“สำนักงานศาลยุติธรรม “
ลิงค์: https://ehenx.com/17103/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 10 มิ.ย. – 1 ก.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สำนักงานศาลยุติธรรม เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ และตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ ในสำนักงานศาลยุติธรรม
ด้วยสำนักงานศาลยุติธรรมจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการในสำนักงานศาลยุติธรรม ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งระเบียบ คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๔ มติคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๔๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๖๔ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๔๖ เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นิติกรปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นิติกรปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชา บริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาพาณิชยศาสตร์
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นิติกรปฏิบัติการ
๑) หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีลักษณะงาน เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ วินิจฉัย วิจัย พัฒนามาตรฐานงานทางกฎหมาย งานนิติการ การตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับ แนะนำ และตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการ ในเรื่องของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานสรุปความเห็น จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๑.๒ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับงานไกล่เกลี่ยและ ประนอมข้อพิพาททางเลือก การอนุญาโตตุลาการ ตามที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานสรุปความเห็น จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สนับสบุนการดำเนินการ และการพัฒนางานไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาททางเลือก การอบุญาโตตุลาการ เพื่อเป็นทางเลือกในการยุติความขัดแย้งได้ ตามวัตถุประสงค์ และสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นต่อประชาชน
๑.๓ ศึกษา วิเคราะห์ ด้นคว้าข้อมูลทางวิชาการกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการในด้าน ความตกลง และกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือทางการศาลระหว่างประเทศทั้งทางแพ่งและอาญาตามที่ ได้รับมอบหมาย เพื่อใช้สนับสบุนให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การตรวจพิจารณา ร่างกฎหมาย สนธิสัญญา กฎ ระเบียบและข้อบังคับที่มีลักษณะเฉพาะด้านของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไป อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
๑.๔ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการ ทางวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์ของข้าราชการศาลยุติธรรม ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงาน ราชการศาลยุติธรรม ตามที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานสรุปความเห็น จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสบุนให้การดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๑.๕ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับ งานบังคับคดีและสืบทรัพย์นายประกัน ปฏิบัติงานในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้การดำเนินการ เป็นไปตามกฎหมาย และบรรลุผลสำเร็จไปตามเป้าหมายที่กำหนด๑.๖ ตรวจสอบและให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการยกร่าง แกไข นิติกรรมสัญญา และข้อตกลงในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
๑.๗ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ ได้รับมอบหมายในคดีที่สำนักงานศาลยุติธรรมหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดซึ่งปฏิบัติราชการแทนหน่วยงาน เป็นความ เพื่อช่วยแก้ต่าง และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
๑.๘ ศึกษา ด้นคว้า วิเคราะห์คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัยของศาลฎีกาตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้การจัดทำย่อคำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่ง และคำวินิจฉัยบรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
๑.๙ ด้นคว้า รวบรวบข้อมูลกฎหมายและข้อมูลวิชาการทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อใช้ประกอบการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือ และสื่อสารสนเทศอื่นทางกฎหมาย และวิชาการกฎหมายของศาลยุติธรรม
๑.๑๐ เสนอความเห็นทางกฎหมายแกผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือ หรือวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานศาลยุติธรรม และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
๑.๑๑ ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลกฎหมายหรือข้อมูลทางวิชาการกฎหมายในสาขาต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินการ พัฒนากฎหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานในความรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายการบริหารราชการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม
๓. ด้านการประสานงาน
๓.๑ ประสานงานกับหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก องค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให์ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบล้วน และเป็นประโยชน์ในการดำเนินงาน ทางกฎหมายและคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ
๓.๒ ประสานงานกับทีมงาน โครงการ หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก องค์กร หรือ บุคคลที,เกี่ยวข้องตามที,ได้รับมอบหมาย เกี่ยวกับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในด้านการปรับปรุงแกไข กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๔. ด้านการบริการ
๔.๑ ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อคำถามในเบื้องต้น แกหน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับความรู้ทางกฎหมายเบื้องต้น การปฏิบัติตัวเมื่อมาติดต่อราชการศาลยุติธรรม และกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
๔.๒ ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อคำถามในเบื้องต้น แกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานในสังกัด สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีในข้อกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์กับการดำเนินการของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
๔.๓ ให้บริการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง และคำคู่ความ การขอปล่อยชั่วคราว การจัดทำ สัญญาคํ้าประกันและสัญญาชั้นทุเลาการบังคับคดี รวมทั้งให้คำแนะนำด้านกฎหมายแกประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวก และสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๔.๔ จัดทำสื่อประกอบการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ทางกฎหมาย เพื่อเผยแพร่ การเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ให้แกประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชน
๔.๕ ล้นคว้าข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา จัดเตรียมเอกสารข้อมูลทางกฎหมาย เพื่อสนับสนุนให้การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๔.๖ ร่วมจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
๑) หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีลักษณะงาน เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล วิจัย พัฒนามาตรฐานงานในงานวิชาการเงิน และบัญชี และวิชาการพัสดุ การตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับ แนะนำ และตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลแสดงสถานะทางการเงินและเป็น ฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
๑.๒ รวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินของสำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัด สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและหันสมัย
๑.๓ จัดทำและจัดสรรงบประมาณแกสำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ศาลยุติธรรม เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ชองแต่ละหน่วยงาน
๑.๔ ศึกษา วิเคราะห์ ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม และจัดทำเป็นรายงานสรุปผล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำ และจัดสรรงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรม
๑.๕วิเคราะห์ ตรวจสอบการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน เอกสารสำคัญการรับและ จ่ายเงิน เพื่อให้การรับและจ่ายเงินของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
๑.๖วิเคราะห์ ตรวจสอบ พิจารณาสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้าง เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
๑.๗ วิเคราะห์ ตรวจสอบ การเบิกจ่ายฎีกาเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และอื่น ๆ ของสำนักงานศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อความถูกต้องและเป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ
๑.๘ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำรายงานการเงินต่าง ๆ เสนอผู้บังคับบัญชา
เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจ
๑.๙ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การดำเนินการ เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับ และหน่วยงานมีทรัพยากรทางการบริหารที่เหมาะสม และเพียงพอ สำหรับการปฏิบัติราชการได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
๑.๑๐ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัสดุของสำนักงานศาลยุติธรรม และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
๑.๑๑ ศึกษา วิเคราะห์ การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัยและเหมาะสมมาประยุกต์ใชในการวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อการนำเสนอหลักเกณฑ์ แนวทาง มาตรการ แผนงาน โครงการ วิธีการบริหารจัดการ การพัฒนาง่านในความรับผิดชอบที่มีประสิทธิภาพ
๑.๑๒ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อใข้ประกอบ การวางระบบ พัฒนาระบบ พัฒนามาตรฐานงาน แผนงาน โครงการ ในระบบงานการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ เพื่อพัฒนาให้การปฏิบัติราชการของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานในความรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายการบริหารราชการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม
๓. ด้านการประสานงาน
๓.๑ ประสานงานกับหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก องค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบล้วน และเป็นประโยชน์ในการดำเนินงาน อาทิ งานการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ
๓.๒ ประสานการทำงานกับทีมงาน โครงการ หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก ในกระบวนการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานบรรลุ เป้าหมายและผลสัมฤทธื้ตามที่กำหนด
๔. ด้านการบริการ
๔.๑ ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อคำถามแกหน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชน เกี่ยวกับงานการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ ในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้น เพื่อให้ผู้สอบถามได้รับทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
๔.๒ ร่วมจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
๑) หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีลักษณะงาน เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล วิจัย พัฒนามาตรฐานงานในงาน วิชาการพัสดุ การตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับ แนะนำ และตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพและ มาตรฐานของพัสดุ
๑.๒ ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ อาทิ การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงาน ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด
๑.๓ รวบรวมและจัดทำรายละเอียดบัญชีหรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับพัสดุ คุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ และทรัพย์สินอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงานศาลยุติธรรมและ .หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน สามารถ ใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบและวางแผนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๑.๔ บำรุงรักษาและช่อมแซมวัสดุในความรับผิดชอบ เพื่อให้วัสดุมีสภาพที่พร้อมใช้งาน
๑.๕ จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์แกสำนักงานศาลยุติธรรม และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
๑.๖ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่ดิน เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาลยุติธรรมและสำนักงาน ศาลยุติธรรม
๑.๗ ศึกษา วิเคราะห์ การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัยและเหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อการนำเสนอหลักเกณฑ์ แนวทาง มาตรการ แผนงาน โครงการ วิธีการบริหารจัดการ การพัฒนางานในความรับผิดชอบ ที่มีประสิทธิภาพ
๑.๘ ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อใช้ประกอบ การวางระบบ พัฒนาระบบ พัฒนามาตรฐานงาน แผนงาน โครงการ ในระบบงานพัสดุ เพื่อพัฒนาให้ การปฏิบัติราชการของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานในความรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายการบริหารราชการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม๓. ด้านการประสานงาน
๓.๑ ประสานงานกับหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก องค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานพัสดุ
๓.๒ ประสานการทำงานกับทีมงาน โครงการ หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก ในกระบวนการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของหน่วยงาน บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
๔. ด้านการบริการ
๔.๑ ให้คำแนะนำชี้แจง ตอบข้อคำถามแกหน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชน เกี่ยวกับงานพัสดุในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้น เพื่อให้ผู้สอบถามได้รับทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างถูกต้อง
๔.๒ ร่วมจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
วิชาที่สอบ
นิติกรปฏิบัติการ
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ (๑๐๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑.๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๔๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๑.๓ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๔๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๑.๔ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๑.๔ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
๑.๖ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งนิติกร (๑๐๐ คะแนน)
ความรู้เกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงาน ที่ปฏิบัติในตำแหน่งนิติกร
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน)
๑.๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม
๑.๒ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๑.๓ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
๑.๔ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี (คะแนนเต็ม ๑๔๐ คะแนน)
๒.๑ ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒.๒ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๔
และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระบบงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรม
๒.๓ ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยเงินค่าธรรมเนียมศาล เงินค่าปรับ
และเงินกลาง พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒.๔ หลักการและนโยบายการบัญชีภาครัฐ
๒.๕ มาตรฐานทางบัญชีภาครัฐ
๒.๖ ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน ของสำนักงานศาลยุติธรรม
๒.๗ ความรู้!,นการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร ค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ
๒.๘ ความรู้ในการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าใข้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการ ฟิกอบรม ค่าใช้จ่ายในการประชุม ของสำนักงานศาลยุติธรรม
๒.๙ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน)
๑.๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แกไขเพิ่มเดิม
๑.๒ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แกไขเพิ่มเดิม
๑.๓ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
๑.๔ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งนักวิชาการพัสดุ (คะแนนเต็ม ๑๔๐ คะแนน)
๒.๑ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๒ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๓ กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ
๒.๔ คำวินิจฉัย ข้อตอบหารือ ของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ
๒.๕ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัสดุภาครัฐ และระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุของ
สำนักงานศาลยุติธรรม
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานศาลยุติธรรม :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. – 1 ก.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สำนักงานศาลยุติธรรม
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร