“สำนักงานอัยการสูงสุด “
ลิงค์: https://ehenx.com/6492/ หรือ
ตำแหน่ง: เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ป.ตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-15,000
อัตราว่าง: 25
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 7 เม.ย. – 1 พ.ค. 2563
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบ
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ด้วยสำนักงานอัยการสูงสุดจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตัั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ ประเภทข้าราชการธุรการ ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พศ.2553 และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2553 จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สมัครได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง โดยสมัครแต่ละตำแหน่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 10 อัตรา
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 ส.ค. -23 ส.ค. 2567
- กรมวิชาการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 5 ส.ค. -26 ส.ค. 2567
- ท่าอากาศยานไทย เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-9 ส.ค. 2567 รวม 608 อัตรา,
- กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-30 ก.ค. 2567 รวม 19 อัตรา,
อัตราเงินเดือน : 11,500 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 15 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15,000 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ดังนี้ ได้รับประกาศนียนัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาธุรกิจประกันภัย สาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาล สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชากาจัดการผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาธุรกิจรับจัดงาน หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติานด้านธุรการ สาารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ปฏิบัติงานด้านธุรการ งานสารบรรณ งานสารบบคดี งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุมการบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
- รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
- ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
- รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
2. ด้านการบริการ
- ติดต่อประสานงานกับบุคลคภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
- ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
- ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
3. ด้านอื่นๆ
ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา บันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่างๆ เช่น งานสนับสนุนการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหารอาคารสถานที่ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานสัญญาต่างๆ เป็นต้น
- ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
- จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่นๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
- ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผูบริหารของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
2. ด้านการวางแผน
- วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ
5. ด้านอื่นๆ
ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
วิชาที่สอบ
ผู้สมัครสอบที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) โดยได้รับการขึ้นทะเบียนหรือประกาศให้เป็นผู้สอบผ่านภายในวันปิดรับสมัคร ดังต่อไปนี้ไม่ต้องสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปในครั้งนี้
1. ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ
- การวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ. ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี หรือในระดับที่สูงกว่า
- การวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงานอัยการสูงสุดในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี หรือระดับปริญญาตรี
2. ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
- การวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ. ในระดับปริญญาตรี หรือในระดับที่สูงกว่า
- การวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงานอัยการสูงสุดในระดับปริญญาตรี หรือระดับปริญญาตรี
1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
- การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความหรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพสถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ และ
- การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล
2. วิชาความรู้และลักษษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ความรู้ดังกล่าวได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
3. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
เป็นการทดสอบทักษะ ภาษาอังกฤษเพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสือ่สาร โดยใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมายและบริบท แสดงถึงความสามารถในการสือ่สารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น
สำหรับผู้สมัครที่สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. หรือของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามข้อ 6.3 แล้วไม่ต้องสอบภาคนี้
ทั้งนี้ ผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไปในแต่ละตำแหน่งครั้งนี้ ไม่สามารถนำผลการสอบไปใช้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการของส่วนราชการต่างๆ และสามารถใช้ผลการสอบได้เฉพาะในการสอบของสำนักงานอัยการสูงสุดตามที่กำหนดเท่านั้น
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบนรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญยัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งจะพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากรประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฎทางอื่นของผู้เข้ารับการสอบแข่งขัน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการฝ่ายอัยการ การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
ทั้งนี้ จะดำเนินการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปพร้อมกับการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก่อน และเมื่อสอบผ่านทั้งสองภาคแล้ว จึงจะมีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. – 1 พ.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 25 มี.ค. 2563
สอบวันที่: 30 มิ.ย. 2563
ดาวน์โหลดไฟล์ “สำนักงานอัยการสูงสุด
แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |