สอบท้องถิ่น 2564 สถาปนิก รวม 22 อัตรา,

แชร์เลย

สอบท้องถิ่น 2564 สถาปนิก

ลิงค์: https://ehenx.com/12969/ หรือ
ตำแหน่ง: สถาปนิก
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,060-
อัตราว่าง: 22
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 9 มี.ค. – 31 มี.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สอบท้องถิ่น 2564 สถาปนิก เปิดรับสมัคร

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

สถาปนิก

อัตราว่าง : 22 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15060- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

จังหวัดภาค/เขตที่จะบรรจุ

ภาคเหนือ เขต 2: กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี
จำนวนที่รับ: 2 อัตรา

ภาคกลาง เขต 1: ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
จำนวนที่รับ: 3 อัตรา

ภาคกลาง เขต 2: จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว
จำนวนที่รับ: 8 อัตรา

ภาคกลาง เขต 3: กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี
จำนวนที่รับ: 2 อัตรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3: นครพนม บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
จำนวนที่รับ: 1 อัตรา

ภาคใต้ เขต 1: กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี
จำนวนที่รับ: 2 อัตรา

ภาคใต้ เขต 2: ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
จำนวนที่รับ: 4 อัตรา

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

สถาปนิก

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาหรือทางสถาปัตยกรรม และได้รับใบอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

สถาปนิก

หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  • 1.1 รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อการกำหนดรายละเอียดโครงการทาง สถาปัตยกรรมหลัก รวมทั้งการออกแบบวางผังเมืองประเภทต่างๆ และการเสนอโครงการพัฒนาเมือง
  • 1.2 จัดทำแบบ งานปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเติม รวมถึงงานอนุรักษ์ ทางสถาปัตยกรรม หลัก จัดทำงบประมาณ ราคาค่าก่อสร้าง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพื้นที่ใช้สอยของหน่วยงานและ ให้ได้สถาปัตยกรรมที่มีความเหมาะสม ประหยัด สอดคล้องตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • 1.3 ร่างแบบ ออกแบบ และเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม เพื่อให้ได้แบบสถาปัตยกรรม ที่ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ โครงการ และเป้าหมายที่กำหนดไว้
  • 1.4 วิเคราะห์ ตรวจสอบ และแก้ไขแบบแปลนต่างๆ ในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เพื่อให้ได้แบบแปลนที่ถูกต้อง และตรงตามมาตรฐาน และ พ.ร.บ. ควบคุมอาคารที่กำหนดไว้
  • 1.5 คำนวณโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ประมาณราคา และจัดทำราคาเกี่ยวกับ การก่อสร้างการตกแต่งอาคารสถานที่ และการผังเมือง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตั้งงบประมาณในการ ดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมได้อย่างเพียงพอ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
  • 1.6 ตรวจสอบคุณภาพอาคาร และสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้อาคารและสถานที่ ต่างๆ มีความถูกต้อง และได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้
  • 1.7 ศึกษา สำรวจอาคาร สถานที่ และภูมิประเทศต่างๆ และจัดทำเอกสาร และสรุป รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสถาปัตยกรรม รวมทั้งฐานข้อมูลด้านสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านสถาปัตยกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 1.8 ให้ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม และผังเมืองแก่บุคลากร ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการปฏิบัติงาน
  • 1.9 ออกแบบวางผังสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ กลุ่มอาคาร ชุมชนและเมือง รวมทั้งการจัดรูปที่ดิน เพื่อให้ชุมชนน่าอยู่และมีสภาพแวดล้อมที่ดี
  • 1.10 ควบคุมการก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเติม รวมถึงงานอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรมหลัก เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการที่กำหนด
  • 1.11 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ข้อมูล จัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง เพื่อพัฒนา องค์ความรู้ และการออกแบบทางสถาปัตยกรรมหลัก
  • 1.12 ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด
  • 1.13 ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานด้านสถาปัตยกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย หรือร่วมดำเนินการ วางแผนการทำงานของหน่วยงาน โครงการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงาน ด้านสถาปัตยกรรมเป็นไปตามเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้

3. ด้านการประสานงาน

  • 3.1 ประสานงานด้านสถาปัตยกรรมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน การดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
  • 3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  • 4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหาชี้แจงและแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
  • 4.2 จัดเก็บข้อมูล และสถิติเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูล/ระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม และ/หรือ งานอนุรักษ์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ
  • 4.3 ตรวจสอบความถูกต้องของแบบด้านสถาปัตยกรรมหลักเบื้องต้น ซึ่งจัดทำโดยเอกชน หรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงาน
  • 4.4 ให้ความรู้ด้านวิชาการทางสถาปัตยกรรมระดับต้นทุกสาขาแก่บุคคลทั่วไปและ หน่วยงานต่างๆ
  • 4.5 ร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมหลัก

วิชาที่สอบ

สถาปนิก

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564

(แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564)

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมด 3 ภาค โดยจะสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตาแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน แล้วจึงให้ผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) และ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข.) ตามเกณฑ์ในประกาศรับสมัครแล้ว มีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมีรายละเอียด ดังนี้

1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)

เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย โดยคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
  2. ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม
  3. ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน
  4. ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย เป็นต้น
  5. ความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ
1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

เป็นการทดสอบความพื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการ ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดาวน์โหลดคลิกที่นี่
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ.2553 ดาวน์โหลด
  3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  4. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  5. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  7. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดาวน์โหลด
  9. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  10. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ดาวน์โหลด
  11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความ การตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคาหรือกลุ่มคา ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การเรียงข้อความ การสะกดคา การแต่งประโยค และคาศัพท์

1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ และความเข้าใจสาระสาคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น

2. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตาแหน่ง (ภาค ข) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตาแหน่งที่
สมัครสอบโดยเฉพาะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และแก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  2. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 ดาวน์โหลด
  3. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 ดาวน์โหลด
  4. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ และเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม
  5. ความรู้ในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และแก้ไขแบบแปลนต่างๆ ในการ ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เพื่อให้ได้แบบแปลนที่ถูกต้อง และตรงตาม มาตรฐาน และ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
  6. ความรู้ในการคำนวณโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ประมาณราคา และจัดทำราคาเกี่ยวกับการก่อสร้าง การตกแต่งอาคารสถานที่
  7. ความรู้เบื้องต้นในการออกแบบวางผังสภาพแวดล้อมทางกายภาพของ พื้นที่ กลุ่มอาคาร ชุมชนและเมือง
  8. จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
  9. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ
3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) กำหนดคะแนนเต็ม 100 คะแนน

เป็นการประเมินบุคคลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบเอกสาร เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตาแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษที่เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สอบท้องถิ่น 2564 สถาปนิก :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. – 31 มี.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “สอบท้องถิ่น 2564 สถาปนิก

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |