กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นประกาศหลักเกณฑ์,สอบเลื่อน,นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,นิติกร,นักวิชาการเงินและบัญชี

แชร์เลย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ลิงค์: https://ehenx.com/1819/ หรือ
เรื่อง: ประกาศหลักเกณฑ์,สอบเลื่อน,นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,นิติกร,นักวิชาการเงินและบัญชี


กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดรับสมัครสอบ

ประกาศ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จดำเนินการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งนักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกร และตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี จึงประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดังนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ตำแหน่ง นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ตำแหน่ง นิติกร

ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนนับถึงวันที่ปิดรับสมัคร ดังนี้

  1. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ
  2. มีคุณสมัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับยกเว้นจาก ก.พ. แล้ว และ
  3. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า กรณีเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี และ
  4. มีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคล และระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ดังนี้
    1. ไม่น้อยกว่า 8 ปี สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
    2. ไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือเทียบเท่า
    3. ไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า
      ในกรณีที่ระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคลและระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งไม่ครบ ให้พิจารณานำระยะเวลาการดำรงตำแนห่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นซึ่งมีลักษณะงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลมานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานในช่วงที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และข้อกำหนดอื่นที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงของข้าราชการแต่ละรายและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับและให้นับเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งได้ตามข้อเท็จจริงและลักษณะงานที่ปฏิบัติ เว้นแต่การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 หรือสายงานที่เทียบเท่ากรณีเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่น ให้นับได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการปฏิบัติงานที่นำมานับ และ
  5. ดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง หรือได้ปฏิบัติหน้าที่ในายงานที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
    ในกรณีที่ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งหรือได้ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้งไม่ครบ 1 ปี อาจพิจารณานำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นซึ่งมีลักษณะงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อกูลกับสายงานที่จะแต่งตั้ง หรือระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้ง มานับรวมเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งให้ครบ 1 ปี โดยให้นับเฉพาะการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 หรือสายงานที่เทียบเท่ากรณีเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่น และขณะนำเวลาดังกล่าวมานับผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำหน่งและข้อกำหนดอื่นที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง กรณีการนับระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ในตำหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งจะต้องมีคำสั่งรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง หรือคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งต้อมีการปฏิบัติงานจริงด้วย โดยมีแนวทางการพิจารณาตามที่ ก.พ. กำหนด คือต้องมีคำสั่งที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็คำสั่งรักษาการในตำแหน่งหรือคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใดๆ ซึ่งต้องระบุตำแหน่งและเลขที่ตำแหน่งที่ไปรักษาการหรือไปปฏิบัติหน้าที่ให้ชัดเจน
    กรณีข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในพื้นที่ตามข้อ 2-5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา เฉพาะพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ) ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2550 ถึงวันปิดรับสมัครให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมานับระยะเวลาทวีคูณตามความในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 1 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก

อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกในการดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีองค์ประกอบ ขั้นอตน และวิธีการการคัดเลือก ดังนี้

1. องค์ประกอบการคัดเลือก

ให้พิจารณาจาก 2 องค์ประกอบ จำนวน 200 คะแนนเต็ม ดังนี้

2.1.1 องค์ประกอบที่ 1 การประเมินความรู้ความสามารถทางวิชาการ

ให้ประเมินด้วยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 คะแนนเต็ม ดังนี้

  1. องค์ประกอบย่อยที่ 1 การประเมินความรู้ความสามารถทั่วไป จำนวน 30 คะแนน
  2. องค์ประกอบย่อยที่ 2 การประเมินความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง จำนวน 70 คะแนน

2.1.2 องค์ประกอบที่ 2 การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง

ให้ประเมินจาก 2 องค์ประกอบย่อย จำนวน 100 คะแนนเต็ม ดังนี้

1. องค์ประกอบย่อยที่ 1 การประเมินบุคคล ผลงาน และการสัมภาษณ์ จำนวน 50 คะแนน ประเมินจากองค์ประกอบ ดังนี้

1.1 ผลการประเมินคุณลักษณะของบุคคลจากผู้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ระดับ ตามองค์ประกอบการประเมินที่ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด จำนวน 10 คะแนน (เอกสารแนบ 1)

1.2 การพิจารณาเค้าโครงเอกสารผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำนวน 20 คะแนน ดังนี้ (เอกสารแนบ 2)

1.2.1 เค้าโครงเอกาสรผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านามาย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี จำนวน 1 เรื่อง จำนวน 10 คะแนน โดยจะต้องระบุชื่อผลงาน สัดส่วนของผลงานในสว่นที่ตนเองปฏิบัติและรายชื่อผูร่วมจัดทำผลงาน (ถ้ามี) ตามรูปแบบที่ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

1.2.2 ข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำนวน 1 เรื่อง จำนวน 10 คะแนน ตามรูปแบบที่ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

1.3 การสัมภาษณ์ จำนวน 20 คะแนน ให้ประเมินจากองค์ประกอบ ดังนี้

1.3.1 บุคลิกลักษณะ

1.3.2 ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะในการแก้ปัญหา และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

1.3.3 การนำเสนอและตอบข้อซักถามกี่ยวกับเค้าโครงผลงานและข้อเสนอแนวความคิด/วิธีการเพื่พัฒนาหรือปรับปรุงงานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพ

1.3.4 การตอบคำถามอื่นๆ

2. องค์ประกอบย่อยที่ 2 ประวัติการรับราชการ จำนวน 50 คะแนน ประเมินจากองค์ประกอบ ดังนี้

2.1 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ จำนวน 30 คะแนน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันเข้าสู่ระดับชำนาญการ (นับรวมการดำรงตำแหน่งระดับ 6/6 ว และ 7 ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535) โดยกำหนดวิธีการคำนวณ ดังนี้

2.1.1 นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 เป็นเดือน (นับถึงวันปิดรับสมัคร) โดยเศษของวันให้ปัดทิ้ง

กรณีข้าราชการผู้ดำรงตำหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา เฉพาะพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ) ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ปิดรับสมัคร ให้นำระยะเวลาการดำรงตำหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมานับระยะเวลาทวีคูณตามความในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัิตงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 1 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551

2.1.2 นำจำนวนเดือนของผู้สมัครที่ผ่านาการประเมินในขั้นตอนที่ 1 มาคูณค่าคะแนนมาตรฐานที่สอดคล้องกับลักษณะงานและค่างานของแต่ละระดับตำแหน่ง ดังนี้

2.1.2.1 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับ 6 หรือเทียบเท่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 โดยต้องเป็นตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 คูณค่าคะแนนมาตรฐาน คือ 1.0

2.1.2.2 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับ 7 หรือเทียบเท่า ตามพระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 โดยต้องเป็นตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 คูณค่าคะแนนมารตรฐาน คือ 1.5

2.1.2.3 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมา) คูณค่าคะแนนมาตรฐาน คือ 1.0

2.1.2.4 รวมระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งทั้งหมดของแต่ละคน และตรวจสอบจำนวนเดือนของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งมากที่สุด

2.1.2.5 ให้ผู้ที่มีระยะเวลาการดำรงตำหน่งตาม 2.1.2.4 ที่มากที่สุดได้ 30 คะแนนเต็ม ส่วนผู้อื่นจะคิดคะแนนโดยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตร ดังนี้

T = (Y x S) ÷ M

T = คะแนนระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
Y = ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 แต่ละคน
S = คะแนนเต็ม
M = ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ที่มากที่สุด

(คะแนนระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง เท่ากับ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 แต่ละคน คูณด้วยคะแนนเต็ม แล้วนำมาหารด้วย ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ที่มากที่สุด)

2.2 วุฒิการศึกษา จำนวน 10 คะแนน พิจารณาเฉพาะวุฒิที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของตำแหน่งที่คัดเลือก โดยพิจารณาวุฒิการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงสุด แบ่งเป็น

2.2.1 ปริญญาเอก จำนวน 10 คะแนน

2.2.2 ปริญญาโท จำนวน 8 คะแนน

2.2.3 ปริญญาตรี จำนวน 6 คะแนน

กรณีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกสำเร็จการศึกษาวุฒิเดียวกันซึ่งเป็นวุฒิการศึกษาระดับสูงสุดในหลายสาขาวิชา (ได้รับปริญญามากกว่า 1 ปริญญา) จะไม่นับคะแนนเพิ่มให้เนื่องจากเป็นการสำเร็จการศึกษาในระดับเดียวกัน

สำหรับหากมีกรณีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ซึ่งใช้วุฒิบัตรหลักสูตรโรงเรียนปลัดอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง ซึ่ง ก.พ. เทียบให้เสมือนผู้มีคุณวุฒิปริญญาตรีตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ให้ผู้นั้นได้รับจำนวน 4 คะแนน

2.3 ประวัติการดำเนินการทางวินัย จำนวน 10 คะแนน พิจารณาตั้งแต่เริ่มรับราชการถึงวันปิดรับสมัครดังนี้

2.3.1 ไม่เคยมีโทษทางวินัย จำนวน 10 คะแนน

2.3.2 เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์ จำนวน 8 คะแนน

2.3.3 เคยถูกลงโทษตัดเงินเดือน จำนวน 6 คะแนน

2.3.4 เคยถูกลงโทษลดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน จำนวน 4 คะแนน

2.3.5 เคยถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก จำนวน 0 คะแนน

กรณีที่ข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยหลายครั้ง ให้นำการถูกลงโทษทางวินัยครั้งที่ร้ายแรงที่สุดมาคำนวณคะแนน

ทั้งนี้ การพิจารณาประวัติการกระทำผิดทางวินัยจนถูกลงโทษนี้จไม่ได้รับการยกเว้นแม้ว่าจะได้รับการล้างมลทิน โดยพระราชบัญญัติการล้างมลทินฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539 ซึ่งวินิจฉัยว่า “ตามที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ระบุให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ หมายความเพียงว่า ผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้น หาได้หมายความว่าประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยลบล้างไปด้วยไม่”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมดาวน์โหลดประกาศได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

 

ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนนับถึงวันที่ปิดรับสมัคร ดังนี้

  1. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ
  2. มีคุณสมัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับยกเว้นจาก ก.พ. แล้ว และ
  3. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า กรณีเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี และ
  4. มีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคล และระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ดังนี้
    1. ไม่น้อยกว่า 8 ปี สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
    2. ไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือเทียบเท่า
    3. ไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า
      ในกรณีที่ระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคลและระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งไม่ครบ ให้พิจารณานำระยะเวลาการดำรงตำแนห่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นซึ่งมีลักษณะงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลมานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานในช่วงที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และข้อกำหนดอื่นที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงของข้าราชการแต่ละรายและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับและให้นับเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งได้ตามข้อเท็จจริงและลักษณะงานที่ปฏิบัติ เว้นแต่การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 หรือระดับ 2 หรือสายงานที่เทียบเท่ากรณีเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่น ให้นับได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการปฏิบัติงานที่นำมานับ และ
  5. ดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง หรือได้ปฏิบัติหน้าที่ในายงานที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
    ในกรณีที่ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งหรือได้ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้งไม่ครบ 1 ปี อาจพิจารณานำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นซึ่งมีลักษณะงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อกูลกับสายงานที่จะแต่งตั้ง หรือระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้ง มานับรวมเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งให้ครบ 1 ปี โดยให้นับเฉพาะการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 หรือสายงานที่เทียบเท่ากรณีเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่น และขณะนำเวลาดังกล่าวมานับผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำหน่งและข้อกำหนดอื่นที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง กรณีการนับระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ในตำหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งจะต้องมีคำสั่งรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง หรือคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งต้อมีการปฏิบัติงานจริงด้วย โดยมีแนวทางการพิจารณาตามที่ ก.พ. กำหนด คือต้องมีคำสั่งที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็คำสั่งรักษาการในตำแหน่งหรือคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใดๆ ซึ่งต้องระบุตำแหน่งและเลขที่ตำแหน่งที่ไปรักษาการหรือไปปฏิบัติหน้าที่ให้ชัดเจน
    กรณีข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในพื้นที่ตามข้อ 2-5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา เฉพาะพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ) ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2550 ถึงวันปิดรับสมัครให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมานับระยะเวลาทวีคูณตามความในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 1 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก

อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกในการดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีองค์ประกอบ ขั้นอตน และวิธีการการคัดเลือก ดังนี้

1. องค์ประกอบการคัดเลือก

ให้พิจารณาจาก 2 องค์ประกอบ จำนวน 200 คะแนนเต็ม ดังนี้

2.1.1 องค์ประกอบที่ 1 การประเมินความรู้ความสามารถทางวิชาการ

ให้ประเมินด้วยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 คะแนนเต็ม ดังนี้

  1. องค์ประกอบย่อยที่ 1 การประเมินความรู้ความสามารถทั่วไป จำนวน 30 คะแนน
  2. องค์ประกอบย่อยที่ 2 การประเมินความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง จำนวน 70 คะแนน

2.1.2 องค์ประกอบที่ 2 การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง

ให้ประเมินจาก 2 องค์ประกอบย่อย จำนวน 100 คะแนนเต็ม ดังนี้

1. องค์ประกอบย่อยที่ 1 การประเมินบุคคล ผลงาน และการสัมภาษณ์ จำนวน 50 คะแนน ประเมินจากองค์ประกอบ ดังนี้

1.1 ผลการประเมินคุณลักษณะของบุคคลจากผู้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 1 ระดับ ตามองค์ประกอบการประเมินที่ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด จำนวน 10 คะแนน (เอกสารแนบ 1)

1.2 การพิจารณาเค้าโครงเอกสารผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำนวน 20 คะแนน ดังนี้ (เอกสารแนบ 2)

1.2.1 เค้าโครงเอกาสรผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านามาย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี จำนวน 1 เรื่อง จำนวน 10 คะแนน โดยจะต้องระบุชื่อผลงาน สัดส่วนของผลงานในสว่นที่ตนเองปฏิบัติและรายชื่อผูร่วมจัดทำผลงาน (ถ้ามี) ตามรูปแบบที่ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

1.2.2 ข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำนวน 1 เรื่อง จำนวน 10 คะแนน ตามรูปแบบที่ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด

1.3 การสัมภาษณ์ จำนวน 20 คะแนน ให้ประเมินจากองค์ประกอบ ดังนี้

1.3.1 บุคลิกลักษณะ

1.3.2 ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะในการแก้ปัญหา และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

1.3.3 การนำเสนอและตอบข้อซักถามกี่ยวกับเค้าโครงผลงานและข้อเสนอแนวความคิด/วิธีการเพื่พัฒนาหรือปรับปรุงงานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพ

1.3.4 การตอบคำถามอื่นๆ

2. องค์ประกอบย่อยที่ 2 ประวัติการรับราชการ จำนวน 50 คะแนน ประเมินจากองค์ประกอบ ดังนี้

2.1 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ จำนวน 30 คะแนน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันเข้าสู่ระดับชำนาญการ (นับรวมการดำรงตำแหน่งระดับ 6/6 ว และ 7 ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535) โดยกำหนดวิธีการคำนวณ ดังนี้

2.1.1 นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 เป็นเดือน (นับถึงวันปิดรับสมัคร) โดยเศษของวันให้ปัดทิ้ง

กรณีข้าราชการผู้ดำรงตำหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา เฉพาะพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ) ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ปิดรับสมัคร ให้นำระยะเวลาการดำรงตำหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมานับระยะเวลาทวีคูณตามความในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัิตงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 1 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2551

2.1.2 นำจำนวนเดือนของผู้สมัครที่ผ่านาการประเมินในขั้นตอนที่ 1 มาคูณค่าคะแนนมาตรฐานที่สอดคล้องกับลักษณะงานและค่างานของแต่ละระดับตำแหน่ง ดังนี้

2.1.2.1 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับ 6 หรือเทียบเท่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 โดยต้องเป็นตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 คูณค่าคะแนนมาตรฐาน คือ 1.0

2.1.2.2 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับ 7 หรือเทียบเท่า ตามพระราชบัญญํติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 โดยต้องเป็นตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 คูณค่าคะแนนมารตรฐาน คือ 1.5

2.1.2.3 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่า ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมา) คูณค่าคะแนนมาตรฐาน คือ 1.0

2.1.2.4 รวมระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งทั้งหมดของแต่ละคน และตรวจสอบจำนวนเดือนของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งมากที่สุด

2.1.2.5 ให้ผู้ที่มีระยะเวลาการดำรงตำหน่งตาม 2.1.2.4 ที่มากที่สุดได้ 30 คะแนนเต็ม ส่วนผู้อื่นจะคิดคะแนนโดยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตร ดังนี้

T = (Y x S) ÷ M

T = คะแนนระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
Y = ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 แต่ละคน
S = คะแนนเต็ม
M = ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ที่มากที่สุด

(คะแนนระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง เท่ากับ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 แต่ละคน คูณด้วยคะแนนเต็ม แล้วนำมาหารด้วย ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สมัครที่ผ่านการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ที่มากที่สุด)

2.2 วุฒิการศึกษา จำนวน 10 คะแนน พิจารณาเฉพาะวุฒิที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของตำแหน่งที่คัดเลือก โดยพิจารณาวุฒิการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงสุด แบ่งเป็น

2.2.1 ปริญญาเอก จำนวน 10 คะแนน

2.2.2 ปริญญาโท จำนวน 8 คะแนน

2.2.3 ปริญญาตรี จำนวน 6 คะแนน

กรณีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกสำเร็จการศึกษาวุฒิเดียวกันซึ่งเป็นวุฒิการศึกษาระดับสูงสุดในหลายสาขาวิชา (ได้รับปริญญามากกว่า 1 ปริญญา) จะไม่นับคะแนนเพิ่มให้เนื่องจากเป็นการสำเร็จการศึกษาในระดับเดียวกัน

สำหรับหากมีกรณีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ซึ่งใช้วุฒิบัตรหลักสูตรโรงเรียนปลัดอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง ซึ่ง ก.พ. เทียบให้เสมือนผู้มีคุณวุฒิปริญญาตรีตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ให้ผู้นั้นได้รับจำนวน 4 คะแนน

2.3 ประวัติการดำเนินการทางวินัย จำนวน 10 คะแนน พิจารณาตั้งแต่เริ่มรับราชการถึงวันปิดรับสมัครดังนี้

2.3.1 ไม่เคยมีโทษทางวินัย จำนวน 10 คะแนน

2.3.2 เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์ จำนวน 8 คะแนน

2.3.3 เคยถูกลงโทษตัดเงินเดือน จำนวน 6 คะแนน

2.3.4 เคยถูกลงโทษลดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน จำนวน 4 คะแนน

2.3.5 เคยถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก จำนวน 0 คะแนน

กรณีที่ข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยหลายครั้ง ให้นำการถูกลงโทษทางวินัยครั้งที่ร้ายแรงที่สุดมาคำนวณคะแนน

ทั้งนี้ การพิจารณาประวัติการกระทำผิดทางวินัยจนถูกลงโทษนี้จไม่ได้รับการยกเว้นแม้ว่าจะได้รับการล้างมลทิน โดยพระราชบัญญัติการล้างมลทินฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539 ซึ่งวินิจฉัยว่า “ตามที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ระบุให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ หมายความเพียงว่า ผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้น หาได้หมายความว่าประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยลบล้างไปด้วยไม่”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมดาวน์โหลดประกาศได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

 

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 |