กรมพัฒนาที่ดิน เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-20 ก.ค. 2565 รวม 16 อัตรา,

แชร์เลย

กรมพัฒนาที่ดินเปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการกรมพัฒนาที่ดินเปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ

กรมพัฒนาที่ดิน

ลิงค์: https://ehenx.com/17285/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกร,นักวิชาการเกษตร,นักวิชาการเกษตร(ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ),นักสำรวจดิน,เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์,นักวิทยาศาสตร์,นักวิชาการคอมพิวเตอร์,เจ้าพนักงานการเกษตร,เจ้าพนักงานธุรการ
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-19,500
อัตราว่าง: 16
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 20 ก.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ



กรมพัฒนาที่ดิน เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมพัฒนาที่ดิน

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วยกรมพัฒนาที่ดิน ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการประเภท ทั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและ คุณสมบัติเฉพาะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน และการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นิติกร

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเกษตร

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเกษตร (ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ)

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักสำรวจดิน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิทยาศาสตร์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานการเกษตร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 13800- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานธุรการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 13800- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นิติกร

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิชาการเกษตร

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางการจัดการทรัพยากรดิน ทางปฐพีศาสตร์ ทางปฐพีวิทยา ทางปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ ทางปฐพีศาสตร์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทางปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทางพืชไร่นา ทางพืชไร่ ทางพืชศาสตร์ ทางพืชสวน ทางการผลิตพืช ทางส่งเสริมการเกษตร ทางล่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร ทางวิทยาศาสตร์เกษตร ทางวิทยาศาสตร์ การเกษตร ทางการเกษตร ทางเกษตรกรรม ทางเกษตรศาสตร์ ทางเทคโนโลยีการผลิตพืช ทางเทคโนโลยีการเกษตร ทางเคมีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ


นักวิชาการเกษตร (ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ)

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางการจัดการทรัพยากรดิน ทางปฐพีศาสตร์ ทางปฐพีวิทยา ทางปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ ทางปฐพีศาสตร์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทางปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทางพืชไร่นา ทางพืชไร่ ทางพืชศาสตร์ ทางพืชสวน ทางการผลิตพืช ทางโรคพืช ทางโรคพืชวิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางจุลชีววิทยา


นักสำรวจดิน

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางการจัดการทรัพยากรดิน ทางปฐพีศาสตร์ ทางปฐพีวิทยา ทางปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ ทางปฐพีศาสตร์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทางปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทางวิทยาศาสตร์เกษตร ทางวิทยาศาสตร์การเกษตร


เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
ทางคอมพิวเตอร์


นักวิทยาศาสตร์

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางการจัดการทรัพยากรดิน ทางปฐพีศาสตร์ ทางปฐพีวิทยา ทางปฐพีศาสตร์และ อนุรักษ์ศาสตร์ ทางปฐพีศาสตร์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทางปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทางวิทยาศาสตร์เกษตร ทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ทางเคมีการเกษตร หรือสาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์


เจ้าพนักงานการเกษตร

คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการ หลังการเก็บเกี่ยว สาขาวิชาพืชศาสตร์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปีต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา ตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์


เจ้าพนักงานธุรการ

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในทุกสาขาวิชา หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าในทุกสาขา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นิติกร

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. ปฏิบัติงานช่วยงานนิติกรในงานวินัยข้าราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ การพิทักษ์คุณธรรม
๒. ปฏิบัติงานช่วยนิติกรในงานกฎหมายพัฒนาที่ดิน งานเลขานุการของ คณะกรรมการพัฒนาที่ดิน
๓. ศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบ กฎ มติคณะรัฐมนตรี
๔. ตรวจร่าง พิจารณาสัญญา
๔. สรุปสำนวนการสอบสวนข้อเท็จจริงทางละเมิด และทางแพ่ง
๖. พิจารณาเสนอความเห็นงานคดีแพ่ง – ละเมิด – อาญา
๗. ประสานงานด้านคดีความกับธุรการศาล และอัยการ
๘. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการเกษตร

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทดสอบหาวิธีหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการ อนุรักษ์ดินและนี้าด้วยมาตรการต่างๆ แก้ไขพื้นที่ดินที่มีปัญหา เข่น ดินเปรี้ยวจัด ดินกรด ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินทราย ดินลูกรัง ดินที่สูง พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ในเขตชลประทาน พื้นที่นานอก เขตชลประทาน ดินที่ถูกชะล้างพังทลาย โดยตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องด้น
๒. รวบรวมข้อมูลวัสดุการเกษตร ศึกษา วิจัยการใช้ที่ดิน ในระบบผลิตพืชอินทรีย์ตามนโยบาย ของรัฐบาลเพื่อให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
๓. รวบรวมสถิติและข้อมูลต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องด้นเกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อใช้ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับงานวิชาการเกษตรด้านความสัมพันธ์ ดิน นี้า พืช
๔. ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องด้นเกี่ยวกับงานวิจัยเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าทดลอง วิเคราะห์วิจัย เกี่ยวกับงานวิชาการเกษตรจัดทำข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการรวบรวมข้อมูล พื้นฐานโดยใช้คอมพิวเตอร์
๕. ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องด้น เพื่อใช้ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เกี่ยวกับงานวิชาการเกษตร
๖. จัดทำแผนงานและติดตามผลการปฏิบัติงานของโครงการต่างๆ
๗. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร บทวิจัย บทความทางการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาที่ดินจากทุกแหล่งข้อมูล
๘. รวบรวม วิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูลทางการเกษตร ข้อมูลการพัฒนาที่ดิน และภูมิปัญญาเกษตรกร จากแหล่งข้อมูลต่างๆ จัดทำให้ออกมาอยู่ในลักษณะเอกสาร บทความหรือเอกสารคำแนะนำเพื่อการ เรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับหน่วยงานภายในกรมฯ
๙. ศึกษา วิจัย การจัดการดิน นี้า พืช และวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์
๑๐. ศึกษา วิจัย การจัดการระบบการปลูกพืช การปลูกพืชผสมผสานเกื้อกูลกัน เพื่อการหมุนเรียน ธาตุอาหารในดิน พืนฟูความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ ในการผลิตพืชอินทรีย์
๑๑. ศึกษา วิจัย การกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในการควบคุม กันเอง และการควบคุมศัตรูพืชโดยขีววิธี และสารขีวภัณฑ์
๑๒. เป็นผู้ช่วยในการค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลวิชาการจัดทำองค์ความรู้ เพื่อนำมาต่อยอดขยายผลขับเคลื่อนและสร้างเครือข่าย
๑๓. เป็นผู้ช่วยในการวิเคราะห์สถิติ และการแปรผลวิเคราะห์ รวมถึงการจัดทำข้อมูลนำเสนอโดย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
๑๔. เป็นผู้ช่วยในการจัดทำฐานข้อมูลหมอดินอาสา/เครือข่ายกลุ่มเกษตรกร ใช้สารอินทรีย์ลดใช้ สารเคมีทางการเกษตร/กลุ่มเกษตรกรผลิตเกษตรอินทรีย์
๑๕. ปฏิบัติงานในการถอดบทเรียนหมอดินอาสาและกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ที่โดดเด่น เรียบเรียงจัดทำเป็นคลังข้อมูลความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา นำมาใช้ประโยชน์
๑๖. ส่งเสริม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ สาธิตการใช้ปุยอินทรีย์ วัสดุปรับปรุงดิน ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินแก่หมอดินอาสา กลุ่มเครือข่าย และ เกษตรกรผลิตเกษตรอินทรีย์
๑๗. ปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย


นักวิชาการเกษตร (ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ)

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. จัดเตรียมรูปถ่ายทางอากาศเพื่อการสำรวจ การลากเส้นกำหนดพื้นที่สำรวจ (effective area) บนภาพถ่ายทางอากาศ จัดเตรียมแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยา
๒. แปลความหมายและวิเคราะห์ข้อมูลบนภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อจำแนกพื้นที่ และลากเส้นขอบเขต หน่วยแผนที่ดินและกำหนดจุดสำรวจตรวจสอบสมบัติดินในสนาม
๓. สำรวจข้อมูลและตรวจวัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของจุดอ้างอิงในพื้นที่ บันทึกข้อมูลการสำรวจและ ใส่ชื่อกำกับไว้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับแก้ไขความถูกต้องของภาพถ่ายทางอากาศและ เส้นขอบเขตแผนที่ดิน
๔. สำรวจตรวจสอบสมบัติดินในสนาม จำแนกหน่วยแผนที่ดิน เขียนขอบเขตการจำแนกหน่วยแผนที่ดิน จัดทำแผนที่ดิน ประเมินระดับความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจและการใช้ประโยชน์อื่น
๕. ศึกษาวิเคราะห์ ตรวจแก้ไขข้อมูลการสำรวจดิน และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน
๖. ปรับแก้ไขค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ของรูปถ่ายทางอากาศจากข้อมูลที่ตรวจวัดในสนามเพื่อจัดทำ แผนที่ดิน
๗. ลอกขอบเขต (digitize) ดิน จากรูปถ่ายทางอากาศที่ปรับแก้ไขแล้ว จัดทำและจัดพิมพ์แผนที่ดิน
๘. วิจัยเพื่อการสำรวจดิน การจำแนกดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
๙. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพและเคมีของดิน เพื่อวางแผนการเกษตรและร่วมกำหนดเขต การใช้ที่ดินในระดับตำบล/โครงการ/และบนพื้นที่สูง ศึกษาข้อจำกัดและแนวทางแก้ไขปัญหาของดิน เพื่อพัฒนาการเกษตร และการเพิ่มผลผลิตจากที่ดิน
๑๐. ศึกษาสำรวจ ตรวจวัด สมบัติดิน และเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
๑๑. ศึกษาดินมาตรฐาน เพื่อเป็นตัวแทนของชุดดินที่มีการกำหนดตั้งชื่อในประเทศไทย
๑๒. ศึกษาและวิจัยสมบัติต่างๆ ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการจำแนกดิน เพื่อการกำหนดมาตรฐานการ สำรวจดิน
๑๓. ช่วยรวบรวมนำเข้าข้อมูล เช่นข้อมูลลักษณะของดิน ลักษณะของพันธุกรรมพืช ข้อมูลภูมิอากาศและ การจัดการเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านวิจัยและวินิจฉัยคุณภาพดิน
๑๔. ร่วมศึกษาและวินิจฉัยคุณภาพของดิน วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลด้านเกษตรสิ่งแวดล้อม และปฐพีกลศาสตร์ให้ง่ายต่อความเข้าใจ สามารถใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๕. ร่วมสำรวจประเมินกำลังผลิตของทรัพยากรดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจ และจัดทำแผนที่ผลผลิต พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย
๑๖. ร่วมพัฒนาระบบข้อมูลดิน ระบบภูมิสารสนเทศดิน ข้อมูลสารสนเทศดิน เพื่อการแปลผล ประยุกต์ใช้ข้อมูลสำรวจดินในการพัฒนาพื้นที่ระดับลุ่มนํ้า ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่
๑๗. ร่วมพัฒนาระบบข้อมูลโปรแกรมแผนที่ดินสำหรับให้คำแนะนำในการจัดการที่ดินอย่างเหมาะสม


นักสำรวจดิน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) การสำรวจจำแนกดินและการทำแผนที่ดิน
(๓) ระบบข้อมูลดิน ระบบภูมิสารสนเทศดิน ข้อมูลสารสนเทศดิน เพื่อการแปลผลประยุกต์ใช้ข้อมูล การสำรวจดินในการพัฒนาพื้นที่
(๔) สถานการณ์ทรัพยากรดิน


เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลเข้าในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์
๒. ดูแลบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน
๓. ศึกษาและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการใช้โปรแกรม
๔. รวบรวมจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล (Meta Data) และข้อมูลแผนที่ และข้อมูลด้านระบบ ภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการสืบค้นและให้บริการข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล ในระยะต่อไป
๕. ออกแบบและสร้างฐานข้อมูลใน Website ของหน่วยงาน
๖. จัดทำฐานข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงาน และปรับปรุงฐานข้อมูลต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้ ในด้านสารสนเทศ
๗. จัดเตรียม / เรียบเรียง / วิเคราะห์ข้อมูลในรูปดิจิตอลเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
๘. ประยุกต์ใช้ Software สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะทาง
๙. จัดทำโปรแกรมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแสดงผล ฐานข้อมูลเฉพาะที่ผลิต เพื่อใช้ในการ ปฏิบัติงาน
๑๐. ติดต่อประสานงานด้านข้อมูลสารสนเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก ออกแบบและสร้างฐานข้อมูลใน Website ศูนย์ปฏิบัติการกรมพัฒนาที่ดินและจัดทำข้อมูล ในรูป Website เพื่อจัดส่งให้ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๑๑. จัดทำรวบรวม Meta Data งานวิชาการ จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงฐานข้อมูล บน Intranet    ประสานงานด้านข้อมูลสารสนเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานข้อมูล
Call Center
๑๒. ควบคุมดูแลโปรแกรมสำเร็จรูปและระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในด้านการนำเข้า ประมวลผล ปรับแก้ ปรับปรุง และผลิตแผนที่การจำแนกประเภทที่ดินและแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสื
๑๓. ศึกษา วิเคราะห์ จัดเก็บข้อมูลด้านการเงิน พัฒนาและดูแลระบบงานสารสนเทศด้านการเงินการ คลัง งบประมาณบัญชี พัสดุ
๑๔. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิทยาศาสตร์

๑. ทำหน้าที่ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ตรวจสอบสมบัติของดินสาเหตุปัญหา ของดินและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามมาตรการปรับปรุง และแกไขปัญหาของดิน
๒. ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ และในภาคสนาม และสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Microsoft
๓. วิเคราะห์ตัวอย่างนี้าตามรายการดังนี้ ออกซิเจนละลายนี้าไนโตรเจน ไนเตรด แอมโมเนียซัลเฟต ฟอสเฟต คลอไรด์ คาร์บอเนตไบคาร์บอเนต ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ดิน พืช
๔. ทำหน้าที่ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการเตรียมสารละลายชนิดต่างๆ ในงานตรวจสอบวิเคราะห์ ชนิด และปริมาณแร่ในดิน หิน หินผุ และดินในลักษณะธรรมชาติ โดยวิธีการทางจุลสัณฐาน
๕. ทำหน้าที่ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ ในการวิเคราะห์ธาตุอาหารทั้งหมดในพืช ป๋ยและวัสดุปรับปรุงดิน รวมทั้งงานเร่งด่วนในการรับรองมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร
๖. ทำหน้าที่ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ และวิเคราะห์งานเร่งด่วนที่ได้รับมอบหมายพิเศษ
๗. วิเคราะห์ วิจัยดิน ในห้องทดลอง ศึกษาวิจัย การกำหนดมาตรฐานการวิเคราะห์
๘. จัดทำ Web page เพื่อเผยแพร่ผลงาน และถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ วิจัยและปรับปรุง ฐานข้อมูลดิน
๙. ทำหน้าที่ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยสมบัติทางกายภาพที่เกี่ยวกับดินโครงสร้าง ดิน ความขึ้นในดิน การเคลื่อนที่ของนี้าในดิน ปริมาณนี้าที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และความต้องการนี้า ของพืช
๑๐. วิเคราะห์ดิน นี้า พืช และวัสดุปรับปรุงดินในห้องปฏิบัติการและในหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่
๑๑. สนับสนุนงานวิจัย งานสาธิต ทดสอบ ในด้านดิน นี้า พืช
๑๒. ให้คำแนะนำ เผยแพร่ให้ความรู้แก่เกษตรกร และบุคคลทั่วไป
๑๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทางด้านการคัดแยกและทดสอบกิจกรรมของจุลินทรีย์เพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์
ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรสำหรับเพิ่มคุณภาพของป๋ยอินทรีย์และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
๑๔. ศึกษาและวิจัยในด้านคัดแยกประเภทจุลินทรีย์ทางการเกษตรในขั้นด้นและการแยกเชื้อจุลินทรีย์
ให้บริสุทธ
๑๕. ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยในด้านการทดสอบกิจกรรมจุลินทรีย์ดินเพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์ดิน ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
๑๖. ศึกษา วิจัย และพัฒนาในด้านการขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อผลิต ให้ได้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์สำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สารเร่งจุลินทรีย์ต่อไป

๑๗. ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการตรวจสอบวิเคราะห์คุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทาง การเกษตรรวมถึงการเก็บรักษาและการอยู่รอดของเชื้อจุลินทรีย์เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ กิจกรรมของจุลินทรีย์
๑๘. ปฏิบัติงานด้านการให้บริการข้อมูล การจัดนิทรรศการ และการสาธิตเกี่ยวกับงานของ กรมพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรหน่วยงานภาครัฐเอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั่วไป
๑๙. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบฐานข้อมูล    (Database) และ จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data
Dictionary) บัญชีข้อมูล (Data Catalog) คำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata) และ แนวปฏิบัติ สำหรับชุดข้อมูล (Dataset Guideline) ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance)
๒. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล ออกแบบ และ พัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ระบบงาน ประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
๓. พัฒนาโปรแกรมและเขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แกไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
๔. ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
๕. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลประกอบกำหนดคุณลักษณะเฉพาะและการจัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ทั้งด้าน Hardware/Software    ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบ
สารสนเทศ เพื่อให้สามารถรองรับการเชื่อมโยงทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานตามภารกิจให้กับ หน่วยงาน
๗. ศึกษาข้อมูลกฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
๘. จัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้งาน ด้านระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ ให้ผู้ใช้สามารถ นำไปใช้งานได้ด้วยตนเอง
๙. ตรวจสอบ ติดตามระบบงาน ประสานงาน ให้คำปรึกษาแนะนำการใช้งานระบบสารสนเทศและ โปรแกรมประยุกต์


เจ้าพนักงานการเกษตร

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. รวบรวมข้อมูลวัสดุการเกษตร เพื่อใช้ในวิจัยการใช้ที่ดินในระบบผลิตพืชอินทรีย์ ตามนโยบาย
ของรัฐบาลเพื่อให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
๒. รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวิจัยเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าทดลอง
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการเกษตรด้านความสัมพันธ์ดิน นี้า พืช
๔. รวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรดิน นี้า เพื่อวางแผนการเกษตรในพื้นที่เกษตรแข่งขันและพอเพียง
๕. รวบรวมข้อมูลด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับลักษณะดินและนี้า
ภูมิอากาศ
๖. ปฏิบัติงานวิชาการด้านการพัฒนาที่ดิน เข่น งานทดสอบ สาธิตการพัฒนาที่ดิน
๗. ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากรถ่ายทอดความรู้แก่หมอดินอาสา เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่น ๆ
๘. ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการในการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน
๙. ออกปฏิบัติงานวิเคราะห์ดินเคลื่อนที่ตามจังหวัดต่าง ๆ
๑๐. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


เจ้าพนักงานธุรการ

ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปไดโดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
๒. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อสะดวก
ต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไวิใช้งานและอยู่ใน สภาพพร้อมใช้งาน
๔. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอแนะ และปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๕. ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ ปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
๖. ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
๗. ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
๘. ปฏิบัติงานหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นิติกร

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
(๔) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
(๕) พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๖) พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๑ และ กฎ ประกาศ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง
(๗) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๖
(๘) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๙) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙


นักวิชาการเกษตร

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) งานการเกษตร และการพัฒนาที่ดิน ได้แก่
–    ความรู้ทั่วไปทางการเกษตร
–    การอนุรักษ์ดินและนี้า
–    การวางแผนการใช้ที่ดิน
–    การจัดการดิน
–    การปรับปรุงบำรุงดิน
–    การใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ


นักวิชาการเกษตร (ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ)

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) งานการเกษตร และการพัฒนาที่ดิน ได้แก่
–    ความรู้ทั่วไปทางการเกษตร
–    การอนุรักษ์ดินและนี้า
–    การวางแผนการใช้ที่ดิน
–    การจัดการดิน
–    การปรับปรุงบำรุงดิน
–    การใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ


นักสำรวจดิน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) ความรู้เกี่ยวกับงานการเกษตรและการพัฒนาที่ดิน เช่น ความรู้ทั่วไปทางการเกษตร การอนุรักษ์ดิน และนํ้า การจัดการดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การวางแผนการใช้ที่ดินและการใช้ปัจจัยการผลิต ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาที่ดิน เป็นด้น
(๓) ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ จุลินทรีย์ โรคพืช จุลชีววิทยา


เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(๓) คอมพิวเตอร์แม่ข่าย และการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(๔) การจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(๕) การจัดการระบบฐานข้อมูล
(๖) ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการต่างๆ และการพัฒนาเว็บไซต์
(๗) กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล


นักวิทยาศาสตร์

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) การวิเคราะห์ วิจัยพืช ปุย และการปรับปรุงบำรุงดิน
(๓) การวิเคราะห์ วิจัยสมบัติทางเคมี และกายภาพที่เกี่ยวข้องกับดินโครงสร้างดินและแร่ในดิน
(๔) ผลกระทบของสารเคมี หรือสารพิษตกค้างจากการทำการเกษตรต่อสิ่งแวดล้อม
(๕) ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน
(๖) มาตรฐานและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ทดสอบเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการสอบปฏิบัติ และสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ ความสามารถ โดยสอบปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้ ดังต่อไปนี้
(๑.๑) การจัดการฐานข้อมูล
(๑.๒) การวิเคราะห์ข้อมูล
(๑.๓) การเขียนโปรแกรมและการทำงานชุดคำสั่งระบบคอมพิวเตอร์
(๒) สมรรถนะ
(๓) บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ


เจ้าพนักงานการเกษตร

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) งานการเกษตร และการพัฒนาที่ดิน ได้แก่
–    ความรู้ทั่วไปทางการเกษตร
–    การอนุรักษ์ดินและนี้า
–    การจัดการดิน
–    การปรับปรุงบำรุงดิน
–    ปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดิน


เจ้าพนักงานธุรการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย เกี่ยวกับ ความรู้ ดังต่อไปนี้ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
(๑) บทบาทหน้าที่ และภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
(๒) งานธุรการ งบประมาณ การเงิน การบัญชี
(๓) การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
(๕) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กรมพัฒนาที่ดิน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 20 ก.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมพัฒนาที่ดิน

แผนที่ | file 1 | file 2 | file 3 | file 4 | file 5 | file 6 | file 7 | file 8 | file 9 | file 10 | เว็บรับสมัคร