กรมศุลกากร
ลิงค์: https://ehenx.com/17531/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ,นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 20
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 22 ก.ย. – 18 ต.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
—
กรมศุลกากร เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการสถิติปฏิบัติการ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน ตำแหน่งนายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน และตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ด้วย กรมศุลกากร จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการสถิติปฏิบัติการ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน ตำแหน่ง นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน และตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแช่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศ รับสมัครสอบแช่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 ส.ค. -23 ส.ค. 2567
- กรมวิชาการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 5 ส.ค. -26 ส.ค. 2567
- ท่าอากาศยานไทย เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-9 ส.ค. 2567 รวม 608 อัตรา,
- กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-30 ก.ค. 2567 รวม 19 อัตรา,
นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 7 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใด
นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ดังนี้
๑. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
๒. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
๓. สาขาวิชาสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ทางประชากรศาสตร์
และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป ของ สำนักงาน ก.พ. แล้ว
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชา ดังนี้
๑. สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
๒. สาขาวิชารัฐประคาสนศาสตร์
๓. สาขาวิชารัฐศาสตร์
๔. สาขาวิชานิติศาสตร์
๕. สาขาการเศรษฐศาสตร์
๖. สาขาวิชาการบัญชี
๗. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
๘. สาขาวิชาการจัดการ
และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป ของ สำนักงาน ก.พ. แล้ว
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ดังนี้
๑. สาขาวิชาการบัญชี
๒. สาขาวิชาการตลาด
๓. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
๔. สาขาการเงินการธนาคาร
๕. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ของ สำนักงาน ก.พ. แล้ว
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ดังนี้
๑. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
๒. สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
๓. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชิ้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ดังนี้
๑. สาขาวิชาเครื่องกล
๒. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
๓. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
๔. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
๕. สาขาวิชาช่างกลการเกษตร
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ดังนี้
๑. สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
๒. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
๓. สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
๔. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้าข่ายไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้ การออกใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการฟิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสบุนการใช้ระบบงานที่พัฒนา แก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓)ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก่ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่ง สำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแกไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำ และทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูล ที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แกไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ ของหน่วยงาน
นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการสถิติ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดเตรียมรูปแบบข้อถาม แบบประมวลผล คำนิยาม ศึกษาหามาตรฐาน ทางสถิติ วิเคราะห์โครงการสถิติของหน่วยสถิติอันเป็นงานด้านสถิติขั้นแรก เพื่อให้การวางแผนงานด้านสถิติ ขั้นต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) เตรียมคู่มือการวางแผนสุ่มตัวอย่างและการประมวลผล รวมทั้งวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางสถิติ เพื่อปรับปรุงการวางแผน การสุ่มตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพ
(๓) ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ตามความเป็นจริง
(๔) วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ จัดทำแผนภูมิ/แผนภาพทางสถิติ และนำเสนอ เป็นรายงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีความครบถ้วนสมบูรณ์
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้บริการและเผยแพร่สถิติแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปใช้ ในการวางแผน และการตัดสินใจ
(๒) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ สถิติ ขั้นพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูล และแนวทางการปฏิบัติงานด้านสถิติเบื้องด้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ ในการดำเนินงานของตนเอง
(๓) ให้คำแนะนำ ปรึกษา ในงานด้านวิชาการสถิติแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบ การวางระบบ การจัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบ การดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการ และความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตร และการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผน และเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ และแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและการฟิกอบรม
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่ง และการวางแผนอัตรากำลังของส่วนราชการ
(๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหาร ผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(๖) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ก้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการ ดำเนินการทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้ง ผู้มีความรู้ ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลส้มฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องด้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๒) ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุน ภารกิจของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ
(๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานขั้นด้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และการบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมต่อการใช้งาน
(๒) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสาร เกี่ยวกับพัสดุเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(๓) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับ งานพัสดุเพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(๔) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
(๕) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบ การปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๖) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
๒. ด้านการบริการ
(๑)ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ แก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการหรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ปฏิบัติงานด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ควบคุม ดูแล ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ตรวจสอบการทำงาน แก่ไขปัญหา การใช้งานของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ระบบเครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งระบบ สนับสนุนต่าง ๆ เพื่อให้ระบบงานต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ปรับปรุง ดูแล รักษาความปลอดภัย จัดเก็บสำรอง กู้คืนข้อมูล เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูล และป้องกันการสูญหายของข้อมูล
(๓) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก่ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบครุม และมีประสิทธิภาพ
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(๒) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือ และอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
(๓)สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อม เครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(๒) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อมประดิษฐ์ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรอง ตามที่หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แกไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และระบบสารสนเทศ
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
– ความรู้เรื่องการพัฒนาระบบงานประยุกต์ ซึ่งครอบคลุมการวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis & Feasibility study) วางแผนแก้ไขปัญหา (Algorithm Design) การเขียนโปรแกรม (Program Coding) การทดสอบและการแก้ไขโปรแกรม (Program Testing & Debugging) และการบริหาร จัดการข้อมูล (Database Administration)
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
และที่แก้ไขเพิ่มเดิม – ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
และที่แก้ไขเพิ่มเดิม – ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ – ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ – ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ – จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สถิติ
– ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสำรวจ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล ข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูล เป็นด้น
– การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการแปลผลข้อมูลทางสถิติ
– พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
– จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคล
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่นพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ และกฎ ระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
– จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
– ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
– จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติการในการควบคุม เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บสำรองข้อมูล (Back Up) ในระบบ คอมพิวเตอร์และการกู้คืนข้อมูล (Restore)
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาขัดข้องของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
– จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และเครื่องจักรกล การซ่อมแซมและบำรุงรักษา เครื่องจักรกลและยานพาหนะ
– ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเบื้องด้น
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
– จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้า ระบบควบคุมทางไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าเบื้องด้น
– ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
– ความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดทางไฟฟ้า
– ความรู้เบื้องด้นด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม
– ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษา และซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
– จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. – 18 ต.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร