“สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ “
ลิงค์: https://ehenx.com/15928/ หรือ
ตำแหน่ง: นักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 5
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 6 ม.ค. – 12 ม.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ด้วยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะดำเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๑/ว ๑๖ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง บุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
นักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 5 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-19250 บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
- เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ที่ ก.พ. รับรอง ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางฟิสิกส์ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางรังสีเทคนิค ทางชีวเวชศาสตร์ ทางพันธุศาสตร์ ทางพฤกษศาสตร์ ทางนิวเคลียร์เทคโนโลยี ทางวัสดุศาสตร์
- เป็นผู้ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ที่ ก.พ. รับรอง ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี หรือทางเคมีวิเคราะห์ ทางฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางนิติวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางโลหิตวิทยา ทางจุลชีววิทยา ทางพิษวิทยา ทางรังสีเทคนิค ทางชีวเวชศาสตร์ ทางพันธุศาสตร์ ทางพฤกษศาสตร์ ทางนิวเคลียร์เทคโนโลยี ทางวัสดุศาสตร์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ปริญญาตรี
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิขาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานนิติวิทยาศาสตร์ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติงาน
(๑) ให้คำปรึกษา จัดทำวิจัย พัฒนา ตรวจประเมิน รวมทั้งการปฏิบัติงานด้านมาตรฐาน นิติวิทยาศาสตร์
(๒) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์จัดทำ พัฒนา ตรวจพิสูจน์ ประเมินผลในระดับ เบื้องต้นด้านนิติวิทยาศาสตร์ ทางพิษวิทยา ทางเคมี ทางอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ทางชีววิทยา ทางเอกสาร ทางลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทางนิติพยาธิวิทยา ทางนิติเวชคลินิก โดยใซัองค์ความรู้ด้านเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายวิภาคศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลหรือข้อมูลอย่างมีหลักการ เป็นไปตามแนวทางหรือ เป้าหมายของวัตถุประสงค์ และสามารถนำไปสนับสนุนกระบวนการยุติธรรม นำไปศึกษาปรับปรุงกระบวนการ ทำงาน นำไปพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานแก,ผู้อื่น รวมทั้งใชัเป็นข้อมูล ของหน่วยงานต่างๆ ได้
(๓) ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำ บรรยาย ตอบข้อหารือ ชี้แจง ปัญหาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในเบื้องต้นแกประชาชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ รู้ถึงขั้นตอนและกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
(๔) ตรวจ บันทึก ถ่ายภาพ รวบรวม เก็บรักษา เกี่ยวกับศพ วัตถุพยาน หลักฐานอื่นๆ ในเบื้องต้น เพื่อป้องกันการปนเข้อน การเสื่อมสลาย การเสื่อมสภาพ หรือเพื่อเป็นหลักฐาน และสามารถนำไปใช้ เป็นหลักฐาน นำไปวิเคราะห์ แปรผล ศึกษาวิจัย ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ
(๕) บำรุงรักษา ค้นคว้า บันทึกจัดทำข้อมูล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อรักษาสภาพ ความคงทนในการใซ้งาน หรือเพื่อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้การตรวจ พิสูจน์ แปรผล วิเคราะห์ทางเครื่องมือวิทยาศาสตร์มีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ
(๖) นำเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ให้เกิด ความก้าวหน้า ความหลากหลายในการตรวจพิสูจน์ทำให้ผลการตรวจพิสูจน์มีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำยิ่งขึ้น
(๗) ดำเนินการและพัฒนาทางด้านอาซีวอนามัยและความปลอดภัยในเบื้องต้น ในการปฏิบัติงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานหลีกเลี่ยงหรือรู้เท่าทันในภาวการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
(๘) เบีนพยานศาลในฐานะผู้ทำความเห็นในรายงานการตรวจพิสูจน์ เพื่อประโยชน์ ต่อกระบวนการยุติธรรม
(๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
(๓) ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลฃัอเท็จจริงแก,บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(๔) ด้านการบริการ
(๑) ตรวจ พิสูจน์ วิเคราะห์ บันทึก ถ่ายภาพ ประเมินผล วัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ ในฐานะนักนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางคดีหรือนำผลไปประเมินร่วมกับผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย แปรผล ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ทำให้ผลมีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำยิ่งขึ้น
(๒) ให้บริการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์อย่างมีมาตรฐาน ตามอำนาจหน้าที่ หรือตามที่หน่วยงาน องค์กร ประชาชนร้องขอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจพิสูจน์ ทางนิติวิทยาศาสตร์ ในกระบวนการยุติธรรม
(๓) รับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการกระทำผิดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน หรือจรรยาบรรณ ของผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อควบคุม ดูแลให้งานนิติวิทยาศาสตร์เป็นไปตามระบบ และหลักวิชาการ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้อยู่เสมอ
(๔) รับเรื่องราวการร้องทุกข์เกี่ยวกับงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์แก,ประชาชน กลุ่มบุคคล องค์กร เพื่อควบคุม ดูแลให้งานนิติวิทยาศาสตร์เป็นไปตามระบบ และหลักวิชาการ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้อยู่เสมอ
(๕) ช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ ต่อกระบวนการยุติธรรม
ปริญญาโท
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานนิติวิทยาศาสตร์ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
(๑) ด้านการปฏิบัติงาน
(๑) ให้คำปรึกษา จัดทำ วิจัย พัฒนา ตรวจประเมิน รวมทั้งการปฏิบัติงานด้านมาตรฐาน นิติวิทยาศาสตร์
(๒) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์จัดทำ พัฒนา ตรวจพิสูจน์ ประเมินผลในระดับ เบื้องต้นด้านนิติวิทยาศาสตร์ ทางพิษวิทยา ทางเคมี ทางอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ทางชีววิทยา ทางเอกสาร ทางลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทางนิติพยาธิวิทยา ทางนิติเวชคลิน็ก โดยใช้องค์ความรู้ด้านเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายวิภาคศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลหรือข้อมูลอย่างมีหลักการ เป็นไปตามแนวทางหรือ เป้าหมายของวัตถุประสงค์ และสามารถนำไปสนับสนุนกระบวนการยุติธรรม นำไปศึกษาปรับปรุงกระบวนการ ทำงาน นำไปพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานแก,ผู้อื่น รวมทั้งใช้เป็นข้อมูล ของหน่วยงานต่างๆ ได้
(๓) ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำ บรรยาย ตอบข้อหารือ ชี้แจง ปัญหาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในเบื้องต้นแก,ประชาชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน ใท้มีความรู้ ความเข้าใจ รู้ถึงขั้นตอนและกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
(๔) ตรวจ บันทึก ถ่ายภาพ รวบรวม เก็บรักษา เกี่ยวกับศพ วัตถุพยาน หลักฐานอื่นๆ ในเบื้องต้น เพื่อป้องกันการปนเปือน การเสื่อมสลาย การเสื่อมสภาพ หรือเพื่อเป็นหลักฐาน และสามารถนำไปใช้ เป็นหลักฐาน นำไปวิเคราะห์ แปรผล ศึกษาวิจัย ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ
(๕) บำรุงรักษา ด้นคว้า บันทึกจัดทำข้อมูล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อรักษาสภาพ ความคงทนในการใช้งาน หรือเพื่อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้การตรวจ พิสูจน์ แปรผล วิเคราะห์ทางเครื่องมือวิทยาศาสตร์มีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ
(๖) นำเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ให้เกิด ความก้าวหน้า ความหลากหลายในการตรวจพิสูจน์ทำให้ผลการตรวจพิสูจน์มีความถูกต้อง ครบก้วน แม่นยำยิ่งขึ้น
(๗) ดำเนินการและพัฒนาทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในเบื้องต้น ในการปฏิบัติงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานหลีกเลี่ยงหรือรู้เท่าทันในภาวการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
(๘) เป็นพยานศาลในฐานะผู้ทำความเห็นในรายงานการตรวจพิสูจน์ เพื่อประโยชน์ ต่อกระบวนการยุติธรรม
(๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
(๓) ด้านการประสานงาน
(ด) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลข้อเท็จจริงแก,บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(๔) ต้านการบริการ
(ด) ตรวจ พิสูจน์ วิเคราะห์ บันทึก ถ่ายภาพ ประเมินผล วัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ ในฐานะนักนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางคดีหรือนำผลไปประเมินร่วมกับผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย แปรผล ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ทำให้ผลมีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำยิ่งขึ้น
(๒) ให้บริการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์อย่างมีมาตรฐาน ตามอำนาจหน้าที่ หรือตามที่หน่วยงาน องค์กร ประชาชนร้องขอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจพิสูจน์ ทางนิติวิทยาศาสตร์ ในกระบวนการยุติธรรม
(๓) รับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการกระทำผิดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน หรือจรรยาบรรณ ของผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อควบคุม ดูแลให้งานนิติวิทยาศาสตร์เป็นไปตามระบบ และหลักวิชาการ มีความโปร่งใสตรวจสอบได้อยู่เสมอ
(๔) รับเรื่องราวการร้องทุกข์เกี่ยวกับงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์แก,ประชาชน กลุ่มบุคคล องค์กร เพื่อควบคุม ดูแลให้งานนิติวิทยาศาสตร์เป็นไปตามระบบ และหลักวิชาการ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้อยู่เสมอ
(๕) ช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ ต่อกระบวนการยุติธรรม
วิชาที่สอบ
นักนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ปริญญาตรี
การวัดความรู้ความสามารถที่ใซ้เฉพาะตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบข้อเขียน คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ดังนี้
๑.๑ ความรู้ความสามารถทั่วไป
(๑) ความรู้ความเข้าใจด้านภาษาอังกฤษ (การอ่านจับใจความ)
(๒) กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๑
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แกไขเพิ่มเติม
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
(๕) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๑.๒ ความรู้เฉพาะตำแหน่ง
(๑) ความรู้พื้นฐานและหลักการด้านนิติวิทยาศาสตร์
(๒) พระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ และระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. ๒๕๖๔
(๓) หลักการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลทางนิติวิทยาศาสตร์
(๔) หลักการตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้นทางนิติวิทยาศาสตร์
(๕) หลักการใช้เครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์
การวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
(๑) ประเมินบุคลิกภาพและสัมภาษณ์ทางจิตวิทยาคลินิก (ไม่มีคะแนน) ผลประเมินจะ ใช้เพื่อประกอบการพิจารณาการสอบสัมภาษณ์
(๒) เขียนบทความไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A๔ (ไม่มีคะแนน) ผลการประเมินจะใช้เพื่อ พิจารณาประกอบการสอบสัมภาษณ์ ตามหัวข้อ ดังนี้
“ในฐานะที่ท่านเป็นข้าราชการสังกัดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ท่านจะพัฒนา งานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในอีก ๕- ๑๐ ปี ข้างหน้าอย่างไร”
(๓) การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ความสามารถที่จำเป็นของตำแหน่ง สมรรถนะหลักของข้าราชการพลเรือนสามัญ สมรรถนะที่จำเป็น เกี่ยวช้องตามลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง โดยพิจารณาร่วมกับ ข้อมูลประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และจากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบสัมภาษณ์
ทั้งนี้ ผู้ที่จะถือว่ามีสิทธิเข้ารับการสอบโดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ต้องได้คะแนน ในการสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนไม่ตํ่ากว่าร้อยละ ๖๐
ปริญญาโท
การวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
โดยวิธีการสอบข้อเขียน คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ดังนี้
๑.๑ ความรู้ความสามารถทั่วไป
(๑) ความรู้ความเข้าใจด้านภาษาอังกฤษ (การอ่านจับใจความ)
(๒) กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๑
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ:ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
(๕) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๑.๒ ความรู้เฉพาะตำแหน่ง
(๑) ความรู้พื้นฐานและหลักการด้านนิติวิทยาศาสตร์
(๒) พระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ และระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายและพิสูจน์ศพนิรนาม พ.ศ. ๒๕๖๔
(๓) หลักการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลทางนิติวิทยาศาสตร์
(๔) หลักการตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้นทางนิติวิทยาศาสตร์
(๕) หลักการใช้เครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์
การวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
(๑) ประเมินบุคลิกภาพและสัมภาษณ์ทางจิตวิทยาคลินิก (ไม่มีคะแนน) ผลประเมินจะ ใช้เพื่อประกอบการพิจารณาการสอบสัมภาษณ์
(๒) เขียนบทความไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A๔ (ไม่มีคะแนน) ผลการประเมินจะใช้เพื่อ พิจารณาประกอบการสอบสัมภาษณ์ ตามหัวข้อ ดังนี้
“ในฐานะที่ท่านเป็นข้าราชการสังกัดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ท่านจะพัฒนา งานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในอีก ๕- ๑๐ ปี ข้างหน้าอย่างไร”
(๓) การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ความสามารถที่จำเป็นของตำแหน่ง สมรรถนะหลักของข้าราชการพลเรือนสามัญ สมรรถนะที่จำเป็น เกี่ยวข้องตามลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง โดยพิจารณาร่วมกับ ข้อมูลประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และจากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบสัมภาษณ์
ทั้งนี้ ผู้ที่จะถือว่ามีสิทธิเข้ารับการสอบโดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ต้องได้คะแนน ในการสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนไม่ตํ่ากว่าร้อยละ ๖๐
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. – 12 ม.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |