สอบท้องถิ่น 2564 นายสัตวแพทย์ รวม 2 อัตรา

แชร์เลย

สอบท้องถิ่น 2564

ลิงค์: https://ehenx.com/12948/ หรือ
ตำแหน่ง: นายสัตวแพทย์
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,060-
อัตราว่าง: 2
ปฏิบัติงานที่: จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี,ตราด,นครนายก,ปราจีนบุรี,มุกดาหาร,ยโสธร,ร้อยเอ็ด,ระยอง,ศรีสะเกษ,สมุทรปราการ,สระแก้ว,สุรินทร์,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 9 มี.ค. – 31 มี.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สอบท้องถิ่น 2564 เปิดรับสมัคร

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นายสัตวแพทย์

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15060- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

จังหวัดภาค/เขตที่จะบรรจุ

ภาคกลาง เขต 2: จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว
จำนวนที่รับ: 1 อัตรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2: มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
จำนวนที่รับ: 1 อัตรา

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นายสัตวแพทย์

ได้รับปริญญาในสาขาวิชาหรือทางสัตวแพทย์ศาสตร์ และได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นายสัตวแพทย์

หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสัตวแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  • 1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับโรคสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนด้านห้อง ปฏิบัติการ ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ ด้านการผลิตการทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ ด้านสัตว์ทดลอง ด้านสาเหตุและ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ด้านป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคสัตว์ รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดการ ด้านสุขภาพสัตว์ ด้านสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย
  • 1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีการผสมเทียมและ ด้านการผลิตสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านข้อมูลสารสนเทศด้านการผสมเทียม ด้านการผลิต การปรับปรุง พันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์ ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์ และตัวอ่อนตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เพื่อผลิต พัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์ปศุสัตว์ที่มีพันธุกรรมดี
  • 1.3 ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนามาตรฐาน ด้านการกักกันสัตว์ ด้านการเลี้ยงสัตว์ปลอดโรค ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ ด้านการผลิต เช่น ฟาร์มมาตรฐาน โรงงาน โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูป โรงงาน อาหารสัตว์เป็นต้น ด้านการตรวจสอบ รับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุสำหรับสัตว์ วัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสัตวแพทย์สาธารณสุขด้านห้องปฏิบัติการ ตรวจสอบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานให้เป็นสากล
  • 1.4 ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ชีวภัณฑ์สัตว์ การชันสูตรโรคสัตว์ การควบคุมป้องกันโรคระบาด และสิ่งแวดล้อมการปศุสัตว์ที่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพสัตว์และการสาธารณสุข
  • 1.5 ดำเนินการตรวจสอบและรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของปศุสัตว์ สินค้า ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ ชีววัตถุ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ สถานที่เลี้ยงสัตว์ และสิ่งแวดล้อมปศุสัตว์ ณ สถาน ประกอบการ ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • 1.6 กำกับ ดูแลงานและดำเนินการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์ ควบคุม เคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์ ซากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์
  • 1.7 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์การผลิตสัตว์ ตลอดจนการสืบย้อนข้อมูล เพื่อการวางแผนและดำเนินการในการควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ขยายพันธุ์สัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสัตว์และแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์
  • 1.8 รวบรวมข้อมูลระบบตรวจสอบย้อนกลับด้านการปศุสัตว์ เพื่อควบคุม ตรวจสอบ เรียกคืนผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และหาสาเหตุข้อบกพร่องในการผลิต
  • 1.9 ตรวจและรักษาพยาบาลสัตว์ทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม ศึกษา วิเคราะห์ ชันสูตรโรคสัตว์ ซึ่งเกิดจากเชื้อประเภทต่างๆ รวมถึงตรวจควบคุมการนำเข้า – ส่งออกนอกประเทศ ซึ่งสัตว์และซากสัตว์
  • 1.10 สำรวจและเฝ้าระวังโรคสัตว์ โรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน โรคติดต่อจากสัตว์ไปสู่สัตว์ และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันมิให้โรคต่างๆ เกิดการแพร่ระบาดทั้งในคนและในสัตว์ เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาดต่างๆ เพื่อควบคุมและป้องกันโรคระบาดอันจะทำให้เกิดความเสียหาย แก่เศรษฐกิจและการเกษตรและสามารถเตรียมวางแผนการป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพ
  • 1.11 รับผิดชอบ และดูแลการฆ่า และการจำหน่ายเนื้อสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ได้ มาตรฐาน คุณภาพ และเกิดความถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยและดำเนินงานตรวจสอบเนื้อสัตว์ จากโรงฆ่าสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อนำมาตรวจสอบคุณภาพของเนื้อให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และให้ ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์ได้อย่างปลอดภัย
  • 1.12 จัดทำข้อมูล เอกสาร และรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสัตวแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนางานด้านสัตวแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. ด้านการวางแผน

  • 2.1 วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
  • 2.2 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  • 2.3 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ด้านการบริการ

  • 3.1 ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจง จัดทำสื่อสารสนเทศ เผยแพร่ข้อมูล ถ่ายทอด เทคโนโลยี เกี่ยวกับหลักวิชาการสัตวแพทย์และงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
  • 3.2 ให้บริการในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ

วิชาที่สอบ

นายสัตวแพทย์

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน
เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564

(แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564)

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมด 3 ภาค โดยจะสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตาแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน แล้วจึงให้ผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) และ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข.) ตามเกณฑ์ในประกาศรับสมัครแล้ว มีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมีรายละเอียด ดังนี้

1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)

เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย โดยคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
  2. ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม
  3. ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน
  4. ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย เป็นต้น
  5. ความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ
1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

เป็นการทดสอบความพื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการ ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดาวน์โหลดคลิกที่นี่
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ.2553 ดาวน์โหลด
  3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  4. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  5. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  7. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดาวน์โหลด
  9. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  10. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ดาวน์โหลด
  11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความ การตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคาหรือกลุ่มคา ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การเรียงข้อความ การสะกดคา การแต่งประโยค และคาศัพท์

1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ และความเข้าใจสาระสาคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น

2. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตาแหน่ง (ภาค ข) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตาแหน่งที่
สมัครสอบโดยเฉพาะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 ดาวน์โหลด
  2. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ดาวน์โหลด
  3. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ดาวน์โหลด
  4. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  5. พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดาวน์โหลด
  6. พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ดาวน์โหลด
  7. ความรู้ด้านสุขภาพสัตว์ เช่น ภูมิคุ้มกันโรคสัตว์ โรคสัตว์และโรคติดต่อ ระหว่างสัตว์และคน การชันสูตรโรคสัตว์ การตรวจวิเคราะห์ทาง ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
  8. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์การควบคุม เคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์ ซากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์
  9. ความรู้ด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข เช่น โรงฆ่าสัตว์ การจัดการ สิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์ เป็นต้น
  10. ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีการผสมเทียม และด้านการ ผลิตสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านการผสม เทียม การปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์ ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ ด้าน การผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์และตัวอ่อน ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
  11. ความรู้ที่เกี่ยวกับงานตาม “ลักษณะงานที่ปฏิบัติ” ของตำแหน่ง ที่สมัครสอบ
3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) กำหนดคะแนนเต็ม 100 คะแนน

เป็นการประเมินบุคคลโดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตรวจสอบเอกสาร เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตาแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษที่เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สอบท้องถิ่น 2564 :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. – 31 มี.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 17 ก.พ. 2564

สอบวันที่: 17 ก.พ. 2564

ประกาศผลสอบ: 17 ก.พ. 2564

ดาวน์โหลดไฟล์ “สอบท้องถิ่น 2564

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |