กระทรวงการคลัง เปิดรับสมัครสอบ บัดนี้-13 เม.ย. 2563

แชร์เลย

กระทรวงการคลัง

ลิงค์: https://ehenx.com/6498/

กระทรวงการคลัง ครม.แจกเงินคนละ 5,000 บาท 3 เดือน เยียวยาแรงงานอิสระ ฟรีแลนซ์

ครม.ออกมาตรการสนับสนุนเงินค่าครองชีพ 5,000 บาทต่อเดือน นาน 3 เดือน เยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในประกันสังคมและได้รับผลกระทบ COVID-19 เตรียมเปิดเว็บไซด์ลงทะเบียน 3 ล้านคน เริ่ม เม.ย.นี้

วันนี้ (24 มี.ค.2563) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่อยู่ระหว่างการกักตัวเอง โดยชี้ถึงปัญหาไวรัส COVID-19 ระบาด ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเบื้องต้นออกมาตรการดูแลชุดที่ 1 เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ดูแลผู้ประกอบการเป็นหลักใหญ่ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการผลักภาระประชาชน ป้องกันไม่ให้มีการปลดคนงาน

ขณะนี้สถานการณ์พัฒนาถึงจุดที่กระทรวงการคลังจะต้องมีมาตรการดูแลเยียวยาประชาชนแล้ว เพราะเริ่มมีบางส่วนตกงาน จึงนำเสนอมาตรการของกระทรวงการคลังเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นมาตรการดูแลผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ให้มีค่าครองชีพเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน แต่หากสถานการณ์ยังมีความจำเป็น ก็สามารถต่อไปได้เรื่อยๆ ซึ่งน่าจะเพียงพอกับการดำรงชีวิต และอาจมีการออกมาตรการเพิ่มเติม เพราะมีผลกระทบทั้งภาคบริการและภาคการเงิน ซึ่งองค์กรที่เกี่ยวข้องมีมาตรการดูแลการออกพันธบัตร ตราสาร เพื่อป้องกันผลกระทบตั้งแต่ต้น และมาตรการต่างๆ เหล่านี้ต้องเริ่มให้เร็วที่สุดในเดือนเมษายนนี้

นายสมคิด ย้ำว่า มาตรการต่างๆ เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดกระจายออกไปมากขึ้น ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนสื่อมวลชน ฝ่ายค้าน และทุกฝ่าย เชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบในระยะสั้นๆ ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และเมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็จะมีมาตรการดูแลประชาชนเกี่ยวกับภัยแล้งและการกระตุ้นเศรษฐกิจในภายหลัง เชื่อว่าหากควบคุมการระบาดได้ ช่วงปลายปีจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 โดยตั้งใจดูแลกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม 

  1. สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน เยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในประกันสังคมจำนวน 3 ล้านคน โดยสามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com รับเงินเยียวยาผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร เริ่มเดือน เม.ย.นี้ และน่าจะลงทะเบียนได้ภายในวันเสาร์ที่ 28 มี.ค.นี้ สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างโดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน
  2. สินเชื่อฉุกเฉิน 50,000 บาท วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน
  3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน ซึ่งต้องมีหลักประกัน
  4. สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจํานําดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.125 ต่อเดือน
  5. ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไป ให้ยื่นแบบและชำระภาษี เป็นเดือนสิงหาคม 2562
  6. หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท
  7. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้บุคลากรทางการแพทย์
  8. ฝึกอบรมเพิ่มทักษะอาชีพ หรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้ ขยายการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายมูลนิธิอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง

นอกจากนั้นยังมีมาตรการเสริม ดูแลเยียวยาผู้ประกอบการโดย

  1. มาตรการเพิ่มสภาพคล่อง สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย เงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ให้สินเชื่อไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 เป็นเวลา 2 ปีแรก
  2. ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 ที่จะเริ่มยื่นภายในเดือนพฤษภาคม เปลี่ยนเป็นภายใน 31 สิงหาคม 2563 และ ภงด.51 จากภายในเดือนสิงหาคม 2563 เป็นภายใน 30 กันยายน 2563
  3. หยุดการเสียภาษีสรรพากร VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่นๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบและชำระภาษีทุกประเภท 1 เดือน
  4. หยุดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ เลื่อนการยื่นแบบภาษีและชำระภาษีสถานบริการออกไป 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมถึง 31 พฤษภาคม 2563 ให้เสียภาษีภายใน 15 กรกฎาคม 2563
  5. ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เลื่อนการยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 10 วันเป็นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน
  6. ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 6 เดือนถึงเดือนกันยายน 2563
  7. ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (non-bank) ให้เจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่นสินเชื่อส่วนบุคคล การเช่าซื้อลิสซิ่ง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564
เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพ

นอกจากนี้ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรณียื่นภาษี อยากให้ยื่นระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะได้คืนภาษีเร็ว ส่วนการประกันสุขภาพ จะได้มีการดูแลตัวเอง โดยเพิ่มวงเงินลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพจ่าย 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท

ส่วนรายการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยและบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่แค่แพทย์พยาบาล แต่รวมนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าหน้าที่สนับสนุน รวมถึงพนักงานขับรถส่งผู้ป่วย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหมด

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีมีมาตรการควบคู่ไปกับมาตรการภาคการเงินและตลาดทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการก่อนหน้านี้โดย 1.) กองทุนรวมและประกันสังคมที่ลงทุนไว้ กระทบกับประชาชนนับ 10 ล้านคน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งกลไกพิเศษขึ้นมา 1 ล้านล้านบาท เพื่อให้กองทุนรวมเชื่อมโยงกับธนาคารแห่งประเทศไทย และกลับมาสร้างสภาพคล่องให้กองทุนรวมได้ 2.)ตั้งกองทุนเพื่อสร้างเสถียรภาพให้หึ้นกู้ 70,000 ถึง 100,000 ล้านบาท และ 3.)ธนาคารแห่งประเทศไทย แทรกแซงตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาด้านงบประมาณ นายสมคิด กล่าวว่า กระทรวงการคลังดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงเรื่องงบประมาณ