สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 15 ก.ค. -20 ก.ค. 2565

แชร์เลย

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ลิงค์: https://ehenx.com/17282/ หรือ
ตำแหน่ง: พนักงานบริการ(ด้านสารสนเทศ),พนักงานบริหารทั่วไป(ด้านกฎหมาย),พนักงานบริหาร(ด้านบริหารงานบุคคล),พนักงานบริหารทั่วไป(ด้านวิชาการศึกษา),พนักงานบริหารทั่วไป(ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-18,000
อัตราว่าง: 5
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 15 ก.ค. – 20 ก.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรและจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรและจัดจ้าง เป็นพนักงานราชการทั่วไป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศ คณะกรรมการการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรร พนักงานราชการและแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะกลุ่มงาน และการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

พนักงานบริการ (ด้านสารสนเทศ)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 13800- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านกฎหมาย)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


พนักงานบริหาร (ด้านบริหารงานบุคคล)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิชาการศึกษา)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

พนักงานบริการ (ด้านสารสนเทศ)

ได้รับวุฒิประกาศบียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (บัวส.) หรือคุณวุฒิอื่น ๆ ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันที่ ก.พ. พิจารณาแล้ว ทางคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านกฎหมาย)

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่น ๆ ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันที่ ก.พ.


พนักงานบริหาร (ด้านบริหารงานบุคคล)

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่น ๆ ที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ที่ ก.พ. พิจารณารับรองแล้ว ในทุกสาขาวิชา


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิชาการศึกษา)

ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่นๆ ที่เทียบไดในระดับเดียวกันที่ ก.พ. พิจารณารับรองแล้ว ในทุกสาขาวิชา


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)

ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่น ๆ ที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ที่ ก.พ. พิจารณารับรองแล้ว ในทุกสาขาวิชา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

พนักงานบริการ (ด้านสารสนเทศ)

๑) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้นของหน่วยงาน การบันทึกข้อมูล ลงทะเบียน รับ-ส่งหนังสือ การจัดระบบการใช้งานชุดคำสั่งระบบ ชุดคำสั่งประยุกต์ การบันทึกข้อมูลการติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณตามงบประมาณรายจ่าย เป็นต้น
๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลในระดับเบื้องต้นของหน่วยงาน เช่น การจัดทำฐานข้อมูล การติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณ การบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล การถ่ายโอนข้อมูล การใช้ระบบเครือข่าย ในหน่วยงาน การแก้ไขข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการพัฒนาข้อมูล เป็นต้น
๓) ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับเบื้องต้นของหน่วยงาน เช่น การเรียกข้อมูล รายงานผลจากระบบ GFMIS รวบรวม เผยแพร่ และให้บริการด้านสารสนเทศ รวมทั้งการออกแบบ จัดทำปรับปรุง พัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น
๔) การติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติงาน
๕) ประสานงาน การให้บริการข้อมูลการติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณ และชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านกฎหมาย)

๑) ดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง สอบสวนวินัยข้าราชการ สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ของข้าราชการและลูกจ้าง
๒) ดำเนินการฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเลียหายในกรณีเกิดความเสียหายแกทรัพย์สินของทางราชการ เรียกค่าเสียหาย ตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๓) ดำเนินการในการดำเนินคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมวินัยและระบบคุณธรรม จริยธรรม ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๕) ดำเนินการติดตาม เร่งรัด เรื่องร้องเรียน การสืบสวน และดำเนินการทางวินัย เมื่อปรากฏว่า มีมูลที่ควรกล่าวหาแก,ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และลูกจ้าง หรือดำเนินการทางวินัยตามผลการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด หรือกรณีถูกชี้มูล โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และพระราชบัญญัติมาตรการ ของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑
๖) เป็นผู้ตรวจสอบสำนวนการสืบสวนหาข้อเท็จจริง สำนวนการสอบวินัยข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู และลูกจ้าง และเสนอความเห็นให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัย
๗) เป็นผู้ตรวจสอบสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และเสนอ ความเห็นให้แกผู้บังคับบัญชาพิจารณา และรายงานกระทรวงการคลังตามระเบียบกฎหมาย
๘) ดำเนินการว่าต่าง แก้ต่าง และประสานพนักงานอัยการเกี่ยวกับคดีปกครอง รวมทั้งบังคับคดี ทางการปกครองในการยึด อายัด ทรัพย์ของผู้กระทำผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๙) ดำเนินการตรวจสอบสัญญาการลาศึกษาของข้าราชการไปสกอบรม ณ ต่างประเทศ
๑๐) ดำเนินการเบิกความในชั้นศาลเกี่ยวกับการดำเนินการในชั้นศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลปกครอง และในชั้นอนุญาโตตุลาการ
๑๑) ให้คำปรึกษา เสนอแนะการแก้ปัญหาทางกฎหมายของส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
๑๒) ดำเนินการพิจารณาการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ (เฉพาะเรื่องวินัย/ละเมิด) ของข้าราชการที่ไม,ได้รับ ความเป็นธรรม
๑๓) การปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


พนักงานบริหาร (ด้านบริหารงานบุคคล)

๑) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนงานบุคคลและระบบงาน
๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานมาตรฐานตำแหน่งและอัตรากำลัง
๓) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และพนักงานราชการ
๔) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลื่อนวิทยฐานะและเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
๔) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนเงินเดือน เลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้าง เลื่อนค่าตอบแทน พนักงานราชการ
๖) เสนอความคิดเห็นแก,ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือ หรือวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับ ระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงานเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อเป็นข้อมูล สนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
๗) ติดต่อประสานงาน ให้บริการข้อมูล ตอบข้อหารือ ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่
๘) ปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบุคคล
๙) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิชาการศึกษา)

๑    ) ศึกษา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามและประมวลผลข้อมูลการดำเนินงาน ของหน่วยงานภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๒    ) ศึกษา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประเมินผลข้อมูลความสำเร็จ ปัญหา ข้อจำกัด และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของหน่วยงานภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุง พัฒนาแผนงาน โครงการหรือการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพปัจจุบัน
๓    ) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล
๔    ) ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอก รวมถึงชี้แจงและให้รายละเอียด เกี่ยวกับข้อมูล แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย
๕    ) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)

๑    ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประมวลนโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศระดับเบื้องต้น เพื่อวางแผนประกอบการกำหนดนโยบายและเบ้าหมาย ของงานที่รับผิดชอบตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๒    ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข้อมูล และค้นคว้าทางวิชาการ ตลอดจนพัฒนาระบบข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงาน โครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
๓    ) สนับสนุนการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และจัดลำดับความสำคัญของแผน โครงการ ตลอดจน ประเด็นนโยบายและมาตรการต่าง ๆ
๔    ) สนับสนุนข้าราชการเพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาและการบริหารจัดการ และ การปฏิบัติการของวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม
๕    ) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

พนักงานบริการ (ด้านสารสนเทศ)

– พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
– ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
– ความรู้เกี่ยวกับชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ และชุดคำสั่งสำเร็จรูป
– ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านกฎหมาย)

–    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
–    ประมวลกฎหมายอาญา
–    กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
–    กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
–    ประมวลจริยธรรม
–    พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑
–    พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
–    พระราชบัญญัติจัดตั้งและวิธีพิจารณาปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
–    พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
–    พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
–    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม
–    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม


พนักงานบริหาร (ด้านบริหารงานบุคคล)

– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๔๔๖ และที่แก้ไข เพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๔๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
– หลักการ/แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิชาการศึกษา)

–    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖0 – ๒๕๖๔)
–    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แกิไขเพิ่มเติม
–    ความรู้ด้านการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา การแนะแนว การวัดผล การติดตามและประเมินผลทางการศึกษา
–    ความรู้ด้านการจัดทำแผนงาน โครงการต่าง ๆ เพื่อล่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
–    ความรู้ด้านการจัดประชุมอบรมสัมมนา และการเผยแพร่การศึกษา


พนักงานบริหารทั่วไป (ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน)

–    ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐)
–    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
–    ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และความมั่นคงของชาติ
–    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนงาน/โครงการ การติดตาม และประเมินผล และระบบงบประมาณ

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. – 20 ก.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 15 ก.ค. 2565

สอบวันที่: 15 ก.ค. 2565

ประกาศผลสอบ: 15 ก.ค. 2565

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

แผนที่ | file 1 | file 2