“เคลียร์ให้ชัด ใครต้องจ่ายภาษี e-service 7%“
ลิงค์: https://ehenx.com/15251/ หรือ
เรื่อง:
เคลียร์ให้ชัด ใครต้องจ่ายภาษี e-service 7%
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากร จะเริ่มจัดเก็บภาษี e-Service ในอัตรา 7% ต่อปี จากแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทางออนไลน์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย และมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี โดยขณะนี้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างชาติในไทยลงทะเบียนเสียภาษีผ่านระบบ VES (VAT for Electronic Service) แล้ว 18 ราย จากบริษัทที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีประมาณ 100 ราย
“ถ้ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี เขามีหน้าที่มาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเราได้ทำเว็บไซด์ไว้ให้แล้วหรือจะมาที่กรมสรรพากรเองก็ได้ ซึ่งเหมือนกับคนไทยที่ให้บริการในเมืองไทยและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จากนั้นพอจบสิ้นเดือนมา เขาต้องนำส่งมาภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากมีธุรกรรม 100 บาท ก็ต้องเอา 7 บาท มาส่งให้กรมสรรพากรทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน แต่ถ้าไม่ส่งกรมสรรพากรก็มีอำนาจปรับ” นายเอกนิติ กล่าว
นายเอกนิติ ระบุว่า จากการกรมสรรพากรได้หารือกับบริษัทแพลตฟอร์มต่างชาติเหล่านี้ พบว่าบริษัทดังกล่าวพร้อมจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่ขอให้ทำแบบฟอร์มต่างๆให้ง่าย
ทั้งนี้ กรมสรรพากรแบ่งแพลตฟอร์มต่างประเทศฯที่ต้องเสียภาษี e-Service เป็น 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ซึ่งมีรายได้จากค่าธรรมเนียมในการนำสินค้าไปวางขายบนแพลตฟอร์ม 2.กลุ่มกลุ่มแพลตฟอร์มที่เป็นโฆษณา (advertising) ซึ่งมีรายได้จากการขายโฆษณา 3.กลุ่มแพลตฟอร์มที่ให้บริการจองตั๋วออนไลน์ หรือจองโรงแรมออนไลน์ ซึ่งมีรายได้จากค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม
4.กลุ่มแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางแบบ peer-to-peer ซึ่งมีรายได้จากค่าธรรมเนียม เช่น ให้เช่าที่พัก โรงแรม ตัวกลางเช่ารถแท็กซี่ และ5.กลุ่มแพลตฟอร์มที่ให้บริการดาวน์โหลดภาพยนต์หรือเพลง ซึ่งมีรายได้เป็นค่าสมาชิกต่างๆ
ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศฯที่ต้องเสียภาษี e-Service ในอัตรา 7% จะผลักภาระให้ผู้บริโภคคนไทยนั้น นายเอกนิติ กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับสภาพการแข่งขัน เช่น แพลตฟอร์มที่ให้บริการดาวน์โหลดภาพยนต์ในบางประเทศ พบว่าแพลตฟอร์มไม่ได้ผลักภาระภาษีไปให้ผู้ใช้บริการ เนื่องจากไม่ได้มีผู้ให้บริการเพียงแพลตฟอร์มเดียว แต่มี 4-5 ราย หากบวกภาษีเข้าไปในค่าบริการ ผู้ใช้บริการก็จะเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มของเจ้าอื่น
แต่ในกรณีที่การให้บริการบางประเภทที่มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการไม่กี่ราย แน่นอนว่าแพลตฟอร์มจะผลักภาระไปให้กับผู้ใช้บริการ
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
“สิ่งที่เราช่วยตอนนี้ คือ การสร้างความเป็นธรรมระหว่างแพลตฟอร์มของผู้ประกอบการไทยกับต่างชาติ ส่วนการผลักภาระไปให้ผู้บริโภคนั้น สรรพากรเราไม่มีอำนาจตรงนี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการเอาเปรียบผู้บริโภค เราจะมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เข้ามาดูแล หรือถ้าตั้งราคาสูงเกินจริง ก็เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์” นายเอกนิติ กล่าว
นายเอกนิติ กล่าวว่า เดิมกรมฯคาดว่าจะเก็บภาษี e-Service ได้ประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมาณการก่อนเกิดโควิด-19 แต่คาดว่าหลังเกิดโควิดแล้วคาดว่ายอดจัดเก็บรายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดการใช้บริการแพลตฟอร์มต่างๆเพิ่มขึ้นมาก ขณะเดียวกัน กรมฯจะมีฐานข้อมูลรายได้ของแพลตฟอร์มต่างชาติเหล่านี้ ซึ่งหากในอนาคตเวทีโลกตกลงกันได้ว่า จะให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากแพลตฟอร์มเหล่านี้ กรมฯก็จะมีข้อมูลที่ใช้จัดเก็บได้ทันที
สำหรับแพลตฟอร์มต่างประเทศรายใหญ่ที่ให้บริการทางออนไลน์ในประเทศไทย เช่น Facebook , Google , YouTube , Netflix ,amazon และ agoda เป็นต้น
ขณะที่ Facebook ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มต่างชาติที่ให้บริการในไทย ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2564 ผู้ลงโฆษณาที่ตั้งค่า ‘ขาย’ กับธุรกิจหรือบุคคลใดๆที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตรา 7% โดยผู้ลงโฆษณาจะต้องเพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ID) บนใบเสร็จค่าโฆษณา Facebook จะไม่บวกภาษีมูลค่าเพิ่มในการซื้อโฆษณา และรับผิดชอบในการประเมินตนเองและจ่าย VAT ภายใต้การเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
ส่วนผู้ลงโฆษณาที่ไม่เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จะมีการเรียกเก็บ VAT เพิ่มทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาบน Facebook เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือส่วนตัว
ทั้งนี้ Facebook ยังระบุว่า ไม่สามารถให้คำแนะนำด้านภาษีได้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษี ขอแนะนำให้ติดต่อหน่วยงานด้านภาษีของประเทศไทย (ที่มา : https://www.facebook.com/business/help/562800201396939)