สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ลิงค์: https://ehenx.com/17995/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(บัญชี),นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(คณิตศาสตร์และสถิติ),วิศวกรปฏิบัติการ(โยธา),นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ,นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-
อัตราว่าง: 31
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 28 ธ.ค. – 20 ม.ค. 2566
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
—
สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ด้วยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ (๔) และข้อ ๒๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก็ไข เพิ่มเติม จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
อัตราว่าง : 22 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 ส.ค. -23 ส.ค. 2567
- กรมวิชาการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 5 ส.ค. -26 ส.ค. 2567
- ท่าอากาศยานไทย เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-9 ส.ค. 2567 รวม 608 อัตรา,
- กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-30 ก.ค. 2567 รวม 19 อัตรา,
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (คณิตศาสตร์และสถิติ)
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
– ได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการบัญชี
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสํานักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า ภายในวันปิดรับสมัคร (วันที่ 20 มกราคม 2566) สําหรับกรณีที่ผู้สมัครสอบยังไม่มีหนังสือรับรองเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ สํานักงาน ก.พ. ผู้สมัครสอบจะต้องเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสมัครสอบครั้งนี้
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (คณิตศาสตร์และสถิติ)
– ได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ทางวิทยาการประกันภัย หรือทางสถิติประยุกต์
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสํานักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า ภายในวันปิดรับสมัคร (วันที่ 20 มกราคม 2566) สําหรับกรณีที่ผู้สมัครสอบยังไม่มีหนังสือรับรองเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ สํานักงาน ก.พ. ผู้สมัครสอบจะต้องเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสมัครสอบครั้งนี้
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
– ได้รับปริญญาตรีสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางวิศวกรรมโครงสร้าง หรือทางวิศวกรรมโยธาและบริหารงานก่อสร้าง
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสํานักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า ภายในวันปิดรับสมัคร (วันที่ 20 มกราคม 2566) สําหรับกรณีที่ผู้สมัครสอบยังไม่มีหนังสือรับรองเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ สํานักงาน ก.พ. ผู้สมัครสอบจะต้องเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสมัครสอบครั้งนี้
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
– ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสํานักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า ภายในวันปิดรับสมัคร (วันที่ 20 มกราคม 2566) สําหรับกรณีที่ผู้สมัครสอบยังไม่มีหนังสือรับรองเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ สํานักงาน ก.พ. ผู้สมัครสอบจะต้องเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสมัครสอบครั้งนี้
นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
– ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสํานักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า ภายในวันปิดรับสมัคร (วันที่ 20 มกราคม 2566) สําหรับกรณีที่ผู้สมัครสอบยังไม่มีหนังสือรับรองเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ สํานักงาน ก.พ. ผู้สมัครสอบจะต้องเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในการสมัครสอบครั้งนี้
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบการรับ-จ่าย การเก็บรักษา การใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และแสดงความเห็น ว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือไม,
(๒) ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่น หรือการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน งาน หรือ โครงการของหน่วยรับตรวจและแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตาม เป้าหมายและมีผลคุ้มค่าหรือไม่
(๓) ตรวจสอบบัญชีและรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณและงบแสดงฐานะการเงิน แผ่นดินประจำปีงบประมาณ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
(๔) ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปีและแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย และตามความเป็นจริงหรือไม่
(๕) ช่วยในการศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงาน งาน โครงการ ที่จะมีผลกระทบ ต่อการจัดทำงบประมาณ
(๖) ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายไต้อื่นของหน่วยรับตรวจ และ แสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่
(๗) ตรวจสอบการประเมินภาษีอากร การจัดเก็บค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ที่หน่วยรับตรวจ จัดเก็บให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี ให้ถูกต้องครบถ้วน
(๘) ตรวจสอบระบบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประหยัด ได้ผลตามเป้าหมาย และมี ผลคุ้มค่าหรือไม่
(๙) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงาน งาน หรือโครงการที่จะมีผลกระทบต่อการ จัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ
(๑๐) ปฏิบัติงานทางด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิจัยวิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ วินิจฉัยปัญหา(๑๑) ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
(๑๒) ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ตรวจเงินแผ่นดิน เช่น งานวินัยทางงบประมาณและการคลัง
(๑๓) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ้ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจ ได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การตรวจเงินแผ่นดิน
ที่สำคัญ
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (คณิตศาสตร์และสถิติ)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในต้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบการรับ-จ่าย การเก็บรักษา การใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือไม่
(๒) ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่น หรือการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน งาน หรือ โครงการของหน่วยรับตรวจและแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตาม เป้าหมายและมีผลคุ้มค่าหรือไม่
(๓) ตรวจสอบบัญชีและรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณและงบแสดงฐานะการเงิน แผ่นดินประจำปีงบประมาณ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
(๔) ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปีและแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย และตามความเป็นจริงหรือไม่
(๔) ช่วยในการศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงาน งาน โครงการ ที่จะมีผลกระทบต่อ การจัดทำงบประมาณ
(๖) ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ และ แสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่
(๗) ตรวจสอบการประเมินภาษีอากร การจัดเก็บค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ที่หน่วยรับตรวจ จัดเก็บให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี ให้ถูกต้องครบถ้วน
(๘) ตรวจสอบระบบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประหยัด ได้ผลตามเป้าหมาย และมี ผลคุ้มค่าหรือไม่
(๙) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงาน งาน หรือโครงการที่จะมีผลกระทบต่อการ จัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ
(๑๐) ปฏิบัติงานทางด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิจัยวิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ วินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
(๑๑) ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
(๑๒) ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไวิในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ตรวจเงินแผ่นดิน เช่น งานวินัยทางงบประมาณและการคลัง
(๑๓) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวช้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลส์มฤทธตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจ ได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การตรวจเงินแผ่นดิน
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวช้องกับการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ต้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การคำนวณ การออกแบบ หรือการก่อสร้างเกี่ยวกับอาคาร ถนน และสิ่งก่อสร้างทั่วไป
(๒) การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง การสังเกตการณ์งานตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างและ แสดงความเห็นว่า เป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี หรือไม่
(๓) ช่วยศึกษา ด้นคว้าเรื่องต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลในการตรวจสอบแผนงาน งาน โครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง
(๔) ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ โครงสร้าง รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการ และมาตรฐานสากล
(๕) ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับ มอบหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
(๖) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมายซึ่งจำเป็นต้อง อาศัยผู้มีความรู้ความสามารถในทางวิศวกรรมศาสตร์
๒. ต้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธื้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานวิศวกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่ทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศ เกี่ยวกับงานวิศวกรรมในความรับผิดชอบ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบ การกำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดกิจกรรมตามโครงการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
(๒) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และสรุปผล เพื่อเป็น ข้อมูลในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
(๓) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวิจัย วางแผนการประชาสัมพันธ์ และติดตามผล
(๔) จัดทำเอกสาร ผลิตบทความ และผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
๒. ต้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่าง โต้ตอบ หนังสือเป็นภาษาต่างประเทศ งานแปลเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศ
(๒) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และติดตามประเมินผล จัดทำบันทึกสรุปรายงานการประชุม ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชา
(๓) จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการเจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ เพื่อให้การ ประชุมเจรจา บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการเกี่ยวกับทุนการศึกษา ฟิกอบรม ดูงาน ผู้เชี่ยวชาญ วัสดุอุปกรณ์ อาสาสมัคร องค์การพัฒนาเอกชนและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานความร่วมมือ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วย ความราบรื่น
(๔) ปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) เผยแพร่ความรู้ทั่วไปด้านการต่างประเทศแก่ผู้มาติดต่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และถูกต้อง เผยแพร่ความรู้ให้คำปรึกษาและชี้แจงตอบปัญหาด้านการต่างประเทศแก่ผู้มาติดต่อเพื่อให้เกิด ความเข้าใจอันดีและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
(๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานด้านต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล
หลักสูตรการสอบแข่งขันแบ่งออกเป็น ๓ ภาค คือ
๖.๑ สำหรับผู้สมัครสอบที่ไม่มีหนังสือรับรองเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถ ทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ให้เข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
๖.๑.๑ วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) เป็นการ ทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ครอบคลุมประเด็น ด้งนี้
(๑) การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความ เข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การดีความจากบทความ ข้อความหรือ สถานการณ์ต่าง ๆ
(๒) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่าง ๆ และ
(๓) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอ ของข้อมูล
๖.๑.๒ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน) เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และ บริบท แสดงถึงความสามารถในการลื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำ ความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษในระดับ เบื้องต้น
๖.๑.๓ วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ความรู้ดังกล่าว ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
สำหรับผู้สมัครสอบที่มีหนังลือรับรองผลการสอบผ่านเพื่อวัดความรู้ความสามารถ ทั่วไป (ภาค ก.) ในระดับปริญญาตรีขึ้นไปของสำนักงาน ก.พ. แล้ว สามารถใช้แสดงว่าเป็นผู้สอบผ่านภาค ความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) โดยไม่ต้องเช้าสอบในครั้งนี้
๖.๒ ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
๔) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
๕) มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ
๖) มาตรฐานการสอบบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ประกาศกำหนด
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (คณิตศาสตร์และสถิติ)
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
๔) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
๕) กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
๖) พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
๗) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สถิติ
๘) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนในการจัดเก็บข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล
๙) ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล การปฏิบัติการระบบฐานข้อมูล และการบริหาร ข้อมูลขนาดใหญ่
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
๔) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
๕) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๖) ประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง
๗) การคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง ตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)
๘) ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา
– การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Design)
– วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
– วิศวกรรมการทาง (Highway Engineering)
– วิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulic Engineering)
– สำรวจ (Surveying)
– การเขียนแบบวิศวกรรม (Engineering Drawing)
๙) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการก่อสร้าง
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แกํไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
วิชาความรู้ความสามารถที่ใซ้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
๔) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
๕) หลักการประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์การสื่อสารยุคดิจิทัล
๖) ความรู้เกี่ยวกับการย่อความ และการจับประเด็นใจความสำคัญ
๗) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลและเหตุการณ์ปัจจุบัน
๘) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร
๙) การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
๔) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
๕) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการแบบพิธีการและไม่พิธีการ
๖) ความรู้เกี่ยวกับการย่อความและการสรุปความ
๗) ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
๘) ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (Structure, Vocabulary and Reading Comprehension)
๙) ความสามารถในการวิเคราะห์ สรุปและจับประเด็นสำคัญ แปลความจากภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ และแปลความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
๑๐) การร่างหนังสือโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. – 20 ม.ค. 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร