“สำนักงานประกันสังคม“
ลิงค์: https://ehenx.com/6733/ หรือ
เรื่อง: ประกาศให้ประกันสังคมจ่ายค่าตรวจหา #Covid_19
สำนักงานประกันสังคม-ประกาศให้ประกันสังคมจ่ายค่าตรวจหา #Covid_19
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตราย ดังนั้น คณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
เพื่อให้ผู้ประตนได้รับบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๒) และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 ส.ค. -23 ส.ค. 2567
- กรมวิชาการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 5 ส.ค. -26 ส.ค. 2567
- ท่าอากาศยานไทย เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-9 ส.ค. 2567 รวม 608 อัตรา,
- กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-30 ก.ค. 2567 รวม 19 อัตรา,
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม
“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถาานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
“การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19” หมายความว่าการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ผู้สงสัยติดเชื้อ ตามนิยามผู้ป่วยที่เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารสุขกำหนด
“ผู้ประกันคนที่ป่วย” หมายความว่า ผู้ประกันตนที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 หรือผู้ที่มีอาการและอาการแสดงที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยดังกล่าวเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 3 ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล ดังนี้
ก. กรณีเข้่ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรั,
1. ประเภทผูป่วยนอก
การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ให้สำนักงานจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ให้แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล สำหรับผู้ปรกันตนที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข และไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่น ดังนี้
1) ค่าตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ทางห้องปฏิบัตการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) สำหรับบุคลากรห้องปฏิบัติการ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินครั้งละ 3,000 บาท
2) ค่าอุปกรณืป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) สำหรับบุคลากรเพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินครั้งละ 540 บาท
2. ประเภทผู้ป่วยใน
ให้สำนักงานจ่ายค่าบริกาทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนที่ป่วยหรือสถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตนที่ป่วย ตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
1) ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษา หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ตามมาตรฐานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและค่าอาหาร ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินวันละ 2,500 บาท
2) ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับ 1 Admission ให้คำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic related group : DRG) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight RW) ในอัตรา 12,000 บาท ต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight: AdjRW)
3) ค่ายาต้านไวรัสหรือยาที่เ็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 7,200 บาทต่อราย
4) ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินครั้งละ 2,500 บาท
5) ค่าอุปกรณืป้องกันส่วนบุคคล (personal Protective Equipment : PPE) จำนวนตามอาการผู้ประกันตนที่ป่วย ดังนี้
(5.1) กรณีอาการเล็กน้อยถึงอาการปานกลาง จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 15 ชุดต่อวัน จำนวน 740 บาทต่อชุด
(5.2) กรณีอกาการรุนแรง จ่ายตามการให้บริการจริง จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 30 ชุดต่อวัน จำนวน 740 บาทต่อชุด
ข.กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของเอกชน
สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19สำหรับผู้ประกันตนที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข และไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่น รวมถึงค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ปรกันตนที่ป่วยให้แก่สถานพยาบาลของเอกชน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ค.ค่าพาหนะ
กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องส่งต่อผู้ประกันตนที่ป่วยไปรับการดูแลที่สถานพยาบาบลอื่นตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ให้สำนสักงานจ่ายค่าบริการ ดังนี้
1. กรณีใช้ยานพาหนะ เพื่อรับหรือส่งต่อผู้ประกันตนที่ป่วยระหว่างสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดเดียวกัน ให้จ่ายตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
2. กรณีใช้ยานพาหนะ เพื่อรับหรือส่งต่อผู้ประกันตนที่ป่วยระหว่างสถานพยาบาล ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากจ่ายเงินเป็นค่าพาหนะตามข้อ 1. แล้ว สำนักงานจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก ในอัตรากิโลเมตรละ 6 บาท โดยคำนวณจ่ายตามระยะทางของกรมทางหลวงในทางสั้นและทางตรง
3. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้ง
ง. กรณีที่สำนักงานเห็นว่าผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล สมควรได้รับค่าบริการทางการแพทย์นอกเหนือจากที่กำหนด ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ดังกล่าวให้แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล ตามคำแนะนำของคณะกรรมการการแพทย์ หรือผู้ที่คณะกรรมการการแทพย์มอบหาย
ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563
ชาตรี บานชื่น
ประธานกรรมการการแพทย์