กรมราชทัณฑ์ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-19 ม.ค. 2564 รวม 325 อัตรา,

แชร์เลย
กรมราชทัณฑ์เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

กรมราชทัณฑ์

ลิงค์: https://ehenx.com/12197/ หรือ
ตำแหน่ง: นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,840-16,500
อัตราว่าง: 325
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 19 ม.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมราชทัณฑ์ เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมราชทัณฑ์

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์

ด้วยกรมราชทัณฑ์ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 10 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 15 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 300 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่าองื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางจิตวิทยา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา


เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน

  1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา หลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นชายที่มีร่างกายแข็งแรง สูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร และรอบอก ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ถ้าขนาดของสัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งน้อยกว่าที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2 เซนติเมตร ก็ให้ใช้ได้โดยอนุโลม เมื่อจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 245 เซนติเมตร

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านสังคมสงเคราะห์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

1. ค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริง รวมทั้งศึกษาชุมชน และประเมินสภาวะทางสังคมเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยและให้บริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน

2. ให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วเยหลือ บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้

3. รวบรวม ประมวล สรุป จัดลำดับความสำคัญและความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา เพื่อประกอบการวางแผนให้ความช่วยเหลือ พิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย

4. สำรวจ รวบรวม ศึกษา สรุปจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ สถานการณ์และปัญหาด้านสังคม เพื่อประกอบการวิจัย การจัดทำฐานข้อมูล การวางแผน การจัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐานและการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

5. รวบรวม จัดเก็ฐข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อปรกอบการจัดทำเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางการปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์

6. จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณืและปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประกอบการพัฒนาและวางแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานจของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้

2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกีย่วข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

1. ให้คำแนะนำและให้บริการทางวิชาการแก่บุคคล หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับแนวทาง ในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาความรู้ เทคนิค ทักษะในการดำเนินงานและพัฒนาบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

2. ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตำรา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประดยชน์ในการจัดบริการทางสังคมและการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

3. ร่วมจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดความู้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่ายและประชาชนทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ที่มีประสิทะิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้า่นการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

1. ด้านการปฏิบัติการ

1. ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติสรุปรายาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงาน ในด้านต่างๆ เช่น งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหารอาคารสถานที่และงานสัญญาต่างๆ เป็นต้น

2. ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่องการจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร

3. จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่นๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

4. ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

5. ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพือให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด

2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกีย่วข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ


เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานราชทัณฑ์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

1. ควบคุม ดูแลผู้ต้องขัง ให้อยู่ในระเบียบวินัย และปฏิบัติภารกิจประจำวัน ตามกฎระเบียบของเรือนจำหรือทัณฑสถานที่ควบคุมต่างๆ ตลอดจนควบคุมผู้ต้องขังไปภายนอกเรือนจำ หรือสถานที่ดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีการหลบหนีจากการควบคุม

2. ดำเนินการตามมาตรการควบคุมผู้ต้องขัง และรักษาการณ์เรือจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เช่น ตรวจนับยอดจำนวนผู้ต้องขัง ตรวจตรา รักษาการณ์รอบอาณาเขตทั้งภายในและภายนอกกำแพง ป้อมบนกำแพง ประตูเข้าออก ตรวจค้นบุคคล ผู้ต้องขัง ยานพาหนะ และพัสดุสิ่งของที่ผ่านเข้าออก การหาข่าว ตลอดจนดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลภายนอกที่เข้าเยี่ยมชม หรือติดต่อราชการ การจู่โจมตรวจค้นทั้งในกรณีปกติและในกรณีพิเศษเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย

3. ดำเนินการกรณีผู้ต้องขัง แหกหักหลบหนี หรือก่อเหตุร้ายในเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรการที่กำหนด

4. ดำเนินการสืบสวน สอบสวน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงกรณีผู้ต้องขังกระทำผิดวินัย และเสนอแนะการลงโทษทางวินัยดังกล่าว

5. ดำเนินการด้านทัณฑปฏิบัติในเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรการที่กำหนด

6. รับและพิจารณาคำร้องทุกขฺ์ของผู้ต้องขัง เพื่อสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการแก้ไข หรือช่วยเหลือผู้ต้องขังต่อไป

7. สอนให้คำปรึกษา แนะนำและจัดการศึกษา จัดทำสื่อการเรียนการสอน อบรม พัฒนาจิตใจ และฝึกวิชาชีพ เพื่อการบำบัดฟื้นฟู หรือแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง

8. ดำเนินการด้านการจัดสวัวสดิการผู้ต้องขัง เช่น สูทกรรม การจัดเลี้ยงผู้ต้องขัง งานสงเคราะห์ผู้ต้องขัง เงินฝากผู้ต้องขัง ญาติเย่ยม สันทนาการ และงานสวัสดิการอื่นที่เรือนจำจัดให้ผู้ต้องขัง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามาารถดำรงชีพได้อย่างปกติและเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด

9. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่กำหนด

10. ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรรักษาการณ์นอกเวลาราชการ ตามระบบโครงสร้างเวรรักษษการณ์ของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย

2. ด้า่นการบริการ

1. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ให้บริการญาติในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง และการติดต่อประสานงานจากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกและประชาชนทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานราชทัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้บริการ เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการฝึกวิชาชีพหรือการใช้แรงงานผู้ต้องขังเพื่อให้ผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในกิจการต่างๆ

วิชาที่สอบ

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  3. พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
  4. พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  5. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ ขั้นตอน กระบวนการ เทคนิค ทักษะ และเครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์
  6. เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการในงานราชทัณฑ์
  7. การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
  2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  3. พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
  4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย

เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
  2. พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
  3. พระราชบัญญํติวินัยข้ารนาชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการควบคุมและปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
  6. ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 19 ม.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมราชทัณฑ์

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |