กรมปศุสัตว์ เปิดรับสมัครสอบ 4 ม.ค. -24 ม.ค. 2565 รวม 51 อัตรา,

แชร์เลย

กรมปศุสัตว์เปิดรับสมัครสอบ

กรมปศุสัตว์

ลิงค์: https://ehenx.com/15911/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการสัตวบาล,เจ้าพนักงานสัตวบาล
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 51
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร,กระบี่,กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ,ชุมพร,ชลบุรี,เชียงใหม่,เชียงราย,ตรัง,ตราด,ตาก,นครนายก,นครปฐม,นครพนม,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช,นครสวรรค์,นราธิวาส,น่าน,นนทบุรี,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปทุมธานี,ปราจีนบุรี,ปัตตานี,พะเยา,พระนครศรีอยุธยา,พังงา,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบุรี,เพชรบูรณ์,แพร่,พัทลุง,ภูเก็ต,มหาสารคาม,มุกดาหาร,แม่ฮ่องสอน,ยโสธร,ยะลา,ร้อยเอ็ด,ระนอง,ระยอง,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สงขลา,สมุทรสาคร,สมุทรปราการ,สมุทรสงคราม,สระแก้ว,สระบุรี,สิงห์บุรี,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุราษฎร์ธานี,สุรินทร์,สตูล,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี,อุบลราชธานี,อ่างทอง
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 4 ม.ค. – 24 ม.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมปศุสัตว์ เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมปศุสัตว์

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมปศุสัตว์

ด้วยกรมปศุสัตว์ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ปฏิบัติงานจังหวัดชายแดนใต้) สังกัดกรมปศุสัตว์ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศ รับสมัครสอบแข่งขันๆ โดยมีรายละเอียดด้งนี้ต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการสัตวบาล

อัตราว่าง : 16 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานสัตวบาล

อัตราว่าง : 35 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการสัตวบาล

ได้รับปริญญาตรี ในสาขาวิชาใด สาขาวิชาหนึ่ง ทางสัตวบาลหรือทางสัตวศาสตร์ และ ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว


เจ้าพนักงานสัตวบาล

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หรือ สาขาวิชาสัตวรักษ์ และต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการสัตวบาล

(๑) ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานวิชาการสัตวบาล เกี่ยวกับด้านวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ ความมั่นคง ด้านอาหารสัตว์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ในศูนย์วิจัย และพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ เพื่อให้การปฏิบัติงานในภาพรวมบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ
(๒) ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการด้าน สัตวบาลเกี่ยวกับ การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีด้านการผลิตปศุสัตว์จัดระบบ เขตเศรษฐกิจ การปศุสัตว์ที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุสัตว์ การควบคุม คุณภาพอาหารสัตว์และกฎหมายอื่นๆ ที,เกี่ยวช้องปฏิบัติงานภายใต้การกำกับแนะนำ และตรวจสอบ เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนภารกิจของ กรมปศุสัตว์ ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
– ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับอาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ ความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ สำหรับ การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร
(๒) รวบรวมข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางงานวิจัยและการใช้ประโยชน์ด้านอาหารสัตว์ของหน่วยงาน เพื่อให้ได้วิธีการจัดการอาหารสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ร่วมดำเนินงาน การผลิตเมล็ดชั้นพันธุคัด เมล็ดชั้นพันธุหลัก เมล็ดชั้นพันธุขยาย เมล็ดชั้น พันธุจำหน่าย และกระจายพันธุพืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์และเสบียงสัตว์ เพื่อให้ได้พืชอาหารสัตว์พันธุดีและ เสบียงสัตว์คุณภาพดีตามมาตรฐานที่กำหนดสำหรับสนับสนุนกิจกรรมชองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และช่วยเหลือ เกษตรกร
(๔) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานหรือโครงการของ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี้ที่กำหนดไว้
(๕) ให้คำแนะนำ ปรึกษา และเสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับ ข้อมูลวิชาการด้านอาหารสัตว์ ให้แก่หน่วยงานราชการ องค์กรเกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยี ด้านการผลิตปศุสัตว์ การส่งเสริมการปศุสัตว์ และ เศรษฐกิจ การปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตปศุสัตว์ ต้นทุนการผลิต และการตลาดปศุสัตว์ ที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบ
(๖) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ ศักยภาพการผลิตปศุสัตว์ ปัญหาของเกษตรกร จัดระบบเขตเศรษฐกิจด้านการผลิตปศุสัตว์ ระบบการตลาดปศุสัตว์ในพื้นที่ กำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ปศุสัตว์ระดับจังหวัด จัดทำแผนงานส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์การปรับปรุงพันธุสัตว์ การส่งเสริม ขยายพันธุสัตว์ และแนวทางปฏิบัติงานด้านสัตวบาล งานถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร

(๗) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา ปรับปรุงและขยายพันธุสัตว์ พืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ธุรกิจ อาหารสัตว์สินค้าปศุสัตว์ ปศุสัตว์อินทรีย์ การบริหารจัดการฟาร์ม ระบบการผลิต และ การส่งเสริมการปศุสัตว์ เป็นต้น ที่ต้องใช้ความชำนาญและการประยุกต์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเทคโนโลยี ด้านการผลิตปศุสัตว์ที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบ
(๘) ดำเนินการตามโครงการพิเศษ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อส่งเสริม อาชีพด้านการปศุสัตว์ให้เกิดประสิทธิภาพ และแก่ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร
(๙) ช่วยรวบรวมองค์ความรู้ทดสอบองค์ความรู้ด้านระบบการ ผลิตและระบบเศรษฐกิจ การปศุสัตว์จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาสังเคราะห์ให้เป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ สามารถ นำไปถ่ายทอดและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ตามภูมิสังคมของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์
–    ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
–    ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
– ต้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ปรึกษา และเสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลวิชาการด้านการผลิต ปศุสัตว์ การส่งเสริมการปศุสัตว์ เศรษฐกิจการปศุสัตว์ กฎหมาย กฎและระเบียบแก่หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป เพื่อการประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์
(๒) รึเกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการปศุสัตว์


เจ้าพนักงานสัตวบาล

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านวิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ ความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ และการถ่ายทอด เทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ตามแนวทางแบบอย่าง ชั้นตอนและวิธีการที่ชัดเจนในศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ เพื่อให้การปฏิบัติงานในภาพรวมบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านสัตวบาล ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ และกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้องตามแนวทาง แบบอย่าง ชั้นตอน และวิธีการที่ซัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ เพื่อให้การ ดำเนินงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมีประสิทธิภาพและสนับสนุนภารกิจของกรมปศุสัตว์ให้บรรลุผลสำเร็จ ตามเป้าหมายและแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เก็บตัวอย่าง เก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลปศุสัตว์และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อใช้ในการวางแผนงานด้านการปศุสัตว์ของหน่วยงาน
(๒) ดำเนินงานด้านเลี้ยงสัตว์ ด้านอาหารสัตว์ ด้านพืขอาหารสัตว์ ด้านการจัดการและด้านการผสมเทียม รวมทั้งปฏิบัติงานตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อล่งเสริมและสนับสนุนอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
(๓) ให้คำแนะนำ สาธิต ถ่ายทอดความรู้ด้านการปศุสัตว์เบื้องต้น เช่น การเลี้ยงสัตว์ การผลิตปศุสัตว์ การปลูกพืชอาหารสัตว์ เป็นต้น แกเจ้าหนำที่และเกษตรกรในพื้นที่ที,รับผิดชอบ เพื่อให้การเลี้ยงสัตว์ มีประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตด้านปศุสัตว์
(๔) ดำเนินงานตามโครงการพิเศษและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการ ดำเนินงานตามโครงการพิเศษและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตและการพัฒนา รวมทั้งป้องกันและแกไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร
(๕) ส่งเสริมการปศุสัตว์ และให้บริการด้านเทคโนโลยีชีวภาพการปศุสัตว์ เพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
(๖) ส่งเสริมด้านปฏิบัติการปศุสัตว์อินทรีย์และการใช้สมุนไพรในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อสินค้า ปศุสัตว์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๗) รวบรวมและช่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้านสัตวบาล เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์แผนงาน โครงการ ด้านพัฒนา ปศุสัตว์ในจังหวัด ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด กลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศักยภาพ การปศุสัตว์ในพื้นที่
(๘) รวบรวม จัดทำปรับปรุงฐานข้อมูลและสารสนเทศ ด้านการปศุสัตว์ให้ครอบคลุม ครบถ้วน ทั้งในระตับจังหวัดอำเภอท้องถิ่น เพื่อให้บริการสารสนเทศด้านการปศุสัตว์
(๙) ช่วยดำเนินการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการ และงบประมาณ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธี้ของกรมปศุสัตว์ และจังหวัดตามที่กำหนดไว้

(๑๐) ดำเนินการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรเพื่อรองรับผลกระทบทางสังคมและ เศรษฐกิจและตรียมความพร้อมรองรับการเปิดตลาดเสรีทางการค้า (FTA) ในประเทศอาเซียน
(๑๑) ดำเนินการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านงานสัตวบาลให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และสามารถให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านปศุสัตว์ และพืนฟู เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
(๑๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการจัดทำแผนชุมชนและพัฒนา อาชีพการปศุสัตว์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
(๑๓) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์ ในภาพรวมให้ประสบความสำเร็จตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้
-ด้านการบริการ
(๑)ให้คำปรึกษา ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงาน ด้านอาหารสัตว์ที่รับผิดชอบให้แก่ เกษตรกร ประชาชนทั่วไป สมาชิกภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์
(๒) ประสานงานในการปฏิบัติงานกับภายในและภายนอก หน่วยงาน เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

นักวิชาการสัตวบาล

ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. พันธุสัตว์การปรับปรุงพันธุสัตว์และการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ (๖๐ คะแนน)
๑.๑ กายวิภาค และสรีรวิทยาระบบสืบพันธุของสัตว์
๑.๒ การคัดเลือกพันธุ การผสมพันธุและการปรับปรุงพันธุ
๑.๓ เทคโนโลยีชีวภาพด้านการผลิตสัตว์
๑.๔ การวางผังฟาร์ม คอกและโรงเรือนที,เหมาะสมกับสัตว์
๑.๕ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์
๑.๖ การเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงดูสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
๑.๗ การสุขาภิบาลสัตว์
๒. อาหารสัตว์ (๖๐ คะแนน)
๒.๑ พืขอาหารสัตว์ และการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์
๒.๒ การจัดการด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ และการผลิตอาหารข้น
๒.๓ เทคโนโลยีด้านการผลิตอาหารสัตว์
๓. การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ (๖๐ คะแนน)
๓.๑ หลักและวิธีการด้านการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
๓.๒ เทคนิคในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์
๓.๓ หลักเศรษฐศาสตร์ด้านปศุสัตว์
๓.๔ การทำผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์
๓.๕การจัดทำแผนงาน โครงการ เพื่อวิจัยทางด้านปศุสัตว์
๔. โรค และการสุขาภิบาลสัตว์ (๒๐ คะแนน)
๔.๑ โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญในประเทศไทย
๔.๒ หลักการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์


เจ้าพนักงานสัตวบาล

ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังต่อไปนี้
๑. การบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์ (๑๕๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตพันธ์
–    ชนิดและพันธ์สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ
–    หลักการปรับปรุงพันธ์สัตว์
–    การจัดการโรงเรือน อุปกรณ์ และการวางแผนผังฟาร์ม
๑.๒ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการอาหารสัตว์
–    ชนิดและประเภทของอาหารสัตว์ (อาหารข้น อาหารหยาบ และพืชอาหารสัตว์)
–    การนำวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้เป็นอาหารสัตว์
–    การคำนวณสูตรอาหารสัตว์
–    ความรู้เกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์
๑.๓ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาลสัตว์
–    หลักการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์
–    โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญในประเทศไทย
๒. ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ (๕๐ คะแนน)
–    หลักและวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
–    เทคนิคการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์

วิธีการสมัครงาน กรมปศุสัตว์  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. – 24 ม.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมปศุสัตว์

แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |