กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบ
“กรมสรรพากร “
ลิงค์: https://ehenx.com/6109/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการสรรพากรปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ,นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ป.ตรีทุกสาขา,ป.ตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 266
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 3 ก.พ. – 27 ก.พ. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ด้วยกรมสรรพากรจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการสรรพากรปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ อัตราว่าง : 150 อัตรา อัตราเงินเดือน : 15,000-16,500 บาท คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ/รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการสรรพากร
ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบผู้เสียภาษีที่เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในความดูแลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี ตรวจสภาพกิจการ
วิเคราะห์ข้อมูลการยื่นแบบชำระภาษี ตรวจสอบยันใบกำกับภาษีและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริการจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง
(๒) ประมวลผลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและขอพิจารณาลงนามอนุมัติผล
การตรวจสอบต่อไป
(๓) ปฏิบัติงานเบื้องต้นเกี่ยวกับงานภาษีที่ไม่ซับซ้อน พร้อมตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๔) วิเคราะห์แบบแสดงรายการทางภาษี เพื่อให้การปฏิบัติงานวิเคราะห์แบบแสดงรายการและการชำระภาษี ถูกต้อง ครบถ้วน
ตามระเบียบ
(๕) ช่วยวางแนวปฏิบัติในการเก็บภาษีหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับหลักวิชาการกฏหมายหรือระเบียบที่วางไว้ เพื่อช่วยป้องกันปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีและได้ภาษีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
(๖) ติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาในการประเมินผลการ
ปฏิบัติงานต่อไป เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตาม
เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือ
ในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาแนะนำด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในความดูแล เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายของกรมสรรพากร รวมถึงข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจ และเสียภาษีไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมได้
(๒) ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฏากรหรือกฏหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษี
เข้าใจและเสียภาษีได้ถูกต้อง
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการสรรพากรปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน ๑๐๐ ข้อ
คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้
๑. ส่วนที่ ๑ จำนวน ๘๕ ข้อ จำนวน ๑๗๐ คะแนน ประกอบด้วย
๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษีอากร และประมวลรัษฏากร
๒) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๓) ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
๒. ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๕ ข้อ จำนวน ๓๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
นิติกรปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ อัตราว่าง : 80 อัตรา อัตราเงินเดือน : 15,000-16,500 บาท คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์
- เป็นผู้สสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าของสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่สอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
1. ด้านการปฏิบัติการ
- เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วบงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
- ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทักับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
- ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลรัษฏากร
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป อาทิเช่น หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักกฎหมายอาญา
- ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ อัตราว่าง : 15 อัตรา อัตราเงินเดือน : 15,000-16,500 บาท คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์
- เป็นผู้สสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าของสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่สอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูประบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องกรของหน่วยงาน
- ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
- ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
- เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
- ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
- ช่วยรวบรมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
- รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่องเพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
- ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่ายไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
- ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออกใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- ดำเนินการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
- ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
- ความรู้เกี่ยวกับการเเขียนโปรแกรม และการทำงานชุดคำสั่งระบบคอมพิวเตอร์
- ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
- ความรู้เกี่ยวกับชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป
- ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบ
- ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการเรื่องการบริหารความปลอดภัย (Security Management) และระเบบบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Risk Management)
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้างอำนาจหน้าที่ และภารกิจ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
- พระราชบัญญัติการรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์ และ
- พระราชบัญญํติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ อัตราว่าง : 7 อัตรา อัตราเงินเดือน : 15,000-16,500 บาท คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
- เป็นผู้สสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าของสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่สอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่างๆ เช่น งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหารอาคารสถานที่และงานสัญญาต่างๆ เป็นต้น
- ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
- จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่นๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคลากรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
- ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
2. ด้านการวางแผน วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด 3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจ
- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผน การประสานงาน การบริหารจัดการภายในองค์กร และการบริหารงบประมาณ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลังและพัสดุ
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ อัตราว่าง : 8 อัตรา อัตราเงินเดือน : 15,000-16,500 บาท คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
- เป็นผู้สสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าของสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่สอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบการจัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
- ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
- ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการ และความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนและเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ และแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและการฝึกอบรม
- ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่ง และการวางแผนอัตรากำลังของส่วนราชการ
- ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหารผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
- ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ถ้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการทางวินัยการรักษาวินัยและจรรยา
- ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
- ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
2. ด้านการวางแผน วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด 3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
- ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่างๆ
- ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจ
- ความรู้เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ การวางแผนกลยุทธ์ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ การติดตามประเมินผล
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลังและพัสดุ
- ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ อัตราว่าง : 6 อัตรา อัตราเงินเดือน : 15,000-16,500 บาท คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
- เป็นผู้สสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าของสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่สอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
1. ด้านการปฏิบัติการ
- จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
- รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัย
- จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
- ศึกษา วิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
- ดูแลการับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
- ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโคีรงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
- จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น และประมวลรัษฎากร
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างอและการบริหารพัสดุภาครัฐ ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลังและระเบียบการงบประมาณ การเงิน การคลังและพัสดุ
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจ
- ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมสรรพากร
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. – 27 ก.พ. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมสรรพากร”
แผนที่
ประกาศรับสมัครสอบ
สมัครสอบ