“กระทรวงคมนาคม “
ลิงค์: https://ehenx.com/15743/ หรือ
ตำแหน่ง: นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ,นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 1 ธ.ค. – 23 ธ.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กระทรวงคมนาคม เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งนักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบดิการ และตำแหน่งนักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
- กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-20 พ.ย. 2567 รวม 75 อัตรา,
- กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบ บัดนี้-22 พ.ย. 2567 รวม 33 อัตรา,
- กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-25 พ.ย. 2567
- กรมการศาสนา เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-25 พ.ย. 2567 รวม 10 อัตรา,
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาโท
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
๑ . ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน ทางวิศวกรรมการบินและอวกาศ ทางวิศวกรรมเครื่องกล ทางวิศวกรรมไฟฟ้า ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทางวิศวกรรมโยธา หรือทางวิศวกรรมอุตสาหการ และ
๒ . เป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าของ ก.พ.
นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ
๑ . ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชา รัฐประคาสนศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี และ
๒ . เป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ระดับปริญญาโท ของ ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม และด้านการสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยาน การใช้เทคนิคในการปฏิบัติงาน ด้านวิศวกรรม ด้านนิรภัยการบิน และสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ ได้แก่ การรับแจ้งเหตุการณ์ การพิจารณาเหตุการณ์ การเดินทางไปยังบริเวณที่อากาศยานประสบอุบัติเหตุ เพื่อทำการรวบรวมและบันทึก ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การจัดทำรายงานหรือเอกสารด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับ การสอบสวน การประสานกับรัฐต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการสอบสวน อากาศยานประสบอุบัติเหตุ ของคณะกรรมการสอบสวนตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุทำนองเดียวกันขึ้นอีก อันมิใช่เป็นการตำหนิบุคคลหรือกำหนดให้บุคคลใดรับผิด ไม่ว่าทางใด ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา เพื่อสนับสนุนภารกิจหลักของหน่วยงาน อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ด้านนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ
(๒) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ กฎ ระเบียบ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ว่าด้วยการดำเนินการด้านนิรภัย การบินและการสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ
(๓) ร่วมพิจารณาและเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการด้านนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุง กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน
(๔) รับแจ้งเหตุที่เกิดแก่อากาศยาน ประสานงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอ ประกอบการพิจารณาเหตุการณ์ และเสนอผลการพิจารณาเหตุการณ์เบื้องต้นในกรณีเหตุการณ์ที่ปรากฏชัดเจน ว่าเป็นอุบัติเหตุ อุบัติการณ์รุนแรง หรืออุบัติการณ์
(๕) ทำหน้าที่เป็นกรรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการสอบสวนตามพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ โดยมีหน้าที่จัดเตรียมระเบียบวาระการประชุม ระเบียบวาระเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ รุนแรงของอากาศยาน
(๖) ทำหน้าที่เป็นอนุกรรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการสอบสวนฯ โดยมีหน้าที่ จัดเตรียมระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยาน
(๗) พิจารณารวบรวมและบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ ประกอบการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยาน
(๘) พิจารณาเสนอความเห็นเบื้องต้น และจัดให้มีการดำเนินการตรวจสอบอากาศยาน หรือชิ้นส่วน ของอากาศยานนั้น และการอ่านวิเคราะห์เครื่องบันทึกการบินเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรง ของอากาศยาน เพื่อนำผลมาประกอบการดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุ
(๙) จัดทำร่างรายงานหรือเอกสารเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ที่เกิด แก่อากาศยาน
(๑๐) ประสานงานกับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับงานด้านนิรภัยและสอบสวน อากาศยานประสบอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน
(๑๑) จัดทำข้อมูล และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย และคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการเชิงป้องกันที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน
(๑๒) จัดทำร่างคู่มือการปฏิบัติงานด้านการสอบสวน
(๑๓) จัดทำข้อมูลสถิติอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานที่จดทะเบียนไทย
(๑๔) ด้นคว้า รวบรวมผลการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ที่ผ่านมาของอากาศยาน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงในปัจจุบัน
(๑๕) ติดตาม ค้นคว้า ศึกษาบทกฎหมายและมาตรฐานในและระหว่างประเทศว่าด้วยนิรภัยการบิน และสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ
(๑๖) ตรวจสอบและจัดเตรียมอุปกรณ์สาหรับการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยาน ให้มีความพร้อมสำหรับการเดินทาง เพื่อให้เป็นตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศอยู่เสมอ
(๑๗) เข้ารับการการผึเกอบรม และพัฒนาความรู้ด้านการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของตนเอง ระดับเบื้องต้น
(๑๘) ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้สำนักงานปลัดกระทรวง คมนาคม และกระทรวงคมนาคมในภาพรวมบรรลุภารกิจทีกำหนดไว้
๒. ด้านการวางแผน
(๑) ร่วมดำเนินการวางแผนและติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแผนงานที่นำไปใช้ ประกอบการดำเนินงานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
(๒) วางแผนการทำงานและจัดลำดับความสำคัญของงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง เพื่อให้สามารถสนับสนุนภาระงาน ของสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๓) ร่วมจัดทำคำของบประมาณประจำปีตามความจำเป็นของงานการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ ของเครื่องบินขนส่ง เพื่อให้สามารถสนับสนุนภาระงานของสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและ อุบัติการณ์ของอากาศยาน และปฏิบัติตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานและร่วมดำเนินการกับหน่วยงานภายนอกและภายในสำนักงานปลัดกระทรวงและ ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในการปฏิบัติงานด้านนิรภัยการบินและ การสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ และงานในความรับผิดชอบของฝ่ายสอบสวนเครื่องบินขนส่ง เพื่อ สร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(๒) ประสานการทำงานร่วมกันภายในสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของ อากาศยาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๓) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑)ให้คำปรึกษา แนะนำ และชี้แจงแก่ผู้มาติดต่อ เพื่อให้ผู้มาติดต่อสามารถนำความรู้ที่ถูกต้องไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการบินและดำเนินการสอดคล้องตามมาตรฐานสากล
(๒) ให้ข้อมูล ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานที่ตนเองรับผิดชอบในเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ เกิดการประสานงาน ความร่วมมือที่ดี
นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการขนส่งกับต่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี อนุภูมิภาค ภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศและสหประชาชาติ ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการขนล่งกับต่างประเทศ การจัดทำความตกลงด้านการขนส่งระหว่างไทยกับต่างประเทศ การเข้าร่วมประชุมเจรจาระหว่างประเทศ การศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย และข้อบังคับด้านการขนส่งของประเทศต่าง ๆ รวมถึงการประสานงาน กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนของต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ กฎหมาย และข้อบังคับด้านการขนส่งของประเทศต่าง ๆ
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย ท่าทีสำหรับการประชุม/เจรจาระหว่างประเทศในระดับ ทวิภาคและพหุภาคี กรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค และเข้าร่วมประชุมเจรจาในการจัดทำ ความตกลงด้านการขนส่งระหว่างประเทศ
(๓) ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลความร่วมมือและความตกลงด้านการขนล่ง ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
(๔)ศึกษา วิเคราะห์วิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งและคมนาคม เพื่อใช้ในการวางแผน และกำหนดมาตรฐานด้านการขนส่งและคมนาคม
(๕)วิเคราะห์ วิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการ ในการพัฒนา การขนส่งและคมนาคม ทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านเทคนิค เพื่อให้ได้แผนงาน/โครงการในการพัฒนา ระบบ การขนส่งเพื่อการเชื่อมโยงที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ของประเทศ
(๖)ควบคุม กำกับ ดูแลการขนส่ง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย อนุสัญญาและความตกลง ระหว่างประเทศ
(๗) ดำเนินการเรื่องผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เข้าพบ และประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม จัดเตรียมข้อมูล จัดทำสรุป ดำเนินการ จัดประชุม/สัมมนาระหว่างประเทศ
(๘) จัดทำข้อมูลเสนอผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการพบหารือกับผู้แทนจากต่างประเทศ สรุปผลการหารือ ระหว่างผู้บริหารกับผู้แทนต่างประเทศ พร้อมเข้าร่วมการพบหารือ รวมถึงเข้าร่วมประชุม/สัมมนาระหว่างประเทศ ๒. ด้านการวางแผน
(๑) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
(๒) จัดทำคำของบประมาณประจำปีและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ .
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและ ผลส้มฤทธํ่ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ สร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
จัดทำรายงานและเผยแพร่งานวิชาการด้านการคมนาคมขนส่งและผลการดำเนินงานต้านต่างประเทศ ของกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน และเป็นการเผยแพร่ ความรู้ออกสู่สังคมอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดการพัฒนาและมีการต่อยอดความรู้
วิชาที่สอบ
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ข้อสอบหมวดที่ ๑ (ข้อสอบปรนัย ๑๐๐ คะแนน)
– ความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
ข้อลอบหมวดที่ ๒ (ข้อสอบปรนัย ๑๐๐ คะแนน)
– ความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ ไวยากรณ์ และการอ่าน
นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใซ้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ข้อลอบหมวดที่ ๑ (ข้อสอบปรนัย ๘๐ คะแนน)
– ความรู้ทั่วไปด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการขนส่ง
– ความรู้เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ประชาคมอาเซียน กรอบอนุภูมิภาค ลุ่มแม่นํ้าโขง และเอเปค เป็นต้น
– แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๔๖๔) ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย รัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และนโยบาย/แผน/ยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงคมนาคม
ข้อสอบหมวดที่ ๒ (ข้อสอบอัตนัย ๑๒๐ คะแนน)
– ความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ โดยการทดสอบการอ่านจับใจความ สรุปบทความ การแปลเอกสาร
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงคมนาคม :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. – 23 ธ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กระทรวงคมนาคม
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |