“กรมที่ดิน “
ลิงค์: https://ehenx.com/16269/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ,นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,วิศวกรรังวักปฏิบัติการ,ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 3
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 7 ก.พ. – 28 ก.พ. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมที่ดิน เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมที่ดิน ตำแหน่งนักวิชาการที่ดิน ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรรังวัดปฏิบัติการ ตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน ตำแหน่งนายช่างรังวัดปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ด้วยกรมที่ดินจะดำเนินการสอบแช่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ ตำแหน่ง นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรรังวัดปฏิบัติการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน และ ตำแหน่งเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรือง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรรังวักปฏิบัติการ
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวช.-ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์/สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา หรือทางวิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางภูมิศาสตร์กายภาพ หรือทางภูมิศาสตร์
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์
วิศวกรรังวัดปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมสำรวจ ทางวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือทางวิศวกรรมโยธา
ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนืยบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันใน สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ สาขาวิชาเทคนิคการผลิต หรือสาขาวิชาช่างกลโรงงาน
นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ก่อสร้าง ทางช่างสำรวจ ทางช่างโยธา หรือทางช่างก่อสร้าง
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นทีเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคการจัดการงานก่อสร้าง
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นทีเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
(๒) ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษา ตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการที่ดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
๓.® ด้านการปฏิบัติ
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม และตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ดินและ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อให้ได้ข้อมูลที,ถูกต้อง ครบถ้วน และทันสมัย สามารถสนับสนุนการปฏิบัติ ภารกิจของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา วินิจฉัย ให้คำปรึกษา ตอบข้อร้องเรียนและดำเนินการที่ เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การกำหนดสิทธิในที่ดิน การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เช่น การสอบสวนสิทธิ การประเมินราคา การเรียกเก็บค่าใช้จ่าย การรับคำขอเบ็ดเตล็ดต่างๆ เป็นต้น การรังวัดเอกขน การจัดสรรที่ดินและอาคารชุด ตลอดจนการเพิกถอน หรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และวิธีการที่กำหนด
(๓) ศึกษา พิจารณา วินิจฉัย ให้คำปรึกษาและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการและคุ้มครอง ที่ดินของรัฐเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย การใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่า และการสงวนที่ดินไวิให้อนุชนรุ่นหลัง
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล ในการพัฒนาการจัดการและคุ้มครองที่ดินของรัฐ การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การกำหนดสิทธิในที่ดิน การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การรังวัดเอกชน การจัดสรรที่ดินและอาคารชุด รวมทั้งวางแนวทางปฏิบัติให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานทีรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิชาการที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน และ กฎหมายอื่นๆ ที,เกี่ยวข้องแก,หน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรืองที่ดินอย่าง ถูกต้อง
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานเกี่ยวกับงานวิชาการด้านแผนที่ภาพถ่าย ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติ
(๑) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม และข้อมูลเชิง พื้นที่อื่น ๆ เพื่อจัดหา หรือเพื่อเตรียมการคัดเลือกบริเวณที่จะทำแผนที่ และหรือระบบภูมิสารสนเทศ
(๒) สำรวจและวางโครงข่ายสามเหลี่ยมทางอากาศ กำหนดจุดบังคับภาพ รังวัด และคำนวณ ปรับแก้ค่าพิกัด และบันทึกข้อมูลผลการรังวัดเพื่อใช้ในการจัดทำแผนที่ต่าง ๆ
(๓) จัดสร้างระวางขยายภาพถ่ายและระวางแผนที่ภาพถ่าย เพื่อใช้ในการออกเอกสารสิทธิ้ พิสูจน์สิทธิในที่ดิน และให้บริการแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(๔) อ่าน แปล และตีความภาพถ่ายทางอากาศ และวิเคราะห์ภาพดาวเทียมเพื่อดูร่องรอย การใช้ประโยชน์ที่ดิน
(๕) นำเข้า ตรวจสอบ แก้ไข รักษาและค้นคืนข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล ภูมิสารสนเทศ
(๖) ประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้!,ช้งาน
(๗) ดูแล จัดเก็บ บริการ แผนที่ ภาพถ่าย และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อให้บริการ แก่หน่วยงานราชการ เอกขน และประขาขนทั่วไปนำไปใช้ประโยชน์
(๘) สรุปรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ๔ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) ตรวจสอบและเตรียมระวางแผนที่ และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อทำการส่งให้ หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก และให้บริการประชาชน
(๒) ชี้แจงและตอบปัญหา เกี่ยวกับข้อมูลด้านแผนที่และหรือภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(๓) ให้บริการแผนที่ และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ แก่หน่วยราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับแนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลทีได้ถูกต้องแม่นยำ และทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้องตรงตาม ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ข่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบ ข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการ ใช้ของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ศึกษา วิเคราะห์ สรุปรายงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเสนอแนะการกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์ วีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ระบบงานประยุกต์ และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๓.๒.ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓.ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔.ด้านการบริการ
(๑)ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้งานโปรแกรมประยุกต์ หรือระบบสารสนเทศ เมื่อมี ปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งาน เพื่อให้ผู้งานสามารถแก่ไขและใช้งานระบบสารสนเทศที่ได้รับมอบหมาย
(๒) ดูแล บำรุงรักษา แก่ไขปัญหาข้อขัดข้องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ สนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
(๓) ดำเนินการผึเกอบรม ถ่ายทอดความรู้ จัดสื่อความรู้ คู่มือต่าง ๆ สนับสนุนการใช้ ระบบงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสร้างความรู้ ความเช้าใจในวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง กับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิศวกรรังวักปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมรังวัด ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติ
(๑) รังวัด สำรวจภูมิประเทศ และทำแผนที่ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เข่น การวางโครงหมุด หลักฐานแผนที่ การรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยระบบดาวเทียม การคำนวณปรับแกโครงข่ายหมุดดาวเทียม การคำนวณปรับแก้เส้นโครงงานหมุดหลักแผนที่ เป็นต้น เพื่อให้งานรังวัดดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตาม เป้าหมายกำหนด
(๒) จัดทำข้อมูลด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของ หน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบเครื่องมือที่ใฃ้ในการปฏิบัติงานรังวัดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานงาน วิศวกรรมรังวัด
(๔) รวบรวมข้อมูลการสำรวจที่ดินและรังวัด เพื่อประกอบการวางแผนปฏิบัติงาน
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ๔ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานวิศวกรรม สำรวจเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูล สถิติ ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับ งานวิศวกรรมสำรวจ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิค ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติ
(๑) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ ในความรับผิดชอบ ตรวจสอบปรับแก้และซ่อมเครื่องมือสำรวจรังวัด อิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์และซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ใซ้ในสำนักงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ พร้อมในการใช้งาน
(๒) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง ซ่อมแซมเครื่องมือ และผลิตวัสดุอุปกรณ์ช่างสำรวจรังวัดพร้อมอุปกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาและมาตรฐานงานช่าง และให้เกิด ความปลอดภัย
๓.๒ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้าน และทักษะทั่วไปให้แกบุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างรังวัด ตามแนวทาง แบบอย่าง ชั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติ
(๑) ดำเนินการสำรวจ รังวัด เพื่อทำแผนที่ ในการออกเอกสารสิทธ การสอบเขต การแบ่งโฉนด การรวมโฉนด การพิสูจน์สวบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ประทานบัตร และการรังวัดทำแผนที่ประเภทอื่น ๆ
(๒) รังวัดเพื่อสร้างหมุดบังคับภาพทางราบ เช่น การวางโครงหมุดหลักฐานแผนที่ (TRAVERSE) การรังหวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยระบบดาวเทียม (SATELLITE POSITIONNING) จัดสร้างหรือ ปรับปรุงระวางแผนที่ ตรวจสอบและรับรองผลการรังวัด จัดทำบัญชีควบคุมการสร้างและการใช้ระวางแผนที่ เพื่อนำไปใช้ในการออกเอกสารสิทธี้
(๓) รวบรวมระเบียบและวิธีการรังวัดทำแผนที่ ในการออกแบบหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน ประทานบัตร เพื่อให้เกิดความถูกต้องเหมาะสมกับทุกฝ่าย
(๔) สอบสวน ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเกี่ยวกับการรังวัดทำแผนที่ของประชาชน หรือ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในระดับเบื้องต้น เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐปละประชาชน
(๕) จัดเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์การรังวัด และควบคุมการเบิกจ่ายหลักฐาน การวัดต่าง ๆ เพื่อใช้ในการรังวัดทำแผนที่ให้มีประสิทธิภาพ
(๖) ตรวจสอบแผนผังการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ในการจัดสรรที่ดิน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อที่ดินให้ได้รับความเป็นธรรม
(๗) ดำเนินการทดสอบความรู้ ตรวจสอบเครื่องมือรังวัด การปฏิบัติงานของช่างรังวัดเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด
๓.๒ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเกี่ยวกับงานรังวัดทำแผนที่ จัดสร้างระวางแผนที่ แนวเขต ที่ดินของรัฐที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับ ทราบข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกขน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และร่วมมือในงานรังวัด และแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นทีเกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะที่ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติ
(๑) ควบคุม ดูแล ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ตรวจสอบการทำงาน แกไขปัญหาการใช้ งานของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ระบบเครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งระบบสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อให้ระบบงานต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ปรับปรุง ดูแล รักษาความปลอดภัย จัดเก็บ สำรอง กู้คืนข้อมูล เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูล และป้องกันการสูญหายของข้อมูล
(๓) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
๓.๒ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แกไข่ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและ ภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
วิชาที่สอบ
นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบข้อเขียน
(๑) พระราชบัญญัติใหใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และประมวลกฎหมายที่ดิน
กฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
(๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๓) ประมวลกฎหมายอาญา
(๔) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
(๕) พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
(๖) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบข้อเขียน
(๑) การคำนวณงานรังวัดและทำแผนที่ (SURVEYING COMPUTATION)
(๒) การทำแผนที่จากภาพเดี่ยว (RESTITUTION OF A SINGLE PHOTOGRAPH) และการทำ แผนที่จากภาพถ่ายคู่ (ORTHO PHOTO RECTIFICATION)
(๓) ระบบพิกัดแผนที่ (COORDINATES SYSTEM) และมาตราส่วนแผนที่ (MAP SCALE)
(๔) การอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ (PHOTO INTERPRETATION)
(๕) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GEOGRAPHIC INFORMATION
SYSTEM : GIS)
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใข้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบข้อเขียน
(๑) ความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
– ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบ สารสนเทศ
– ความรู้เรื่องการพัฒนาระบบงานประยุกต์ ซึ่งครอบคลุมการวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis & Feasibility study) วางแผน แก้ปัญหา (Algorithm Design) การเขียนโปรแกรม (Program Coding) การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing & Debugging) และการบริหารจัดการ ฐานข้อมูล (Database Administration)
– ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และอุปกรณ์
– ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศ
(๒) วิชาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย/ระเบียบ และความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
– พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ที่แก้ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้1ขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
– พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒
– พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐
– พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
วิศวกรรังวักปฏิบัติการ
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบข้อเขียน
(๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสำรวจ (SURVEYING)
(๒) GEODESY เบื้องต้น ระบบพื้นหลักฐานแผนที่และพิกัดแผนที่ กรอบพิกัดอ้างอิงสากล
(๓) การฉายแผนที่ และระบบพิกัดฉาก UTM
(๔) การคำนวณปรับแกโครงข่าย และวงรอบ (TRIANGULATION, TRILATERATION, TRAVERSE)
(๕) การรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่และการรังวัดทำแผนที่ด้วยระบบดาวเทียม
(๖) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือรังวัดทำแผนที่ : เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม, กล้องสำรวจแบบต่าง ๆ
(๗) การทำแผนที่ด้วยรูปถ่ายทางอากาศ : การนำไปใช้ประโยชน์, การคำนวณและการอ่าน แปลภาพถ่ายทางอากาศ
(๘) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
(๙) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน และพระราชบัญญัติ ช่างรังวัดเอกชน พ.ศ. ๒๕๓๕
ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบช้อเขียน
(๑) งานอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบ ปรับแก้ และซ่อมเครื่องมือสำรวจรังวัดอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมอุปกรณ์ และซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ใช้ในสำนักงาน
(๒) งานซ่อมแซมเครื่องมือสำรวจและผลิตวัสดุอุปกรณ์ช่าง ผลิตวัสดุอุปกรณ์ในการสำรวจ รังวัดและทำแผนที่ ผลิตอะไหล่ เครื่องมือสำรวจรังวัดพร้อมอุปกรณ์
นายช่างรังวัดปฏิบัติงาน
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบข้อเขียน
(๑) หลักการสำรวจเบื้องต้น : มาตราส่วน, ภาคของทิศ, หน่วยของมุม ระยะ และเนื้อที่
(๒) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระวางแผนที่ และระบบพิกัดฉาก UTM
(๓) งานวงรอบ การวัดมุมและปรับแก้มุม การวัดระยะและปรับแก้ระยะ ชั้นหรือเกณฑ์ ของงานวงรอบ การทำแผนที่รายละเอียด
(๔) การคำนวณและเขียนแผนที่ การคำนวณเนื้อที่โดยค่าพิกัดฉาก หลักการเซียนแผนที่จาก ข้อมูลสำรวจ
(๕) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่ และการรังวัดทำแผนที่ด้วย ระบบดาวเทียม การทำแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
(๖) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎกระทรวงที่ เกี่ยวข้องกับการรังวัด
(๗) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องมือรังวัดทำแผนที่ : เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม, กล้อง สำรวจแบบต่าง ๆ
(๘) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียม
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีการสอบข้อเขียน
(๑) ความสามารถในการใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติการในการควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
(๒) ความรู้ความสามารถในการบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
(๓) ความรู้ความสามารถในด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล
(๔) ความสามารถในการจัดเก็บสำรองข้อมูล (Back up) ในระบบคอมพิวเตอร์ และการกู้คืน ข้อมูล (Restore)
(๕) ความรู้ด้านระบบคอมพิวเตอร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๖) ความรู้ด้านกฎหมายดิจิทัล
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมที่ดิน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. – 28 ก.พ. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมที่ดิน
แผนที่ | file 1 | เว็บรับสมัคร