“กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช “
ลิงค์: https://ehenx.com/17257/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน,นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,840-16,500
อัตราว่าง: 54
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 18 ก.ค. – 11 ส.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
—
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน นายช่างเทคนิค ปฏิบัติงาน นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน นายช่างโยธาปฏิบัติงาน และนายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช จะดำเนินการสอบแช่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับ ราชการในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน นายช่างโยธาปฏิบัติงาน และนายช่างสำรวจปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแช่งขันเพื่อบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 7 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 23 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10840-11930 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการก่อสร้าง สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับ ที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล หรือ สาขาวิชาช่างกลการเกษตร และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับ ที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากําลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับ ที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสํารวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับ ที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสํารวจ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคการจัดการงานก่อสร้าง หรือ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสํารวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ในระดับ ปวท. หรือ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า ภายในวันที่ปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2565
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล และร่วมดำเนินการวิจัย ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ พฤกษศาสตร์ป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ งานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สัตว์ป่า วิทยาศาสตร์ อุทยานแห่งชาติ และวิทยาการแขนงอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องมาใช้ในงานวิจัยเชิงประยุกต์ เพื่อสร้างองค์ความรู้
(๒) วิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัยทางนิเวศวิทยาป่าไม้ จำแนก ชื่อพรรณไม้ทั้งจากตัวอย่างที่มีชีวิต และตัวอย่างแห่งในพิพิธภัณฑ์ สอบเทียบเครื่องมือ อุปกรณ์วัด เพื่อนำข้อมูล ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๓) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อประเมินมูลค่าทรัพยากรสิ่งแวดล้อมป่าไม้ และให้บริการทางนิเวศวิทยา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๔) ร่วมปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงาน การบริหารจัดการการทดสอบความชำนาญ จัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบทาง วิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ด้านสัตว์ป่า และด้านอุทยานแห่งชาติ
(๕) ร่วมศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักสูตรฟิกอบรมและถ่ายทอดความรู้และร่วมดำเนินการ จัดฟิกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี
(๖) ศึกษา ค้นคว้า ติดตามความรู้ และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๗) ร่วมดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่น่าเชื่อถือ
(๘) เขียนโครงการวิจัย จัดทำรายงานผลการวิจัยย ตีพิมพ์ในวารสารอันเป็นที่ยอมรับในวงการ
วิชาการ หรือนำเสนอบนเวทีการสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ
(๙) ติดตามองค์ความรู้ด้านวิชาการด้านป่าไม้ สัตว์ป่า หรืออุทยานแห่งชาติ เพื่อนำมาพัฒนา ขีดความสามารถของตนเอง และนำมาใช้พัฒนาระบบการทำงานหรือการให้บริการ หรือถ่ายทอดความรู้
๒. ด้านการวางแผน
(๑) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
(๒) จัดทำคำของบประมาณโครงการวิจัย แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ประสานการทำงานวิจัยหรือการประชุมทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและ ภายนอก เพื่อให้เกิดการบูรณาการวิจัยอย่างรอบด้าน และเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิจัย
(๓) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ ส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
(๒) เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ พัสดุ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการ ที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป ได้แก่ การรับ – ส่งหนังสือ การลง ทะเบียน รับหนังสือ การร่างโต้ตอบหนังสือราชการ การบันทึกข้อมูล การจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินและการพิมพ์ เอกสาร จดหมาย และหนังสือราชการต่าง ๆ การเตรียมการประชุม การจดรายงานการประชุม เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความสะดวกเรียบร้อยตรงตามเป้าหมายมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการด้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน บัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มี คุณภาพไวใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้ เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
(๕) ดำเนินการด้านงานบุคคล ข้อมูลพื้นฐาน ทะเบียนประวัติ
(๖) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เช่น สมุดลงเวลาปฏิบัติราชการ รายชื่อ พนักงาน ข้อมูลจำนวนบุคลากร เอกสารอื่น ๆ ที่เป็นหลักฐานตามระเบียบวิธีการปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการด้นหาสำหรับ ใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบได้
(๗) ตรวจสอบ และสอบทานความถูกต้องชองเอกสาร หนังสือ และจดหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงาน เพื่อให้แน่ใจว่าเอกสารทั้งหมดมีความลูกต้อง ครบถ้วน และปราศจากข้อผิดพลาด
(๘) จัดทำและแจกจ่าย ข้อมูล เอกสาร หลักฐาน หนังสือเวียน หรือระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อ แจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบ หรือดำเนินการต่าง ๆ ต่อไป
(๙) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่ของหน่วยงาน เช่น การจัดเก็บรักษา การเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ การจัดทำทะเบียนพัสดุครุภัณฑ์ การดูแลรักษายานพาหนะ และสถานที่ เพื่อให้การดำเนินงานด้านพัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่เป็นไปอย่างลูกต้อง และมีความพร้อม ใช้งานอยู่เสมอ
(๑๐) การรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงาน เช่น เอกสารตรวจรับรองมาตรฐาน (ธรรมาภิบาล) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน
(๑๑) จัดเตรียมการประชุม บันทึกการประชุม และจัดทำรายงานการประชุม เพื่อให้การประชุม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จัดเตรียม และดำเนินการผลิตเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวช้องกับการประชุม การผึเกอบรม สัมมนา นิทรรศการ และโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เอกสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน และพร้อมใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงต่อเวลา
(๑๒) ปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เช่น จัดเตรียมเอกสาร เพื่อเปิดเผย ตาม พ.ร.บ.ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารรับทราบข้อมูลข่าวสาร
(๑๓) ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับงานสารบรรณ งานธุรการ งานบริหารทั่วไป งานการบริหารงานบุคคล งานพัสดุ ครุภัณฑ์ งานงบประมาณ งานประชาสัมพันธ์ และงานประชุม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาและแนะนำในเบื้องต้นแก่บุคลากร ประชาชน ผู้ที่มาติดต่อ และหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเช้าใจที่ลูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างลูกต้อง
(๒) อำนวยความสะดวก ติดต่อ และประสานงานกับทุกส่วนงานของหน่วยงานในเรื่อง การประชุม และการดำเนินงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดเวลา และบรรลุวัตถุประสงค์
(๓) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๔) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(๔) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปี ของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
(๔) ตรวจสอบและกำกับดูแล การรับเงิน การจ่ายเงิน การนำเงินส่งคลัง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อ การทำงานของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง การเก็บรักษา นำส่งการ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมต่อการใช้งาน
(๒) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(๓) ร่างและตรวจสอบสัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(๔) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงาน
(๕) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพแลรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๖) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
๒) ด้านการบริการ
(๑)ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานสถิติตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ซัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ จัดทำ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลสถิติที่มีความซับช้อนไม,มากนัก เพื่อเป็น ฐานข้อมูล หรือข้อมูลสนับสนุนในการจัดทำเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ
(๒) สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจสถิติ อาทิ ช่วยในการจัดทำร่างตารางรายงานสถิติ ช่วยร่าง แบบสอบถาม เพื่อให้การปฏิบัติงานสำรวจสถิติดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๓) จัดหมวดหมู่ และจัดทำระเบียบข้อมูลสถิติ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้บริการข้อมูลสถิติแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่สนใจ เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้น ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
(๒) ให้คำปรึกษา แนะนำแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างราบรื่น
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเขียนแบบ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบงานสถาปัตยกรรม งานแผนที่ งานวิศวกรรมโครงสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนงานออกแบบของหน่วยงานต่าง ๆ
(๒) ศึกษาข้อมูล่ของวัสดุก่อสร้าง เพื่อนำมาใซ้ในงานเขียนแบบให้เกิดความสมบูรณ์
(๓) ประมาณราคางานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในการเปิดสอบราคา และนำไปสู่ การก่อสร้างตามวัตถุประสงค์
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการและให้ความ ช่วยเหลือในงานที่รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ซัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก่ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(๒) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
(๓) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(๒) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจใน การทำงาน
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิคตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(ด) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
(๒) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชา และมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะ ทั่วไปให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ต้านการปฏิบัติการ
(ด) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการ ใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำระเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผนบำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใชในการออกใบรับรองตามที่หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(ด) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก่ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอก หน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบ การปฏิบัติงาน ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ คังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตาม หลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
(๒) ตรวจสอบ แก่ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(๔) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับ มอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(๕) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและ‘ฝืกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์
(๒) สำรวจรังวัด หมายแนวเขต และจัดทำเครื่องหมายแนวเขตป่าอนุรักษ์
(๓) สำรวจรังวัด จัดทำหมุดหลักฐานแผนที่
(๔) สำรวจรังวัด แปลงถือครองที่ดินของราษฎร ในเขตป่าอนุรักษ์
(๕) สำรวจรังวัด จัดทำระวางแผนที่ มาตรฐาน มาตราส่วน ๑:๔,๐๐0
(๖) สำรวจรังวัดตรวจสอบแปลงที่ดินกับขอบเขตป่าอนุรักษ์
(๗) สำรวจรังวัดรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ลำคลอง ห้วย ถนน เพื่อจัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์
(๘) สำรวจ ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปแก่บุคลากรทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตอบปัญหา เกี่ยวกับงานสำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ และตรวจสอบ แปลงที่ดิน ที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการ ได้รับ ทราบข้อมูลเบื้องต้นที่มีประโยชน์
(๓) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
(๔) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และร่วมมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ หน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
วิชาที่สอบ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ ดังต่อไปนี้
– ความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยา (Biology) และนิเวศวิทยาป่าไม้ (Forest Ecology) พฤกษศาสตร์ (Botany) อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy) ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) วงศ์วานวิวัฒนาการ ในระดับโมเลกุล (Phylogenetic) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
– ความรู้ด้านอณูพันธุศาสตร์ (Molecular Genetics) ชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular Biology) จีโนมิกส์ และขีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
– ความรู้พื้นฐานชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสัตว์ป่า (Wildlife Biology and Ecology) สัตววิทยา อนุกรมวิธานสัตว์ป่า และพันธุศาสตร์สัตว์ป่า (Wildlife Genetics)
– การประเมินมูลค่าเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรป่าไม้ และการจัดการทรัพยากรป่าไม้
– ความรู้ในด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) และการประเมินขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยว (Carrying Capacity)
– ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคการวิเคราะห์วิจัย ในห้องปฏิบัติการด้านป่าไม้ สัตว์ป่า และสารพันธุกรรม
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ดังต่อไปนี้
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๔๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๔๔๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๔๒ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๓๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๔๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๔๔
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสำนักงาน
– ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๔๔๐
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงิน และบัญชี ดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน
การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๖๒
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน
ของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งเจ้าพนักงาน
พัสดุ ดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อชัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการชัดซื้อชัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
– ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แกไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ..๒๕๖๑
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
สอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งเจ้าพนักงานสถิติ ดังต่อไปนี้
– พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ความรู้ด้านสถิติเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล การตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
– ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับงานทางด้านสถิติ
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนายช่างเขียนแบบ ดังต่อไปนี้
– ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านงานโยธา
– ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านเครื่องกล
– ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม
– ทดสอบความรู้เกี่ยวกับประมาณราคา
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนายช่างเครื่องกล ดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้ารถยนต์
– ความรู้เกี่ยวกับระบบส่งกำลังและเครื่องล่างรถยนต์
– ความรู้เกี่ยวกับนิวเมดิกและไฮรดรอลิกส์
– การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะทั่วไป
– ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนายช่างเทคนิค ดังต่อไปนี้
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานช่างพื้นฐาน
– ความรู้เกี่ยวกับการดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ
– ความรู้เกี่ยวกับการซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ
– ความรู้ความเข้าใจงานด้านช่างเทคนิคที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า ดังต่อไปนี้
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้า
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และคำนวณวงจรไฟฟ้า
– ความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดทางไฟฟ้า
– ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
– ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
– ความรู้เบื้องต้นด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์
– ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร
– ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งและสายอากาศ ระบบสื่อสารด้วยระบบเส้นใยนำแสง
– ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
– ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนายช่างโยธา ดังต่อไปนี้
– การเขียนแบบ ประมาณราคาก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้าง การสำรวจ และความรู้ ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับงานด้านโยธา
– การตรวจและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ถนน งานสาธารณูปโภค และการทดสอบวัสดุ ด้านวิศวกรรมโยธา
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ในตำแหน่งนายช่างสำรวจ ดังต่อไปนี้
– การสำรวจรังวัดแนวเขตที่ดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าพิกัดฉาก เพื่อนำมาจัดทำแผนที่
– การสำรวจรังวัด ด้วยเครื่องมือรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ภูมิประเทศ
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหมุดหลักฐานแผนที่
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนที่ภูมิประเทศ เช่น มาตราส่วนแผนที่ การวัดระยะทาง ในแผนที่การคำนวณเนื้อที่
– ความรู้ เกี่ยวกับเครื่องมือ สำรวจรังวัด
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. – 11 ส.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร