กรมป่าไม้ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 4 มิ.ย. -24 มิ.ย. 2564 รวม 71 อัตรา,

แชร์เลย
กรมป่าไม้เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

กรมป่าไม้

ลิงค์: https://ehenx.com/14265/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ,นายช่างโยธาปฏิบัิติงาน,เจ้าพนักงานป่าไม้ปฎิบัติงาน,นายช่างสำรวจ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 71
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 4 มิ.ย. – 24 มิ.ย. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมป่าไม้ เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมป่าไม้

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ

ด้วยกรมป่าไม้ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐ร/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งฃันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นิติกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 50 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นายช่างโยธาปฏิบัิติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานป่าไม้ปฎิบัติงาน

อัตราว่าง : 10 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างสำรวจ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ 


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบเท่า ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา 


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางวนศาสตร์ 


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล ทางวิศวกรรมชลประทาน หรือทางวิศวกรรมโครงสร้าง 


นายช่างโยธาปฏิบัิติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง 


เจ้าพนักงานป่าไม้ปฎิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 


นายช่างสำรวจ

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันเดียวกัน ในสาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นิติกรปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณา
ของผู้บังคับบัญชา
(2) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบเพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(3) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและการดำเนินคดีของหน่วยงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษา แนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ
ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหาและให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว 


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุเพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(2) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) จัดทำรายละเอียดบัญชีหรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุเพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(4) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(5) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการ
อีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรม และวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู์ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ
ที่เกี่ยวกับงานพัสดุเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายแผนงานหลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ 


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแล รักษาทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการปลูกป่า
เพื่อจัดการให้เป็นป่าเศรษฐกิจ
(2) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการฟื้นฟู แก้ไข ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในพื้นที่ป่าไม้
เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้คงอยู่ตลอดไป
(3) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม กำกับดูแล ป้องกันการกระทำผิด บุกรุกทำลายป่าการป้องกันและควบคุมไฟป่า การจัดการที่ดินป่าไม้
การอนุญาตการใช้ประโยชน์จากไม้ ที่ดินป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ อุตสาหกรรมไม้ สวนป่า ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ เพื่อรักษาและใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน
(4) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรู้สึกหวงแหน และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าและการจัดการป่าชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริม
ให้ประชาชนร่วมกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่ตลอดไป
(5) ร่วมศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การบริหารจัดการและการฟื้นฟูทรัพยากร
ป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่า ผลิตผลป่าไม้ และวิชาการป่าไม้อื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการป่าไม้
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล
ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลสารสนเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
การกำหนดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการ การจัดทำระบบสื่อความหมาย และพัฒนาการให้ข้อมูล
แก่นักท่องเที่ยว ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติและการบริการ
การท่องเที่ยวแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน การบริการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง
และการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมถึงการสนับสนุนและแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้เพื่อประโยชนต่อการพัฒนาทางด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม่และสัตว์ป่า 


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คำนวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน
(๒) ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
(๓) ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบแผนที่ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
(๕) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
(๖) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
การทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปเพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 


นายช่างโยธาปฏิบัิติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่างๆ เพื่อให้ตรงตามหลักวิชาช่างความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
(2) ตรวจสอบ แก้ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(4) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุงและซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(5) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฝึกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูลความรู้ต่างๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(2) ประสานงานในระดับกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไปเพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 


เจ้าพนักงานป่าไม้ปฎิบัติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานด้านป่าไม้ และช่วยวิชาการป่าไม้ เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การส่งเสริมการปลูกป่า การฟื้นฟูแก้ไขความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในพื้นที่ป่าไม้ การจัดการป่าชุมชน การควบคุม กำกับ ดูแล ป้องกันการกระทำผิด การบุกรุกทำลายป่า การป้องกันและควบคุมไฟป่า การจัดการที่ดินป่าไม้ การอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ อุตสาหกรรมไม้สวนป่าตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ การส่งเสริม กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรู้สึกหวงแหนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์การปลูกป่า ผลิตผลป่าไม้ การบริหารจัดการและการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และงานป่าไม้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อคืนสภาพความสมบูรณะของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า รวมทั้ง รักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน
๒. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับงานด้านป่าไม้และช่วยวิชาการป่าไม เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(2) ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือกับผู้มาติดต่อราชการ เพื่อเป็นการให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจ
และสะดวกรวดเร็วในการทำงาน 


นายช่างสำรวจ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจรังวัด คำนวณ ตรวจสอบ จัดทำแผนที่ แผนผัง เพื่อให้ทราบรายละเอียดและเป็นไปตามแบบที่กำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) แก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ของงานที่กำหนดไว
(3) วัดระดับของภูมิประเทศ วางโครงข่ายหมุดหลักฐาน แผนที่เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
(4) บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผลเพื่อติดตาม
ความก้าวหน้าของงาน
(5) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและรายละเอียดมีความถูกต้อง
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำปรึกษา แนะนำ ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้าน และทักษะทั่วไปแก่บุคลากรทุกสายงานเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมา 

วิชาที่สอบ

นิติกรปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
1.กฎหมายสารบัญญัติ
– ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
– ประมวลกฎหมายอาญา
2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ
– ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
– ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. กฎหมายมหาชน
– พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. กฎหมายว่าด้วยการป่าไม้
– พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
– พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านวิชาการพัสดุ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติ 


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านวิชาการป่าไม้ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
-พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
-พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545
– พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
– พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
– ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกป่า การจัดการที่ดินป่าไม้ การจัดการป่าชุมชนการป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า และการวิจัยด้านป่าไม้ 


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรโยธา โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้
– ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมป่าไม้
– ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมผังเมือง
– ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจ วางโครงการ การสำรวจเพื่อการออกแบบ การวิเคราะห์และ
การประเมินผลกระทบโครงการ การวางแผนและบริหารโครงการ
– ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์
– การวิเคราะห์โครงสร้างและการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก 


นายช่างโยธาปฏิบัิติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านช่างโยธา โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจ การออกแบบ การบริหารงานก่อสร้าง
– ความรู้เกี่ยวกับการตรวจและการควบคุม การปรับปรุงและซ่อมแซมงานก่อสร้าง
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ 


เจ้าพนักงานป่าไม้ปฎิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านป่าไม้ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
๑. โดยวิธีการสอบข้อเขียน (150 คะแนน) ประกอบดังนี้
– พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545
– พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกป่า การจัดการที่ดินป่าไม้ การจัดการป่าชุมชน การป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า
๒. โดยวิธีการสอบปฏิบัติ (50 คะแนน) ทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ด้านความแข็งแรง
ความอดทนของร่างกาย ให้ผู้สมัครสอบวิ่งหรือเดินระยะทาง 15 กิโลเมตร ภายในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที 


นายช่างสำรวจ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านช่างสำรวจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน(คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้
– ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจ รังวัด ตรวจสอบ จัดทำแผนที่ แผนผัง
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับของภูมิประเทศ การวางโครงข่ายหลุดหลักฐาน
– ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณ หาค่าพิกัดฉาก ค่ามุม AZ ตลอดจนมาตราส่วนของแผนที่
– ความรู้เกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศกับงานสำรวจรังวัดและจัดทำแผนที่
– ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (GPS) อุปกรณ์เคลื่อนที่อื่น ๆ ที่ใช้ประโยชน์ในการรังวัดและจัดทำฐานข้อมูลด้านแผน 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมป่าไม้  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 4 มิ.ย. – 24 มิ.ย. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมป่าไม้

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |