“กระทรวงยุติธรรม “
ลิงค์: https://ehenx.com/16704/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการเงินและบัญชี,นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นักทรัพยากรบุคคล,นักวิชาการยุติธรรม,เจ้าพนักงานธุรการ
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-15,000
อัตราว่าง: 6
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร (สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม)
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 19 เม.ย. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กระทรวงยุติธรรม เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว
สังกัดสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน ๕ ตำแหน่ง
ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จะดำเนินการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว เพื่อสนับสมุนการดำเนินงานของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม (ยกเว้นสำนักงานยุติธรรมจังหวัด) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ อาศัยอำนาจตามคำสั่งสำนักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม ที่ ๑๒๗๙/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ และคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวง ยุติธรรม ที่ ๑๔๒๗/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงประกาศรับสมัครสอบคัดเลือก ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
นักวิชาการเงินและบัญชี
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักทรัพยากรบุคคล
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิชาการยุติธรรม
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานธุรการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500- บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการเงินและบัญชี
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชา บริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาคณิตศาสตร์และสถิติ หรือ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางสถิติ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางสถิติประยุกต์
นักทรัพยากรบุคคล
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
นักวิชาการยุติธรรม
ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางสังคม สงเคราะห์ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
เจ้าพนักงานธุรการ
– ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส.) ในทุกสาขาวิชา
– มีความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office (Word และ Excel)
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการเงินและบัญชี
๑. ตรวจสอบและเก็บรักษา เอกสารหลักฐานด้านการเงินและบัญชี บันทึกเงินสดคงเหลือประจำวัน บันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย บันทึกบัญชีแยกประเภท บัญชีเงินสดเงินฝากธนาคารประจำวัน
๒- สรุปบัญชีรายรับ – รายจ่าย ประจำวัน
๓- จัดทำงบแสดงฐานการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน ประจำเดือน ประจำปี
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการใน การทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
๒) รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือ โครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๓) วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผน การปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ทั้งไว้
๔) สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็นปัญหา ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์
๕) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบการ เสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผล ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๑) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ
๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผน เพื่อแก้ปัญหา ในการปฏิบัติงาน
นักทรัพยากรบุคคล
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน ด้านการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การอัดทำ มาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงานเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรบุคคล
๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความจำเป็น ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอด ความรู้การจัดสรรทุนการศึกษาและการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึง การวางแผนและเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ และ แผนการจัดสรรทุนการศึกษาและการผิกอบรม
๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่ง และการวางแผน อัตรากำลังของส่วนราชการ
๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหาร ผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งทั้งผู้มีความรู้ ความสามารถ ให้ดำรงตำแหน่ง
๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพี่อสร้าง ความเข้าใจและสนับสบุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
๒) ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อสนับสนุน ภารกิจของ บุคคลหรือหน่วยงานและใข้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และ มาตรการต่าง ๆ
๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน ประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน
นักวิชาการยุติธรรม
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน ด้านงานยุติธรรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การคุ้มครองพยาน การช่วยเหลือ ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา การจัดการความขัดแย้ง การส่งเสริมเผยแพร่ความรู้สิทธิเสรีภาพ ในกระบวนการยุติธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมให้กับ ประชาชนและสังคม ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
๒) ปฏิบัติงานทางด้านงานวิชาการยุติธรรม การพัฒนากฎหมาย การศึกษาวิจัย การทำความเห็น สรุปรายงานเสนอแนะ การจัดการผิกอบรมและประชุมสัมมนาด้านงานวิชาการยุติธรรม และ การประเมินผลบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร และ ระบบงานยุติธรรมให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพการณ์และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับงานวิชาการยุติธรรม เพื่อใข้ประกอบการดำเนินงาน ทางการบริหารจัดการงานยุติธรรมได้อย่างลูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
๔) ศึกษา วิเคราะห์ในการกำหนดหรือจัดทำแผนงาน งบประมาณ และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ งานยุติธรรม เพื่อให้การบริหารราชการของส่วนราชการเกิดประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อ นโยบายรัฐบาลและความต้องการของประชาชน
๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุน ส่งเสริมและอำนวยความยุติธรรม เพื่อสร้างความเป็นธรรมและ การเข้าถึงความยุติธรรมแก่สังคมและประชาชน
๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๑) ดำเนินการให้บริการ สนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความยุติธรรม เพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
๒) ให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อซักถาม ประสานส่งต่อ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงาน ยุติธรรม และทางกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินการในการอำนวยความยุติธรรม และกระบวนการ ยุติธรรมแก่ประชาชน เป็นไปอย่างรวดเร็ว ลูกต้อง
๓) รวบรวม จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยจัดทำเป็นสถิติ รายงานหรือฐานข้อมูลเกี่ยวกับงาน ยุติธรรม เพื่อใข้สนับสนุนภารกิจของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ในการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์หรือมาตรการต่าง ๆ
๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ สื่อ เอกสารเผยแพรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาระบบงานยุติธรรม
เจ้าพนักงานธุรการ
๑. จัดเตรียมเอกสารและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงาน
๒. ติดต่อประสานงานกับบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียม การประชุม การบันทึกข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
๔. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
และเป็นหลักฐานทางราชการ
๕. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ใน
สภาพพร้อมใช้งาน
๖. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอแนะและ
ปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๗. การติดต่อประสานงานและให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำมาใช้
ประโยชน์ได้ต่อไป
๘. ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
วิชาที่สอบ
นักวิชาการเงินและบัญชี
ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยสอบความรู้เกี่ยวกับการเงินและการบัญชี
ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยพิจารณาจากความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประสบการณ์ทางการศึกษา ทางการงาน รวมทั้งความสามารถ ที่จะทำงานในหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ งานในหน้าที่ บุคลิกภาพ ห่วงทีวาจา วุฒิภาวะ อารมณ์ อุปนิสัย และจิตบริการที่ดี มีความตั้งใจและพยายามที่จะตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ความคล่องแคล1ว ว่องไว ในการตอบปัญหา แก้ปัญหา การปรับตัว และมนุษยสัมพันธ์ ทัศนคติและแรงจูงใจ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
สอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
โดยสอบความรู้ด้านต่างๆ ดังนี้
๑) โครงสร้าง บทบาท ภารกิจของกระทรวงยุติธรรม และ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
๒) แผนยุทธศาสตร์
– ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๘๐) / แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ / แผนปฏิรูปประเทศ / แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
– แผนปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – พ.ศ. ๒๕๖๕)
– แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – พ.ศ. ๒๕๖๕)
๓) กฎหมาย
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม คณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
๔) ความรู้เซิงวิชาการ
– กระบวนการนโยบายสาธารณะ
– การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์
– การวิจัยเบื้องต้น
– เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยพิจารณาจากความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประสบการณ์ทางการศึกษา ทางการงาน รวมทั้งความสามารถ ที่จะทำงานในหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ งานในหน้าที่ บุคลิกภาพ ห่วงทืวาจา วุฒิภาวะ อารมณ์ อุปนิสัย และจิตบริการที่ดี มีความตั้งใจและพยายามที่จะตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ความคล่องแคล1ว ว่องไว ในการตอบปัญหา แก้ปัญหา การปรับตัว และมนุษยสัมพันธ์ ทัศนคติและแรงจูงใจ
นักทรัพยากรบุคคล
ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยสอบความรู้ด้านต่างๆ ดังนี้ ๑) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม ๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม ๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม ๕) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการบริหารบุคลากรภาครัฐ ๖) ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจของกระทรวง ยุติธรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยพิจารณาจากความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประสบการณ์ทางการศึกษา ทางการงาน รวมทั่งความสามารถ ที่จะทำงานในหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ งานในหน้าที่ บุคลิกภาพ ห่วงทีวาจา วุฒิภาวะ อารมณ์ อุปนิสัย และจิตบริการที่ดี มีความตั้งใจและพยายามที่จะตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ความคล่องแคล1ว ว่องไว ในการตอบปัญหา แก้ปัญหา การปรับตัว และมนุษยสัมพันธ์ ทัศนคติและแรงจูงใจ
นักวิชาการยุติธรรม
สอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
โดยสอบความรู้ด้านต่างๆ ดังบื้
๑) โครงสร้าง บทบาท ภารกิจภาพรวมของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และศูนย์ยุติธรรมชุมชน
๒) แผนยุทธศาสตร์
– ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๘๐) / แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ / แผนปฏิรูปประเทศ / แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
– แผนปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – พ.ศ. ๒๕๖๕)
– แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๒ – พ.ศ. ๒๕๖๕)
– แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๒ –
พ.ศ. ๒๕๖๕
๓) กฎหมาย
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่ แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘
– พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒
– กระบวนการยุติธรรมเบื้องต้น
๔) ความรู้เซิงวิชาการ
– ด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์
– ด้านการวิจัย
– ด้านเทคโนโลยีคิจิทัล
ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยพิจารณาจากความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประสบการณ์ทางการศึกษา ทางการงาน รวมทั้งความสามารถ ที่จะทำงานในหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ งานในหน้าที่ บุคลิกภาพ ห่วงทืวาจา วุฒิภาวะ อารมณ์ อุปนิสัย และจิตบริการที่ดี มีความตั้งใจและพยายามที่จะตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชาวน์ ปัญญา ความคล่องแคล่ว ว่องไว ในการตอบปัญหา แก้ปัญหา การ ปรับตัวและมนุษยสัมพันธ์ ทัศนคติและแรงจูงใจ
เจ้าพนักงานธุรการ
ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง
โดยพิจารณาจากความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประสบการณ์ทางการศึกษา ทางการงาน รวมทั่งความสามารถ ที่จะทำงานในหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ งานในหน้าที่ บุคลิกภาพ ห่วงทีวาจา วุฒิภาวะ อารมณ์ อุปนิสัย และจิตบริการที่ดี มีความตั้งใจและพยายามที่จะตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ความคล่องแคล1ว ว่องไว ในการตอบปัญหา แค้ปัญหา การปรับตัว และมนุษยสัมพันธ์ ทัศนคติและแรงจูงใจ
วิธีการสมัครงานลูกจ้าง/พนักงานจ้าง กระทรวงยุติธรรม :สมัครทางไปรษณีย์
ผู้ประสงค์จะสมัครสามารถ download แบบฟอร์มใบสมัคร (รายละเอียด ปรากฏตามเอกสารแนบ ๑ โดยกรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้องและครบถ้วน
๒. ให้ส่งใบสมัครและหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมใบสมัคร (ตามข้อ ๓.๒) ทางไปรษณีย์ โดยจัดส่งเอกสารไต้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ให้ส่งเอกสารการสมัครสอบ ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือบริษัทขนส่งเอกชน ภายในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ โดยถือวันที่ที่ ทำการไปรษณีย์ต้นทางหรือบริษัทขนส่งเอกชน ประทับตรารับจดหมายของผู้สมัคร เอกสารสมัครที่ส่งภายหลัง วันปิดรับสมัครจะไม่ได้รับการพิจารณา (ต้องประทับตราภายในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕) ทั้งนี้ ให้จ่าหน้า ชองตามข้อความในกรอบตัวอย่างด้านล่างนี้
กรุณาส่ง กลุ่มงานสรรหา บรรจุ และแต่งตั้ง (นางสาวปริญญาภรณ์ ปรีดีชม) กองบริหารทรัพยากรบุคคล
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม อาคารกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๙ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร10210 ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 – 19 เมษายน 2565 (ในวันและเวลาราชการ)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0909912763
เมื่อส่งเอกสารแล้ว ขอให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที (นางสาวปริญญาภรณ์ ปรีดีชม โทร. ๐๙ ๐๙๙๑ ๒๗๖๓) หากไม่ไต้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่จะไม่ทราบว่าท่านสมัครสอบและจะไม่ได้ติดตามเอกสารท่านที่อาจจะมาส่งล่าข้า
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กระทรวงยุติธรรม