กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 8 พ.ย. -28 พ.ย. 2561

แชร์เลย

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ลิงค์: https://ehenx.com/1242/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ป.ตรี,ป.เอก
อัตราเงินเดือน: 11,500-23,100
อัตราว่าง: 4
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 8 พ.ย. – 28 พ.ย. 2561
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดรับสมัครสอบ

ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

ด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเคมีเทคนิค) นิติกรปฏิบัิตการ และเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ชื่อตำแหน่ง :นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :17,500-19,250 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาโท


ชื่อตำแหน่ง :นิติกรปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


ชื่อตำแหน่ง :เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500 – 12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปวส.


ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ

ด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะดำเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ จึงประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ชื่อตำแหน่ง :นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มฟิสิกส์)

อัตราเงินเดือน :21,000 – 23,100 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาเอก

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเคมีเทคนิค)

ได้รับวุฒิปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมีอินทรีย์ ทางเซรามิก ทางเทคโนโลยีเซรามิก ทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเซรามิก หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางเทคโนโลยีเซรามิก ทางวิศวกรรมเซรามิก

นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

  • ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ
  • ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทุกสาขาวิชา

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มฟิสิกส์)

ได้รับวุฒิปริญญาเอก หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางฟิสิกส์ ทางฟิสิกส์ประยุกต์ ทางฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ ทางฟิสิกส์พอลิเมอร์ ทางฟิสิกส์ออปติกส์ หรือ ทางฟิสิกส์นิวเคลียร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเคมีเทคนิค)

1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเคมีเทคนิค โดยตรวจสอบ ทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดตามกฎหมาย
1.2 จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเคมีเทคนิค เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
1.3 ตรวจค้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านเคมีเทคนิค
เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
1.4 พิจารณาคำคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเคมีเทคนิค และจัดทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
1.5 ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านเคมีเทคนิค เพื่อรวบรวมจัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
1.6 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4 ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
4.2 เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
5 งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

นิติกรปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
๑.1 ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย โดยยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขบทบัญญัติและอนุบัญญัติต่างๆ ให้คำปรึกษาประชาชน และตอบข้อหารือด้านกฎหมาย และด้านสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนตรวจพิจารณาให้ความเห็นในประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และนิติกรรมสัญญาต่างๆ
๑.2 ปฏิบัติงานด้านพิจารณาคำขออุทธรณ์การจดทะเบียนของคณะกรรมการต่างฯ โดยตรวจรับคำอุทธรณ์ คำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียน และเอกสารหลักฐานต่างๆ จัดทำสรุปสำนวนอุทธรณ์ พร้อมทั้งทำความเห็นเพื่อเสนอคณะกรรมการต่างๆ พิจารณา จัดเตรียมวาระและเอกสารสำหรับการประชุม จัดทำรายงานการประชุม และร่างคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ต่างๆ รวมทั้งจัดทำจำแนกคำวินิจฉัยอุทธรณ์แยกตามประเด็นต่างๆ
๑.3 ปฏิบัติงานด้านคดี โดยรวบรวมจัดทำสำเนาคำฟ้องและใบแต่งทนาย ประสานงานกับพนักงานอัยการในการแต่งตั้งพนักงานอัยการแก้ต่างคดี และรวบรวมผลคดี และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
๑.4 ประสานการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ปากคำเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล
๑.5 รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบข้อเท็จจริงและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
๑.6 ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้คำปรึกษาข้อกฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการประนอมข้อพิพาทและการอนุญาโตตุลาการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
๑.7 ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ออกเครื่องหมายรับรองการผลิต และเครื่องหมายรับรองงานต้นแบบ การรับแจ้ง การออกใบรับแจ้ง ให้คำปรึกษา แนะนำและบริการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี
๑.8 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 สามารถประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ของงานที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ดำเนินการเกี่ยวกับระบบการรับส่งหนังสือ เอกสารหรือโทรสารและออกเลขหนังสือ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและค้นหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณ
๑.๒ ติดต่อประสานและติดตามเรื่องตลอดจนข้อซักถามแนะนำ และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อ เพื่อให้ข้อมูลและความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว
๑.๓ ดำเนินการร่างหนังสือโต้ตอบ จัดพิมพ์ และตรวจทานเอกสาร เพื่อติดต่องานราชการ
๑.๔ ดำเนินการจัดเก็บ ค้นหา และรวบรวมเอกสาร เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
๑.๕ ดำเนินการจัดซื้อ จัดหา เบิกจ่าย ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวพัสดุครุภัณฑ์ เพื่อให้งานราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๑.๖ จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนัก รวมทั้งควบคุม ดูแลการใช้งบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานของสำนัก
๑.๗ ตรวจสอบและรวบรวมวันทำการและวันลาต่างๆ ของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ ตลอดจนจัดทำสถิติการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
๑.๘ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการบริการ
2.๑ ติดต่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
2.2 ช่วยชี้แจง ให้ข้อคิดเห็น และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้การการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มฟิสิกส์)

1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์โดยตรวจสอบทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดตามกฎหมาย
1.2 จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
1.3 ตรวจค้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
1.4 พิจารณาคำคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์ และจัดทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
1.5 ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านฟิสิกส์เพื่อรวบรวมจัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
1.6 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
4.2 เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเคมีเทคนิค)

การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้
1. ข้อสอบปรนัย 60 ข้อ (รวม 120 คะแนน)
เป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านเคมี ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์ สินทางปัญญา และกรมทรัพย์สินทางปัญญา
2. ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 80 คะแนน)
(1) การทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับงานด้านเคมี โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (40 คะแนน)
(2) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบเป็นภาษาอังกฤษ (20 คะแนน)
(3) การสรุปประเด็นโดยย่อ เป็นภาษาไทย (20 คะแนน)

นิติกรปฏิบัติการ

การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้
1. ข้อสอบปรนัย 60 ข้อ (รวม 120 คะแนน)
การทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ .2539 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 80 คะแนน)
(1) การทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (10 คะแนน)
(2) การทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (การอธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ) (30 คะแนน)
(3) การทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (กรณีศึกษา) (40 คะแนน)

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้
(1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
(2) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(3) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(4) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
(5) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มฟิสิกส์)

การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง

 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. – 28 พ.ย. 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 7 ธ.ค. 2561

 

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |