“กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช “
ลิงค์: https://ehenx.com/15489/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 14
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 5 ต.ค. – 29 ต.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
ด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับ ราชการในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๕/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งฃันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 14 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-19250 บาท
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
ปริญญาตรี
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางวนศาสตร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในกรณีที่ผู้สมัครสอบยื่นสำเนาหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถ ทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ในระดับที่สูงกว่าที่สมัครสอบ ให้ยื่นสำเนาปริญญาบัตรหรือหลักฐานการศึกษาที่ระบุ วันที่สำเร็จการศึกษาของระดับวุฒิการศึกษาที่สูงกว่านั้นเพิ่มอีกหนึ่งฉบับด้วย
ปริญญาโท
๑. ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางวนศาสตร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาโท
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
ปริญญาตรี
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทางวิชาการป่าไม้ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ ฟันฟู คุ้มครอง ดูแล รักษาทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ
(๒) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา และดำเนินการ ว่าด้วยความร่วมมือด้านอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช กับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ
(๓) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการฟันฟู ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า แก้ไขความเสื่อมโทรม ของระบบนิเวศในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศลุ่มนํ้าให้คงอยู่ตลอดไป รวมถึงโครงการ ฟันฟูป่าไม้ต่าง ๆ ที่เสื่อมโทรมของประเทศ
(๔) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม กำกับดูแล ป้องกันการกระทำผิด บุกรุกทำลายป่า การลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่า การป้องกันและควบคุมปัญหาไฟป่า การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด ตามกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้และสัตว์ป่า เพื่อรักษาและใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน
(๕) ร่วมดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแผนปฏิบัติงาน และกำกับติดตามประเมินผล การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า และการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด กฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้และสัตว์ป่า
(๖) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ กลยุทธ์ในการป้องกัน ปราบปราม และพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานด้านสนธิกำลังในการปราบปราม
(๗) ร่วมศึกษา วิจัยเพื่อหามาตรการ แนวทาง รูปแบบ และวิธีการเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า
(๘) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริม กระตุ้น และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความ รู้สึกหวงแหนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า งานด้านกิจกรรมชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริม ให้ประชาชนร่วมกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่ตลอดไป
(๙) ร่วมศึกษา วิจัย และกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากร-ธรรมชาติ การใช้ประโยชน์พื้นที่ต้นนํ้าที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นนํ้า รวมทั้งการฟันฟูพื้นที่ต้นนํ้าที่เสื่อมโทรมให้คืนความสมบูรณ์ และอำนวยประโยชน์ทั้งในเชิงนิเวศและเชิงเศรษฐกิจ
(๑๐) ร่วมศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การบริหารจัดการ และการฟันฟู ระบบนิเวศป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่า ผลิตผลป่าไม้ และ วิชาการป่าไม้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการป่าไม้
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ และร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธที่กำหนด รวมทั้ง การติดตามและประเมินผล โครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์เป้าหมายการทำงานของหน่วยงาน และ นำมาวางแผนกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบให้บรรลุตามเป้าหมายของหน่วยงาน และเกิดผลสัมฤทธต่อการ พัฒนาประเทศ
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก ร่วมกับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ประสานและปฏิบัติตามพันธะข้อตกลง ASEAN Agreement on Haze Trans Boundary Pollution และพันธะข้อตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้ รวมถึงประสานงานตามพันธกรณีเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่าง ๆ ด้านอุทยานแพ่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช
(๓) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้บริการข้อมูลสารสนเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การกำหนดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การจัดทำระบบสื่อความหมาย และพัฒนาการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับอุทยาน แพ่งชาติ และการบริการการท่องเที่ยวแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน การบริการและการถ่ายทอด เทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า
(๒) ให้บริการข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีการตรวจหาไฟด้วยดาวเทียม ให้บริการข้อมูล จุดความร้อน (hotspot) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมทั้งให้บริการรับแจ้งเหตุต่าง ๆ เกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า การล่าและค้าสัตว์ป่า และรับแจ้งเหตุการเกิดไฟป่า
(๓) การให้บริการแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามความจำเป็นและเหมาะสม บนพื้นฐานการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปริญญาโท
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย และพัฒนาด้านระบบ นิเวศวิทยาป่าไม้ ด้านทรัพยากรป่าไม้ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์ องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ และด้านพันธุศาสตร์ไม้ป่าและเทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิจัยเพื่ออนุรักษ์ รักษา และขยายพันธุพืช และการปรับปรุง บำรุงพันธุ๊Iม้ป่า
(๒) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิจัยทางกีฏวิทยาป่าไม้ จุลชีววิทยาป่าไม้ และพฤกษศาสตร์ ป่าไม้ รวมทั้งระบบนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งการวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมนุษยนิเวควิทยาป่าไม้
(๓) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนางานด้านทรัพยากรป่าไม้ความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่อนุรักษ์ และองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้
(๔) ศึกษา ค้นคว้า ทดลองวิจัยด้านอนุกรมวิธานพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย และ การวิจัยด้านสมุนไพรและพฤษศาสตร์พื้นบ้าน
(๕) ศึกษา ค้นคว้า ทดลองวิจัยด้านพันธุศาสตร์ไม้ป่าและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อศึกษาความ หลากหลายทางพันธุกรรมและประเมินสถานภาพแห่งพันธุกรรม การวินิจฉัย ตรวจสอบพันธุพื่อการอนุรักษ์ พันธุกรรมและปรับปรุงพัฒนาพันธุ รวมถึงการพัฒนาและขยายพันธุพืชแลไม้ป่าโดยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนา การใช้ประโยชน์อยางยั่งยืน
(๖) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยและพัฒนาระบบ และวิธีการปลูก การพื้เนฟูรวมทั้งการ จัดการป่าอนุรักษ์รูปแบบต่าง ๆ การจัดหาพรรณไม้ เมล็ดไม้ และส่วนขยายพันธุที่เหมาะสมกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์
(๗) ศึกษา ค้นคว้า วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าระยะยาวและการพืนตัวของป่า ธรรมชาติในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และดำเนินการจัดสร้างแหล่งอนุรักษ์พันธุพไม้ทั้งในและนอกถิ่นอาศัย
(๘) ศึกษา วิเคราะห์ การลดก๊าซเรือนกระจก การเตรียมความพร้อม และปรับตัวของป่า อนุรักษ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(๙) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การบริหารจัดการ และการพืนฟู ระบบนิเวศป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่า ผลิตผลป่าไม้ และวิชาการ ป่าไม้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการป่าไม้
(๑๐) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ สถานการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การสูญเลียความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม เพื่อพัฒนา กระบวนการวิจัยและการวางแผนงานวิจัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ และร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธที่กำหนด รวมทั้ง การติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์เป้าหมายการทำงานของหน่วยงาน และนำมาวางแผน กระบวนการทำงานที่รับผิดชอบให้บรรลุตามเป้าหมายของหน่วยงาน และเกิดผลสัมฤทธต่อการพัฒนาประเทศ
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก ร่วมกับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลส้มฤทธตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ถ่ายทอดเทคโนโลยี และเผยแพร่ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานวิจัย ผลการ พัฒนาที่ไดไปยังหน่วยงานปฏิบัติ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน องค์กรเอกชน และประชาชนทั่วไป
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การให้บริการ วิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้ทางด้านวิชาการป่าไม้ การอนุรักษ์ การบริหารจัดการ และการ ฟืนฟูระบบนิเวศป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่า ผลิตผลป่าไม้ และ วิชาการป่าไม้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
วิชาที่สอบ
นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
ปริญญาตรี
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แกไขเพิ่มเดิม – พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
– ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
(๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานวิชาการป่าไม้
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการป่าไม้
(พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ และที่แกิไขเพิ่มเดิม, พระราชบัญญัติป่าสงวน แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และที่แกิไขเพิ่มเดิม, พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕, พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒, พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒, พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘, พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘, พระราชบัญญัติการส่งออก ไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แกไขเพิ่มเดิม และระเบียบกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช ว่าด้วยมาตรการควบคุมตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖)
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการพืนฟูพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การจัดทำและควบคุมระบบข้อมูล ที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการป่าไม้
– ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ป้องกัน ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการป่าไม้และสัตว์ป่า – ความรู้เกี่ยวกับการจัดการไฟป่า การป้องกันและแกไขปัญหาไฟป่า – ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการการอนุรักษ์และพืนฟูป่าด้นนี้า
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่และการอนุรักษ์สัตว์ป่า
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติและการนันทนาการ
– ความรู้เกี่ยวกับการน้อมนำศาสตร์พระราชาหรือแนวทางพระราชดำริ มาใช้ในการบริหาร จัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
– ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ หรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กับงานด้านอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก)
ปริญญาโท
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ซึ่งประกอบด้วย
๑. ความรู้ด้านการด้นคว้า วิจัย และพัฒนา
๑.๑ ด้านทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์ และองค์ความรู้ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้
๑.๒ การลดก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ และการปรับตัวในภาคป่าไม้จากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์
๑.๓ การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าระยะยาวและการฟืนตัวของป่าธรรมชาติในเขตพื้นที่อนุรักษ์
๒. การอนุรักษ์ ฟืนฟู และการจัดการระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ให้เป็นแหล่งความหลากหลาย ทางชีวภาพ การบริการทางนิเวศและถิ่นอาศัยสัตว์ป่า และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเป็นฐานรากของการพัฒนาเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพ
๓. ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ หรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับงาน การวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุพืช (อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. – 29 ต.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |