทางวิชาการสาธารณสุข โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๑. งานบริการทางการแพทย์
๑.๑ การเก็บตัวอย่างจากมนุษย์ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด การเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab การขูดผิวหนัง ป้ายเนื้อเยื่อ แผล หนอง ภายใต้การควบคุม ของพยาบาลวิชาชีพ และ/หรือนักเทคนิคการแพทย์
๑.๒ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และดูแลรักษาเครื่องมือทางการแพทย์ ให้พร้อมใช้งาน
๑.๓ รับตัวอย่างล่งตรวจวิเคราะห์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 การตรวจวิเคราห์สายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 การตรวจวิเคราะห์ระดับแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 และการตรวจวิเคราะห์อื่น ๆ โดย จดบันทึกจำนวนตัวอย่าง ตรวจสอบสภาพตัวอย่าง จัดทำทะเบียนตัวอย่าง
๑.๔ แบ่งตัวอย่างชีวภาพของผู้ป่วยโควิด 19 จัดเก็บเข้าคลังตัวอย่าง เพื่อนำไปใช้ตรวจหา สายพันธุ แยกเชื้อ ตรวจแอนติบอดี หรือนำไปใช้ศึกษาวิจัยด้านประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป
๑.๕ รวบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ได้แก่ จำนวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวนสายพันธุของเชื้อ SARS-CoV-2 ที่พบในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลจากฐานข้อมูล GISAID ข้อมูล การฉีดวัคซีน เป็นต้น และสรุปเป็นรายงานประจำสัปดาห์เพื่อเสนอผู้บริหาร
๒. งานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒.๑ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับใช้ในโครงการวิจัยทางคลินิก
๒.๒ ลงทะเบียน อธิบายโครงการ และขอความยินยอมอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย ทางคลินิก
๒.๓ ชักประวัติ ติดตามอาการ ให้คำปรึกษาเบื้องต้น ในการปฏิบัติตัว ให้กับกลุ่มผู้ดิดเชื้อ C0VID-19 ที่เป็นอาสาสมัครในโครงการวิจัย ภายใต้การควบคุมของพยาบาลวิชาชีพ
๒.๔ ซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น ให้คำปรึกษา ติดตาม สอบถามอาการไมพังประสงค์ ของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทางคลินิก
๒.๕ เก็บตัวอย่างอาสาสมัคร เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด การเก็บ ตัวอย่าง Nasopharyngeal swab หรืออื่น ๆ ตามที่โครงร่างการวิจัยกำหนด ภายใต้การควบคุมของพยาบาล วิชาชีพ และ/หรือนักเทคนิคการแพทย์
๒.๖ ลงบันทึกข้อมูลทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูล
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคโควิดอื่น ที่ได้รับมอบหมาย

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. – 11 มี.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร