สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 21 ก.ค. -27 ก.ค. 2565

แชร์เลย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ลิงค์: https://ehenx.com/17315/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการอาหารและยา,เจ้าพนักงานธุรการ,นักจัดการงานทั่วไป,นิติกร,นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-18,000
อัตราว่าง: 5
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 21 ก.ค. – 27 ก.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงาน ราชการ ประเภททั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและ คุณสมบัติเฉพาะกลุ่มชองงาน และการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะ ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการ จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน ๕ อัตรา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการอาหารและยา

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานธุรการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 13800- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


นักจัดการงานทั่วไป

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นิติกร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการอาหารและยา

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิขาวิทยาศาสตร์การอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ อาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุข ศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร สาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพ


เจ้าพนักงานธุรการ

ได้รับวุฒิประกาศบียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันนี้


นักจัดการงานทั่วไป

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันนี้ ในทุกสาชาวิชา


นิติกร

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณจุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันนี้ ในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันนี้ ในทุกสาขาวิชา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการอาหารและยา

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านตรวจสอบ ควบคุมการนำเข้า ส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาในสำนักด่านอาหารและยา ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการทดสอบเบื้องต้นผลิตภัณฑ์โดยใข้เครื่องมือ อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์และชุดทดสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ช่วยตรวจสอบการนำเข้า นำผ่าน ส่งออกซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามหลักวิขาการและ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. ช่วยเฝัาระวังด้านคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการทดสอบ เบื้องต้น ณ ด่านอาหารและยา และการเก็บตัวอย่างส่งวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
๓. ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาในการป้องกันและป้องปรามการนำเข้า นำผ่าน การส,งออกหรือการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
๔. มีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติงานประจำปี ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ รวมถึงการลดขั้นตอน การปฏิบัติงาน
๕. ร่วมประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและ ผลสัมฤทธิ,ตามที่กำหนด
๖. ร่วมขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๗. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาระดับเบื้องต้นแก1หน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ในเรื่อง ข้อกฎหมายและวิธีปฏิบัติในการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพ


เจ้าพนักงานธุรการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้งนี้
๑. ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน
ร่างหนังสือโต้ตอบจัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก ราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
๒. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อ สะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไวิใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
๔. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อ
นำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๕. ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
๖. ให้บริการข้อมูลแกผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๗. ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
๘. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักจัดการงานทั่วไป

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่างๆ งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ
๒. จัดทำวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากร การจัดทำคำสั่งรักษาราชการ การทดลองปฏิบัติราชการ การจัดทำระบบฐานข้อมูล
๓. จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่นๆ เพื่อให้ การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
๔. ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่ กำหนดไว้
๕. ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของ หน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
๖. วางแผนการทำงานของตนเอง ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๗. ประสานการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องกับภาพรวมผลงานของทีมงาน ประสานงานกับสมาชิกภายในทีมงาน ให้ความช่วยเหลือภายในทีมงาน เพื่อให้ได้ผลสัมถุทธี้ตามที่กำหนดไว้
๘. ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่ รับผิดชอบ
๙. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นิติกร

ปฏิบัติงานทางกฎหมายซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการตอบข้อหารือหรือพิจารณาวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมายหรือให้คำปรึกษา แนะนำ ความเห็นด้านกฎหมายแก1บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเผยแพร่ ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ร่างและพิจารณาตรวจร่างกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตรวจร่าง สัญญาและบริหารสัญญา รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดี การดำเนินการเกี่ยวกับ การเปรียบเทียบคดี การสอบสวนและดำเนินการเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. งานด้านตอบข้อหารือหรือพิจารณาวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมาย
๒. ให้คำปรึกษา แนะนำ ความเห็นด้านกฎหมายแก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. งานเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย
๔. จัดทำร่างและพิจารณาตรวจร่างกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
๕. ตรวจร่างสัญญาและบริหารสัญญา
๖. รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดี
๗. งานเปรียบเทียบคดี
๘. งานสอบสวนและดำเนินการเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ
๙. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. รวบรวม และวิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และ สังคมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
๒. รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เนี้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการ าให้สามาร”ถบรรลุภาโกิจทกาหนดไว
๓. วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดการแผนการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรม ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๔. สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็นปัญหาทาง เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนด ยุทธศาสตร์
๕. ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบการ เสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไป ในแนวทางเดียวกัน
๖. วางแผนการทำงานที่รับผิดขอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมถุทธิ๋ที่กำหนด
๗. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมถุทธี๋ตามที่กำหนดไว้
๘. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความความมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๙. รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ
๑๐. ให้คำปริกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนเพื่อ แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
๑๑. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นักวิชาการอาหารและยา

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และประกาศ ที่เกี่ยวข้อง ๒. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตอาหาร ๓. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร และประกาศ ที่เกี่ยวข้อง ๔. ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ๕. ความรู้ความสามารถทั่วไป
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒ ๑. มนุษย์สัมพันธ์ (๒๐ คะแนน) ๒. บุคลิกภาพ (๒๐ คะแนน) ๓. ความมั่นคงทางอารมณ์ (๒๐ คะแนน) ๔. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปฏิภาณไหวพริบ (๒๐ คะแนน) ๕. ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (๒๐ คะแนน)


เจ้าพนักงานธุรการ

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม ๓. ความรู้เกี่ยวกับพระราขกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม ๔. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ๕. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม ๖. ความรู้และความสามารถในการเขียนหนังสือราชการ ๗. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘. ความรู้ทั่วไป
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒ ๑. มบุษย์สัมพันธ์ (๒๐ คะแนน) ๒. บุคลิกภาพ (๒๐ คะแนน) ๓. ความมั่นคงทางอารมณ์ (๒๐ คะแนน) ๔. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปฏิภาณไหวพริบ (๒๐ คะแนน) ๕. ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (๒๐ คะแนน)


นักจัดการงานทั่วไป

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑. ความรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง บทบาท ภารกิจ ของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ๒. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกิไขเพิ่มเติม ๓. ความรู้เกี่ยวกับพระราขบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดชื้อ จัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๔ และที่แกิไขเพิ่มเดิม ๕. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ และ ที่แกิไขเพิ่มเดิม ๖. ความรู้ทั่วไป
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒ ๑. มนุษย์สัมพันธ์ (๒๐ คะแนน) ๒. บุคลิกภาพ (๒๐ คะแนน) ๓. ความมั่นคงทางอารมณ์ (๒๐ คะแนน) ๔. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปฏิภาณไหวพริบ (๒๐ คะแนน) ๕. ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (๒๐ คะแนน)


นิติกร

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑. ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ๒. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราขการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แกไขเพิ่มเดิม ๓. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ และ ที่แกไขเพิ่มเดิม ๔. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ๕. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ๖. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ และ ที่แก้ไขเพิ่มเดิม ๗. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ๘. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ยา พ.ศ. ๒๕๑๐ และฉบับที่แก้!ไขเพิ่มเดิม ๙. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ และฉบับที่แก้ไข เพิ่มเดิม ๑๐. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ ๑๑. ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และฉบับที่แก้ไข เพิ่มเดิม ๑๒. ความรู้ทั่วไป
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒ ๑. มนุษย์สัมพันธ์ (๒๐ คะแนน) ๒. บุคลิกภาพ (๒๐ คะแนน) ๓. ความมั่นคงทางอารมณ์ (๒๐ คะแนน) ๔. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปฏิภาณไหวพริบ (๒๐ คะแนน) ๕. ความรู่ที่ไชในการปฏิบัติงาน (๒๐ คะแนน)


นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑. ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการโลจิสติกส์ ๒. ความรู้เกี่ยวกับการบริการจัดการฐานข้อมูล ๓. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Ms.Excel ๔. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ๔. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผน/โครงการ ๖. ความรู้เกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล ๗. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธี๋ ชองงาน ๘. ความรู้ทั่วไป
การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒ ๑. มนุษย์สัมพันธ์ (๒๐ คะแนน) ๒. บุคลิกภาพ (๒๐ คะแนน) ๓. ความมั่นคงทางอารมณ์ (๒๐ คะแนน) ๔. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปฏิภาณไหวพริบ (๒๐ คะแนน) ๕. ความร้ทั่(ขในการปฏิบัติงาน (๒๐ คะแนน)

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. – 27 ก.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร