“สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) “
ลิงค์: https://ehenx.com/15747/ หรือ
ตำแหน่ง: เภสัชกร,นักวิชาการอาหารและยา
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 50,000-
อัตราว่าง: 2
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 1 ธ.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราขการทั่วไป
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็น พนักงานราชการ ประเภททั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของ พนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะกลุ่มของงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เภสัชกร
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 50000- บาท
- กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-20 พ.ย. 2567 รวม 75 อัตรา,
- กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบ บัดนี้-22 พ.ย. 2567 รวม 33 อัตรา,
- กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-25 พ.ย. 2567
- กรมการศาสนา เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-25 พ.ย. 2567 รวม 10 อัตรา,
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท
นักวิชาการอาหารและยา
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 50000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
เภสัชกร
๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาฃีพ เภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรมและมีประสบการณ์ไนงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม1น้อยกว่า ๑๕ ปี สำหรับวุฒิ ปริญญาตรี
๒. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิขาชีพ เภสัชกรรม จากสภาเภสัขกรรมและมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี สำหรับวุฒิ ปริญญาโท
๓. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับในอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม และมีประสบการณ์ไนงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี สำหรับวุฒิปริญญาเอก
๔. ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าไข้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า ๑๕ปี และมีผลงาน เป็นที่ยอมรับในวงการนั้น
นักวิชาการอาหารและยา
๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร และมีประสบการณ์ไนงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี
๒. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไต้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิขาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม,น้อยกว่า ๑๒ ปี สำหรับวุฒิปริญญาโท
๓. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิขาเภสัขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร และมี ประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี สำหรับวุฒิปริญญาเอก
๔. ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า ๑๕ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เภสัชกร
ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อสถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ หรือสถานการณ์ ฉุกเฉินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยา วัคซีน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการทำงาน มาพัฒนากระบวนการให้ปรึกษาและกำกับดูแลสถานที่ผลิต ให้มีมาตรฐานการผลิตตาม หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี การให้คำปรึกษาระหว่างการวิจัย การขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว ให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ด้านปฏิบัติการ
๑. ศึกษา พัฒนาและปรับปรุง การจัดทำระบบในการให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อรองรับ การพัฒนา สถานที่ผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพจะนำมาใช้ในสถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ตลอดจน พัฒนาระบบให้คำปรึกษารองรับกระบวนการอนุญาตระหว่างการวิจัย และการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้ตามแผนการจัดการความเสี่ยง (Risk Management Plan)
๒. ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยต่อประขาชนในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้เป็นไปตามรูปแบบการดำเนินการเพื่อให้ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในกองผลิตภัณฑ์และทีมงานวิจัยสามารถทำงานร่วมกันให้เกิดการพัฒนาแนวทาง รองรับด้านสถานที่ ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเริ่มวิจัย ระหว่างการวิจัย ไปจนถึงการผลิต
๓. ประเมินคำขออนุญาตสถานที่ การรับรองมาตรฐานการผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้ คำแนะนำทางวิชาการที่มีความซับช้อนและใช้เทคนิคขั้นสูง แก่เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และผู้ประกอบการ ในการ พัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางประเมินสถานที่และผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานการณ์โรคระบาดของ ไวรัสโควิด-๑๙ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ
๔. การให้คำแนะนำด้านวิชาการและทางเทคนิคตั้งแต่กระบวนการเริมต้นในการจัดตั้งสถานที่ กระบวนการผลิต การวิจัย ระหว่างการวิจัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยอ้างอิงตามหลักการที่เป็นแนวทางสากลที่ เหมาะสม เช่น ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกและประเทศที่มีระบบการกำกับดูแลยาที่เข้มงวด (Stringent authorities)
๕. พัฒนาระเบียบ ข้อกำหนด หรือกฎหมายใหม่ วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนหรือให้ คำปรึกษาแนะนำในการวางแผนโดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องด้านการกำกับดูแล ด้านสถานที่ ด้านผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามแผนงานในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกระทรวง ติดตาม ประเมินผลภาพรวม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือสัมฤทธี้ที่กำหนด
๖.ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก,หน่วยงานระดับกระทรวง กรม รวมทั้งการประชุมทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
๗. อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
ด้านการวางแผน
๑. แนะนำการวางแผนวิจัยพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา จนสามารถทำให้เกิดการพัฒนาระบบการพิจารณามาตรฐานสถานที่ผลิต นำเข้า ขาย การขอ อนุญาตผลิตภัณฑ์ ในสภาวะการณ์ฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์โรคระบาดและอุบัติใหม่ เข่น COVID-®๙ ต่อการอนุญาตสถานที่ และ ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทย ตั้งแต่ด้นนํ้าเพื่อการพึ่งพาตนเองในการแล้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
๒. พัฒนาแนวทางกำกับดูแลการผลิต นำเข้า ขาย และการขออนุญาตผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในสภาวะ ที่มีโรคระบาดใหญ่ในกรณีฉุกเฉิน
๓. เตรียมท่าทีประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ในการเจรจาในเวที ความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านการประสานงาน
๑. เตรียมการรับการตรวจรับรองมาตรฐานการควบคุมจากองค์กรระหว่างประเทศ เข่น PIC/S หรือ WHO Pre Qualification เป็นต้น
๒. ร่วมประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความร่วมมือและ ผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนด
ด้านการบริการ
รูปแบบการดำเนินการให้คำแนะนำให้อย่างเป็นทางการ และให้ผู้เกี่ยวข้องภายในกองผลิตภัณฑ์ และทีมวิจัยทำงานร่วมกันในการหาข้อสรุปในการให้คำแนะนำ
นักวิชาการอาหารและยา
ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร โดยอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในทางวิชาการ ที่เกี่ยวช้องกับงาน รวมถึงการให้คำปรึกษาทางวิชาการกับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ ในการปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนา การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม และการจัดประเภท ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการตัดสินใจและแกไขปัญหาที่มีความยุ่งยาก ซับช้อน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
ด้านปฏิบัติการ
๑. ให้คำปรึกษาทางวิชาการกับผู้ประกอบการวิจัยพัฒนา ในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม
๒. ให้คำปรึกษาวิชาการกับผู้ประกอบการ เพื่อวางแผนศึกษาวิจัย ในขั้นตอนต่างๆ ตลอดทั้ง วงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การประเมินวินิจฉัย การจัดประเภทผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมการ ประเมินความเสี่ยงของอาหาร เพื่อผู้ประกอบการยื่นขออนุญาต
๓. ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการตรวจสอบ การติดตาม การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และสถานที่ รวมถึงด้านการโฆษณา ด้านวิชาการ และด้านกฎหมาย เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด
๔. ให้คำปรึกษาด้านกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติและด้านวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัด ประเภทผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยว
๕. ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์อาหารและ ผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนในการบริโภคผลิตภัณฑ์
๖. ให้ข้อเสนอแนะหรือความเห็นในการตัดสินใจด้านการควบคุมกำกับดูแลอาหารให้ผู้บริหารๆ เพื่อให้แกไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบงานและบุคลากรสำหรับ งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
ต้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนหรือให้คำปรึกษาแนะนำในการวางแผนโดยเชื่อมโยง หรือบุรณาการแผนงานโครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกระทรวง ติดตามประเมินผลภาพรวม เพื่อให้บรรลุตามเป๋าหมายหรือสัมฤทธี้ที่กำหนด
ด้านการประสานงาน
๑. ประสานการทำงานภายในกระทรวง กรม หรือองค์การอื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยมีบทบาท ในการเจรจา โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
๒. ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกระทรวง กรม รวมทั้งประชุมทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
๓. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทาง ในการวิจัยพัฒนาเพื่อลดความขั้าซ้อน
๔. สื่อสารประเด็นสำคัญในยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาและกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม ต่อผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณชน
ด้านการบริการ
๑. เป็นที่ปรึกษาระดับกระทรวง ในการปฏิบัติงานถ่ายทอดความรู้ด้านอาหาร และการคุ้มครอง ผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานไต้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
๒. กำหนดทิศทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความ ชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. กำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานด้านอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข
๔. แนะนำการวางแผนวิจัยพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา จนสามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมที่มีข้อมูลเพียงพอต่อการ อนุญาตผลิตภัณฑ์
๕. ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการที่มีความซับซ้อนและใช้เทคนิคขั้นสูง แก,เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และผู้ประกอบการในการพัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางประเมินผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ สมุนไพร
๖. พัฒนาระบบในการสนับสนุนส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร
วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 1 ธ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |