กรมอนามัย เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 16 เม.ย. -11 พ.ค. 2564 รวม 10 อัตรา,

แชร์เลย
กรมอนามัยเปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

กรมอนามัย

ลิงค์: https://ehenx.com/13849/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ,นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ,นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 10
ปฏิบัติงานที่: นนทบุรี,ชลบุรี,นครสวรรค์,ยะลา,ราชบุรี,สระบุรี
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 16 เม.ย. – 11 พ.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมอนามัย เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมอนามัย

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)ตําแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ ตําแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ(ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)และตําแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ของกรมอนามัย

ด้วยกรมอนามัยจะดําเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)ตําแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ ตําแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา) และตําแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ของกรมอนามัยฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 53แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่นร 1004/ว 17ลงวันที่11 ธันวาคม2556เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการจึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางจิตวิทยา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางพลศึกษาหรือทางสุขศึกษา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือทางวิศวกรรมสุขาภิบาล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. 

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางจิตวิทยา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
    สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางพลศึกษาหรือทางสุขศึกษา หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือทางวิศวกรรมสุขาภิบาล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. 

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางจิตวิทยา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางจิตวิทยา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับอนุปริญญา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทํางานปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิชาการสาธารณสุข ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สํารวจ รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้ง การดูแลรักษาพยาบาลการจัดบริการสุขภาพ การสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพการสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบกลไกและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุข เพื่อช่วยในการเสริมสร้างระบบการสาธารณสุขที่ดี
  2. สรุปรายงานเกี่ยวกับการดําเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้านสาธารณสุขเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการวางแผนในการปฏิบัติงาน
  3. ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนํามาใช้ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
  4. ร่วมพัฒนาเนื้อหา องค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข และระบบบริการสุขภาพ โดยบูรณาการแบบองค์รวมว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขและระบบบริการสุขภาพและจัดทําคู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อสุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ สามารถ ป้องกันตนเองจากโรคและภัยสุขภาพ
  5. ปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพการเฝ้าระวังโรค รักษาเบื้องต้น และติดตามฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ดูแลบํารุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
  6. ช่วยจัดทําฐานข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข เช่น ข้อมูลของผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพ ประชากร สถานะสุขภาพ ระบาดวิทยา สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ในการปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  7. ให้บริการคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษาเบื้องต้น สอบสวนสืบสวนโรค ติดตามผู้ป่วย ผู้สัมผัส เพื่อการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
  8. ร่วมประเมินสิ่งแวดล้อมการทํางาน ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการสาธารณะ สถานที่สาธารณะทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
  9. ช่วยปฏิบัติงานส่งเสริม ควบคุม กํากับมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  10. ด้านการวางแผน วางแผนการทํางานที่รับผิดชอบร่วมดําเนินการวางแผนการทํางานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กําหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทํางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ตรวจสอบสภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพและเหมาะแก่การนําไปใช้งานอยู่เสมอรวมทั้งสนับสนุนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้การบริการดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น
  2. สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยี แก่บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อเป็นความรู้และให้สามารถดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทําเอกสาร ตํารา คู่มือ เอกสารสื่อ เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่าง ๆ ในงานด้านสาธารณสุข
  4. ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความชํานาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นิเทศงานด้านสาธารณสุขเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทํางาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิชาการสาธารณสุข ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สํารวจ รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการดูแลรักษาพยาบาลการจัดบริการสุขภาพ การสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพการสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบกลไกและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุข เพื่อช่วยในการเสริมสร้างระบบการสาธารณสุขที่ดี
  2. สรุปรายงานเกี่ยวกับการดําเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้านสาธารณสุขเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการวางแผนในการปฏิบัติงาน
  3. ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนํามาใช้ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
  4. ร่วมพัฒนาเนื้อหา องค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข และระบบบริการสุขภาพ โดยบูรณาการแบบองค์รวมว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขและระบบบริการสุขภาพ และจัดทําคู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อสุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ สามารถ ป้องกันตนเองจากโรคและภัยสุขภาพ
  5. ปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพการเฝ้าระวังโรค รักษาเบื้องต้น และติดตามฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ดูแลบํารุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
  6. ช่วยจัดทําฐานข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข เช่น ข้อมูลของผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพ ประชากร สถานะสุขภาพ ระบาดวิทยา สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อนํามาใช้ในการวิเคราะห์ ในการปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  7. ให้บริการคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษาเบื้องต้น สอบสวนสืบสวนโรค ติดตามผู้ป่วย ผู้สัมผัส เพื่อการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
  8. ร่วมประเมินสิ่งแวดล้อมการทํางาน ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการสาธารณะ สถานที่สาธารณะทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
  9. ช่วยปฏิบัติงานส่งเสริม ควบคุม กํากับมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ด้านการวางแผน

วางแผนการทํางานที่รับผิดชอบร่วมดําเนินการวางแผนการทํางานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กําหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทํางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ตรวจสอบสภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพและเหมาะแก่การนําไปใช้งานอยู่เสมอรวมทั้งสนับสนุนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้การบริการดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น
  2. สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยี แก่บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อเป็นความรู้และให้สามารถดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทําเอกสาร ตํารา คู่มือ เอกสารสื่อ เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่าง ๆ ในงานด้านสาธารณสุข
  4. ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความชํานาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นิเทศงานด้านสาธารณสุขเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทํางานปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านสังคมสงเคราะห์ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริง รวมทั้งศึกษาชุมชน และประเมินสภาวะทางสังคมเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยและให้บริการทางสังคม แก่กลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
  2. ให้บริการปรึกษา แนะนํา ช่วยเหลือ บําบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  3. รวบรวม ประมวล สรุป จัดลําดับความสําคัญและความรุนแรงของปัญหารวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา เพื่อประกอบการวางแผนให้ความช่วยเหลือ พิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
  4. สํารวจ รวบรวม ศึกษา สรุปจัดทํารายงาน รวมทั้งประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ สถานการณ์ และปัญหาด้านสังคม เพื่อประกอบการวิจัย การจัดทําฐานข้อมูล การวางแผน การจัดทําหลักเกณฑ์มาตรฐาน และการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
  5. รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการดําเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อประกอบการจัดทําเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อเพื่อนําไปใช้ในการดําเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์
  6. จัดทําข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประกอบการพัฒนาและวางแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ด้านการวางแผน

วางแผนการทํางานที่รับผิดชอบร่วมดําเนินการวางแผนการทํางานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กําหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทํางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ให้คําแนะนําและให้บริการทางวิชาการแก่บุคคล หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางในการดําเนินงานด้านสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาความรู้ เทคนิคทักษะในการดําเนินงาน และพัฒนาบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
  2. ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตํารา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยช์ในการจัดบริการทางสังคมและการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  3. ร่วมจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทํางาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการภายในสํานักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสํานักงานในด้านต่างๆ เช่นงานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการงานบริหารอาคารสถานที่ และงานสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่องการจัดเตรียมเอกสารสําหรับการประชุมเป็นต้นเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
  3. จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่นๆเพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
  4. ทําเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การดําเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กําหนด
  5. ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุมหรือการปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
  6. ช่วยปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี

ด้านการวางเผน

วางแผนการทํางานที่รับผิดชอบ ร่วมดําเนินการวางแผนการทํางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กําหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทํางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

ตอบปัญหา ชี้แจงและให้คําแนะนําเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ 


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานพัสดุตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นําส่งการซ่อมแซม และบํารุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
  2. ทําทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสําคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดําเนินงาน
  3. ร่างและตรวจสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุเพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินงาน
  4. รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทํารายงาน และนําเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
  5. ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติและระเบียบงานพัสดุที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  6. ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสตรวจสอบได้

ด้านการบริการ

  1. ให้คําแนะนําเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน เละให้การดําเนินงานสําเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ 

วิชาที่สอบ

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตเนื้อหาดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจโครงสร้าง อํานาจหน้าที่ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกรมอนามัยและกระทรวงสาธารณสุข
  • ความรู้เกี่ยวกับอนามัยชุมชน ระบาดวิทยาและการควบคุมโรค และการบริหารงานสาธารณสุข
  • ความรู้เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภคกฎหมายสาธารณสุขและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
  • ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และพฤติกรรมศาสตร์
  • ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางด้านสาธารณสุข และการติดตามประเมินผล 

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา)

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตเนื้อหาดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจโครงสร้าง อํานาจหน้าที่ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกรมอนามัยและกระทรวงสาธารณสุข
  • ความรู้เกี่ยวกับอนามัยชุมชน ระบาดวิทยาและการควบคุมโรค และการบริหารงานสาธารณสุข
  • ความรู้เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภคกฎหมายสาธารณสุขและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
  • ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และพฤติกรรมศาสตร์
  • ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางด้านสาธารณสุข และการติดตามประเมินผล 

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตเนื้อหาดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์พันธกิจ โครงสร้าง อํานาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกรมอนามัยและกระทรวงสาธารณสุข
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๖
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์และด้านการพัฒนาสังคม 

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตเนื้อหาดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อํานาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของกรมอนามัยและกระทรวงสาธารณสุข
  • การวิเคราะห์และวางแผนงาน การประสานงานและการจัดการองค์การ
  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลังการรับเงินการจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ.2562 

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตเนื้อหาดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อํานาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของกรมอนามัยและกระทรวงสาธารณสุข
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวง ประกาศ และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒562
  • ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมอนามัย :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. – 11 พ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมอนามัย

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |