สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 17 มี.ค. -8 เม.ย. 2565 รวม 35 อัตรา,

แชร์เลย

สตง.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ลิงค์: https://ehenx.com/16454/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(บัญชี),นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.ทุกสาขา,ปวช.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 9,400-15,000
อัตราว่าง: 35
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 17 มี.ค. – 8 เม.ย. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

ด้วยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการเป็นช้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ (๔) และข้อ ๒๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไข เพิ่มเติม จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

อัตราว่าง : 30 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 9400- บาท

คุณวุฒิ : ปวช.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

จะต้องสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางบัญชี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี หรือคุณจุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

 จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตร วิชาชีพ หรือคุณจุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑.® ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจเงินแผ่นดินตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับ การตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด มาตรฐานการสอบบัญชี และตามกฎหมาย ว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
(๒) ตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานของรัฐส่งให้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ
(๓) ตรวจสอบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ และแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
(๔) ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตาม กฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม,
(๕) ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินราชการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายเงินราชการ ลับของหน่วยรับตรวจ
(๖) ตรวจสอบเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินอุดหนุนของหน่วยรับตรวจที่ได้รับเงินอุดหนุน หรือกิจการที่ได้รับเงิน หรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗) ดำเนินการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายไต้อื่นของหน่วย รับตรวจให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือแบบแผนการปฏิบัติราชการ
(๘) ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามข้อเสนอแนะของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน
(๙) ปฏิบัติงานด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและการวินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
(๑๐) ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนามาตรฐาน และคู่มือการตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำในด้านวิชาการ มาตรการ มาตรฐาน และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
(๑๑) ศึกษา วิจัย และติดตามความก้าวหน้าทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินและด้าน เทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เผยแพร่ผลงานการวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย
(๑๒) จัดทำแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับ การตรวจเงินแผ่นดินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวบรวมข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะ จากการ ตรวจสอบมาปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบให้ทันสมัย เผยแพรให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนว ปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินกำหนด
(๑๓) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค วิธีการตรวจสอบเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบ หรือองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินให้เป็นรูปธรรม เผยแพรให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการนำแนวปฏิบัติและคู่มือการตรวจสอบ ไปใช้ประโยชน์
(๑๔) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอในการกำหนด หรือปรับปรุงมาตรฐาน มาตรการ คู่มือการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ให้สอดคล้อง กับมาตรฐานสากล
(๑๔) จัดทำนโยบายการประกันคุณภาพและหลักเกณฑ์การสอบทานเพื่อการประกัน คุณภาพ ติดตามผลการควบคุมคุณภาพ รวบรวมและติดตามผลการติดตามด้านคุณภาพการตรวจสอบ ทั้งภายในและภายนอก จัดทำรายงานผลการสอบทานการประกันคุณภาพ พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุง จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เผยแพร่ ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพ งานตรวจสอบ
(๑๖) ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไว้โนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
(๑๗) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒ ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธึ๋ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
๑.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวช้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๑.๔ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวซ้องหรือผู้ที่ สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่น เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การตรวจเงินแผ่นดิน


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความ ต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์และระบบข้อมูล ของหน่วยงานที่ไม,ซับช้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและ ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้ง ระบบเครื่องเพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้นและรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม่เหมาะสมขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู,มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการฝึกอบรมหรือถ,ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที,พัฒนาแก เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓) ให้คำปรึกษา แนะนำแก,ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแกไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพและมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดชื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชีหรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(๔) ช่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครองเพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพหรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการ ปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
(๗) ปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ต้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ,ตามที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธิ,ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับ เบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอนและวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแชมและบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อม ต่อการใช้งาน
(๒) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(๓) ร่างและตรวจสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(๔) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงานและนำเสนอผู้บังคับบัญชาใน หน่วยงาน
(๔) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๖) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก,ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน หน่วยงานราชการ เอกชน หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการหรือขอความช่วยเหลือและความร่วมมือเกี่ยวกับงานพัสดุ และแลกเปลี่ยน ความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานชองหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบ้ติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
๔) มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ
๕) มาตรฐานการสอบบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ประกาศกำหนด ๖) หลักการทั่วไป กระบวนการ และเทคนิค/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบบัญชี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการบริหารจัดการเครือข่าย
๓) ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา โปรแกรม
–    การพัฒนาโปรแกรมให้มีความมั่นคงปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสากล
–    การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application)
– การพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ API (Application Programming Interface) ๔) การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การดูแล การบำรุงรักษา การรักษาความ
ปลอดภัย และการบริหารจัดการข้อมูล (Database Management) การบริหาร จัดการคลังข้อมูล (Data Warehouse) ตามมาตรฐานสากล หรือแนวทางในการ พัฒนาคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากล และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศผ่าน โปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
๕) หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Architecture)
๖) ความรู้เกี่ยวกับ Data Analytics


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.
๒ ๔๔!อ
๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๕) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๖) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑
๒) พระราขบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓) พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.
๒๔๔๒
๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๕) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไข เพิ่มเดิม


ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ทดสอบ ความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินจากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน พฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบจากการสัมภาษณ์ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คุณธรรมจริยธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น ที่จำเป็นสำหรับการ ปฏิบัติงานเฉพาะตำแหน่ง

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. – 8 เม.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

แผนที่ | file 1 | เว็บรับสมัคร