“กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ “
ลิงค์: https://ehenx.com/16611/ หรือ
ตำแหน่ง: นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ,นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 72
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 18 เม.ย. – 9 พ.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะดำเนินการ สอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตาม ความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล เข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 37 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 14 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 12 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12600 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 9 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12600 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทาง จิตวิทยา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระคับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริงรวมทั้ง ศึกษาชุมชน และประเมินสภาวะทางสังคมเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยและให้บริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายใน ระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
(๒) ให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ บำบัด ฟืนฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
(๓) รวบรวม ประมวล สรุป จัดลำดับความสำคัญและความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งวิเคราะห์ สาเหตุและผลกระทบของปัญหา เพื่อประกอบการวางแผนให้ความช่วยเหลือ พิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพ ชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
(๔) สำรวจ รวบรวม ศึกษา สรุปจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ สถานการณ์และปัญหาด้านสังคม เพื่อประกอบการวิจัย การจัดทำฐานข้อมูล การวางแผน การจัดทำหลักเกณฑ์ มาตรฐานและการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
(๕) รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อประกอบการ จัดทำเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คูมือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน ด้านสังคมสงเคราะห์
(๖) จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประกอบการพัฒนาและ วางแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ต้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำและให้บริการทางวิชาการแก่บุคคล หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับ แนวทางในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาความรู้ เทคนิค ทักษะในการ ดำเนินงานและพัฒนาบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
(๒) ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตำรา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่าง ๆ เกี่ยวกับการสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและ ผู้ที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการทางสังคม และการให้ความช่วยเหลือ แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(๓) ร่วมจัดการ‘ฝิกอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่ายและประชาชนทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้าน สวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยทางวิชาการเบื้องต้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน และการจัดทำระบบ มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับด้านการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์
(๒) รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมเบื้องต้น รวมทั้งติดตามสถานการณ์และ เฝ็าระวังทางสังคม เพื่อประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคม และการวางแผนการป้องกัน แก้ปัญหาและพัฒนางานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนและให้บริการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ เบื้องต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสิทธิและบริการขั้นพื้นฐานตามที่กำหนด
(๔) รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติ และจัดทำเอกสารวิชาการ สื่อเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ในการดำเนิน การเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(๕) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเบื้องต้น เพื่อประกอบการจัดหาระดมทุน และจัดสรรเงินกองทุนในความรับผิดชอบ
(๖) ติดตาม รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงชองมนุษย์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้ง-ภฯยในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตำรา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่ายสังคม และประชาชนทั่วไป เพื่อสนับสนุน การเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการทางสังคมและให้การช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
(๒) ร่วมจัดการฟิกอบรม และถ่ายทอดความรู้แกบุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใข้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ รวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย สถานการณ์ทางสังคมและความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงติดตามและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน สนับสนุนการดำเนินงานด้านการพัฒนา สังคมของหน่วยงานนำเสนอผู้บังคับบัญชา
(๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ ภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือวิธีปฏิบัติที่กำหนด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ การพัฒนาศักยภาพ การ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิแก่กลุ่มเป้าหมาย และผู้สนใจ เพื่อให้เกิดความรู้และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
(๒) ประสานงานกับบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปี ของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการ ปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความ ช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ต่อการทำงานของหน่วยงาน
วิชาที่สอบ
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๒. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๓. พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
๔. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการล้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
๗. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๘. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๙. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๑๐. ยุทธศาสตร์ขาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
๑๑. ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
๑๒. วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่ นโยบายและยุทธศาสตร์ของสำนักงานปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๑๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ขั้นตอน กระบวนการ เทคนิค ทักษะ และเครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์
๑๔. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใซ้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
๓. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๔. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
๖. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๗. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๙. ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
๑๐. ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
๑๑. วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่ นโยบายและยุทธศาสตร์ของสำนักงานปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๑๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม
๑๓. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๒. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๓. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๔. พระราขบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
๖. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ และที,แก่ไขเพิ่มเดิม
๗. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๙. วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่ นโยบายและยุทธศาสตร์ของสำนักงานปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๑๐. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม
๑๑. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๒. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๓. ความรู้เกี่ยวกับบัญชีเบื้องต้น
๔. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๕. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๖. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฟิกอบรม การจัดงาน และการประชุม ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๗. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
๘. พระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๙. พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. – 9 พ.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร