กกต. เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 22 ก.พ. -15 มี.ค. 2564 รวม 215 อัตรา,

แชร์เลย
กกต.เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

กกต.

ลิงค์: https://ehenx.com/12357/ หรือ
ตำแหน่ง: พนักงานเลือกตั้งปฎิบัติการ,พนักงานสืบสวนไต่สวนปฎิบัติการ,นิติกรปฎิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฎิบัติการ,นักทรัพยากรบุคคลปฎิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ,นักวิชาการตรวจสอบภายในปฎิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ,นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปวช.ทุกสาขา,ปวช.,ปวส.,ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,300-19,500
อัตราว่าง: 215
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 22 ก.พ. – 15 มี.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กกต. เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะดำเนินการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง เป็นพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๗ และมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติประกอบธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ ข้อ ๓๐ และข้อ ๔๒ ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แกไขเพิ่มเดิม ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบคัดเลือก บุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภทปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติงาน ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งพนักงานประจำของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนด ตำแหน่ง ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๑ จึงประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

พนักงานเลือกตั้งปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 74 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


พนักงานสืบสวนไต่สวนปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 54 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นิติกรปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 16 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักทรัพยากรบุคคลปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 21 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฎิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 9 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 20 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11300- บาท

คุณวุฒิ : ปวช.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11300- บาท

คุณวุฒิ : ปวช.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

พนักงานเลือกตั้งปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์


พนักงานสืบสวนไต่สวนปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์


นิติกรปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหาร (หรือการจัดการ)


นักทรัพยากรบุคคลปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหาร (หรือการจัดการ)


นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหาร (หรือการจัดการ)


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฎิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขา วิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขา วิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี นิเทคคาสตร์ การประซาสัฆพันธ์


นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางภาษาอังกฤษ


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาหรือทางการบัญชี การบริหารธุรกิจ การเงิน
และการธนาคาร


๓. คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครสอบ
๓.๑ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ ๑๔ ของระเบียบ คณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๗ ในวันที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้งต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธึ๋ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้จัดตั้งพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในพรรคการเมือง

(๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟืนเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคดังต่อไปนี้
(ก) โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(ข) วัณโรคในระยะอันตราย
(ค) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(ง) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
(จ)โรคพิษสุราเรื้อรัง
(๖) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๗) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมาย หรือไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักงาน หรือถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่
(๘) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๙) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๑๐) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๑๑) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เพราะกระทำความผิด ทางอาญา เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๑๒) ไม่เป็นผู้มีประวัติเสื่อมเสียในการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
(๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานนั้น ๆ
(๑๔) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกจากงาน เพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่
(๑๕) ไม่เป็นผู้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือออกจากงาน เพราะเหตุหย่อนความสามารถ ประพฤติตนไม่เหมาะสม บกพร่องต่อหน้าที่ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตน
(๑๖) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงาน
(๑๗) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
๓.๒ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามที่ระบุไวในเอกสารแนบท้าย ประกาศนี้
๓.๓ ผู้สมัครสอบเฉพาะตำแหน่งนักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ ต้องมีผลการทดสอบวัดความรู้ ภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(๑) TOEFL (คะแนนเต็ม ๑๒๐) ได้รับคะแนนตั้งแต่ ๖๐ คะแนนขึ้นไป
(๒) IELTS (คะแนนเต็ม ๙) ได้รับคะแนนตั้งแต่ระดับ ๔.๕ ขึ้นไป
(๓) TOEIC (คะแนนเต็ม ๙๙๐) ได้รับคะแนนตั้งแต่ ๔๙๕ คะแนนขึ้นไป
ทั้งนี้ ผลการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวข้างต้นต้องยังไม่หมดอายุการรับรองผล การทดสอบก่อนหรือภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔

๓.๔ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ดังนี้
(๑) ระดับประกาคนียบัตรวิซาชีพ (ปวซ.) ขึ้นไป สำหรับตำแหน่งประเภทปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติงาน
(๒) ระดับปริญญาตรีขึ้นไป สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
๔. การรับสมัครสอบ
๔.๑ ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตามขั้นตอน ดังนี้
(๑) ให้ผู้สมัครสอบเข้าที่เว็บไซต์ www.ect.go.th หรือ https://ect.thaijobjob.com หัวข้อ “รับสมัครสอบคัดเลือก”
(๒) กรอกข้อความในใบสมัครให้ลูกต้องครบถ้วน และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด เมื่อยืนยันข้อความที่ได้กรอกแล้วระบบจะกำหนดแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ
(๓) พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงในกระดาษ A๔ หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้บันทึกข้อมูลเก็บไวิในรูปแบบ file ลงในสื่อบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปพิมพ์ในภายหลัง
ในกรณีแบบฟอร์มการชำระเงินสูญหาย หรือไม่สามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลได้ ผู้สมัครสามารถเข้าไปพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน หรือบันทึกข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูล ใหม่ได้อีก แต่จะไม่สามารถแกไขข้อมูลในการกรอกใบสมัครในครั้งแรกที่สมบูรณ์แล้วได้
๔.๒ นำแบบฟอร์มการชำระเงินไปชำระเงินเฉพาะที่เคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔ ภายในเวลาทำการ ของธนาคาร โดยให้เก็บหลักฐานการชำระเงินเป็นหลักฐานด้วย ทั่งนี้ การรับสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์ เมื่อชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้วภายในระยะเวลาที่กำหนด
๔.๓ ผู้สมัครสอบต้องชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบโดยมีรายละเอียด ดังนี้
(๑) ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ จำนวน ๔๓๐ บาท ประกอบด้วย
(๑.๑) ค่าธรรมเนียมสอบ    จำนวน ๔๐๐ บาท
(๑.๒) ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน ๓๐ บาท
(๒) ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ตำแหน่งประเภทปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติงาน จำนวน ๓๓๐ บาท ประกอบด้วย
(๒.๑) ค่าธรรมเนียมสอบ    จำนวน ๓๐๐ บาท
(๒.๒) ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน ๓๐ บาท
เมื่อสมัครและได้ชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว จะไม่คืนเงินให้ไม่ว่า กรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และขอแจ้งให้ผู้สมัครสอบตรวจสอบความถูกต้องในการชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จากธนาคารทุกครั้งที่สมัครสอบ

๔.๔ ผู้สมัครที่ชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว จะได้รับเลขประจำตัวสอบ โดยจะกำหนดเลขประจำตัวสอบ ตามลำดับของการชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้ว และสามารถ พิมพ์ใบสมัครพร้อมเลขประจำตัวสอบได้หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อ ผู้มีสิทธิสมัครสอบแล้วที่เว็บไซต์ หัวข้อ ‘รับสมัครสอบคัดเลือก” เรื่อง “พิมพ์ใบสมัครและเลขประจำตัวสอบ”
๕. เงื่อนไขการสมัครสอบ
๕.๑ ผู้สมัครสอบสามารถสมัครได้เพียง ๑ ตำแหน่ง และผู้สมัครสอบสมัครได้เพียง ครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อสมัครแล้วจะเปลี่ยนแปลงหรือแล้ไขตำแหน่งที่สมัครสอบไม่ได้
๕.๒ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของ ผู้มีสิทธิสมัครสอบ ในข้อ ๓.๒ โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติ ก่อนหรือภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔
ทั้งนี้ การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษาใดจะถือตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษานั้นเป็นเกณฑ์
๕.๓ การสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือวำผู้สมัครเป็นผู้ลงลายมือชื่อ และรับรอง ความลูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ และ ที่แล้ไขเพิ่มเดิม ดังนั้น หากผู้สมัครจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗
๕.๔ ผู้สมัครสอบต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติ ครบถ้วนตรงตามประกาศรับสมัครสอบคัดเลือก และจะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ในใบสมัครสอบ ให้ลูกต้องครบถ้วนตรงตามความเป็นจริง พร้อมทั้งยื่นหลักฐานในการสมัครให้ลูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด ไว้ในประกาศรับสมัครสอบคัดเลือก ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบ หรือตรวจสอบพบว่า เอกสารการสมัครสอบ ซื่งผู้สมัครสอบนำมายื่นไม่ลูกต้องหรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบคัดเลือก จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ชาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้มาตั้งแต่ต้น และจะไม่คืนค่าธรรมเนียม ในการสมัครสอบ
๕.๕ สำหรับพระภิกษุ หรือสามเณร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่รับสมัครสอบและ ไม่อาจให้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานได้ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ที่ นว ๘๙/๒๕๐๑ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๑ และตามความในข้อ ๕ ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๘
๖. การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกให้ทราบ ณ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล ขั้น ๗ สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร และทางเว็บไซต์ www.ect.go.th หรือ https://ect.thaijobjob.com หัวข้อ “การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก”

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

พนักงานเลือกตั้งปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที,ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานพรรคการเมือง งานการมีส่วนร่วม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. ด้านการปฏิบัติการ

(๑) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำร่างประกาศ ระเบียบ ข้อกำหนด และคำสั่งของคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง
(๒) เตรียมการเกี่ยวกับการแบ่งเขตการเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และการสรรหาเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ สำหรับการจัดการเลือกตั้ง
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ การเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายของประชาชน และการเลือกสมาขิกวุฒิสภา
(๔) ศึกษา วิจัย การติดตามและประเมินผลการดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๕) ประสานการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง การจัดทำทะเบียน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๖) รับคำขอจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง สาขาพรรคการเมือง และการเข้าเป็นสมาขิก พรรคการเมือง
(๗) ดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการของพรรคการเมือง เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค คณะกรรมการบริหารพรรค การรวมพรรคเพื่อตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ การรวบพรรคการเมือง เข้ากับอีกพรรคการเมืองหนึ่ง การยุบพรรคการเมือง เป็นต้น
(๘) ควบคุม กำกับดูแลกิจการของสาขาพรรคการเมือง

(๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของหัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง และการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง
(๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค การเผยแพร่ผลงานพรรคการเมืองทางวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
(๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
(๑๒) ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง
(๑๓) ศึกษา วิเคราะห์ และส่งเสริมให้ประชาชน คณะบุคคล องค์การเอกชน และประชาคมจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง รวมทั้งการติดตามและประมวลผลการรณรงค์เผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ด้วย
(๑๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองและเพิกถอนการรับรององค์การเอกชนเพื่อตรวจสอบ การเลือกตั้ง
(๑๕) ควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการตรวจสอบการเลือกตั้ง
(๑๖) ประสานงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาและสื่อมวลชน ในการให้การศึกษา ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๑๗) กำหนดแนวทางและจัดทำคู่มือตรวจสอบการเลือกตั้ง การศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง แกไข ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบการเลือกตั้ง รวมทั้งรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลของ องค์การเอกชน และสมาชิกขององค์การเอกชน
(๑๘) ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง โดยการฟิกอบรม บุคลากรหรือสมาขิกขององค์การเอกชนในการตรวจสอบการเลือกตั้ง และกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่
(๑๙) จัดทำเอกสารวิชาการในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งและ การพัฒนาหลักสูตรการฟิกอบรมและพัฒนาการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
(๒๐) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับ การแต่งตั้งหรือมอบหมาย
(๒๑) การสร้างสรรค์สื่อประเภทต่าง ๆ ให้ตรงประเด็นและตรงกลุ่มเป้าหมาย จัดทำข้อกำหนด ขอบเขตของงานผลิตสื่อ การจัดทำสื่อเผยแพร่ รวมทั้งช่องทางการเผยแพร่สื่อ

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของส่วนงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด

๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ การดำเนินกิจการ พรรคการเมืองแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติ การดำเนินกิจการของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง การมีส่วนร่วม รวมทั้ง การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง มติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของ บุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว


พนักงานสืบสวนไต่สวนปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการสืบสวน สอบสวน ไต่สวน การวินิจฉัย และการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหรือการว่าคดีในศาล ที่ไม่ยาก ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รับคำร้องเรียนและคำร้องดัดด้านตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและ พรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ
(๒) เสนอความเห็นในการสั่งรับหรือไม่รับในกรณีมีการยื่นคำร้องเรียนหรือคำร้องดัดค้าน หรือการสั่งให้มีการสืบสวน สอบสวน และไต่สวนกรณีความปรากฏหรือปรากฏหลักฐานหรือสั่งยุติกรณีดังกล่าว สืบสวนสอบสวนและไต่สวนข้อเท็จจริง แสวงหาและตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลหลักฐานการสืบสวนสอบสวน และไต่สวน โดยการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง รายละเอียดของปัญหาหรือข้อโต้แย้ง หรือพิสูจน์ความผิด หรือดำเนินการทั้งหลายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและมติของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการเพื่อขอให้มีการตรวจสอบบัญขี การแจ้งรายงานการทำธุรกรรม และการแจ้งข่าวหรือข้อมูลเบาะแสของบุคคล คณะบุคคลหรือพรรคการเมืองจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมารวบรวมเพื่อให้ทราบรายละเอียดแห่งความผิดหรือเพื่อแสวงหาพยานหลักฐานอันควรเชื่อ
(๓) ดำเนินการเพื่อให้มีการออกหมายเรียก หมายอาญา หรือการอับกุมบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุ สงสัยว่ากระทำการใดอันเป็นการฝ่าผินหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ หรือดำเนินการเพื่อให้มีการค้นในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เมื่อปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝ่นหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ หรือดำเนินการ เพื่อเป็นการป้องกันหรือระงับเหตุการณ์กระทำดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น หรือดำเนินการเพื่อให้มีการตรวจ ค้น ยึด หรืออายัดเอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานใดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำอันเป็นการฝ่าฝ่นหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง และกฎหมายลี่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ และดำเนินการใด ๆ กับผู้กระทำความผิด หรือดำเนินการเพื่อให้มีมาตรการคุ้มครองพยานและการรักษาความลับ ของพยาน หรือเนินพยานไนคดี
(๔) ดำเนินการสืบสวน สอบสวน หรือไต่สวนกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏ ต่อคณะกรรมการไม่ว่าโดยทางใด ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งหรือผู้กล่าวหาหรือไม่ ว่ามีการกระทำใดอันเป็นการฝ่าฟินหรือ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ คณะกรรมการ หรือจะมีผลให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือการออกเสียงประชามติเป็นไป โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือดำเนินการเพื่อให้มีการแจ้งให้หน่วยงานชองรัฐหรือพนักงานสอบสวนโอนเรื่องหรือ ส่งสำนวนการสอบสวนเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาให้คณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง หรือกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ
(๕) จัดทำสำนวนการสืบสวน สอบสวนและไต่สวน ให้ความเห็นและพิจารณาวินิจฉัย เบื้องต้นในข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หลักฐาน เอกสาร และรายละเอียดจากการสืบสวนสอบสวนและไต่สวน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในประเด็นปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และ อำนาจของคณะกรรมการ รวมทั้ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในการสั่งให้มีการเลือกตั้งหรือการเลือกใหม่ ในหน่วยเลือกตั้งหรือเขตเลือกตั้ง หรือการสั่งระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ หรือการสั่งให้มีการออกเสียงประชามติใหม่ หรือการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิ สมัครรับเสือกตั้ง หรือเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่กรรมการสั่งระงับ ยับยั้ง แก่ไขเปลี่ยนแปลง หรือสั่งให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่สมควร ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง สมาขิกสภาผู้แทนราษฎร การเสือกสมาชิกวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมิได้ เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือการออกเสียงประชามติเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือให้ความเห็น ประกอบการพิจารณาในกรณีที่คณะกรรมการอาจจะไม่ดำเนินคดีแก่บุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำ ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือในกรณีที่จะต้องดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลใด เพื่อส่งให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล หรือในกรณีที่สั่งให้บุคคลใดระงับการดำเนินการใดไว้เป็นการชั่วคราว รวมทั้งตรวจสอบในส่วนของรายละเอียดและพิเคราะห์หาจุดบกพร่องหรือความน่าสงสัยอันควรมีในกระบวนการสืบสวน สอบสวน ไต่สวน และการดำเนินคดี
(๖) จัดทำคำวินิจฉัยของคณะกรรมการทุกประเภท จัดทำความเห็น คำร้อง คำขอ คำแถลง และคำคู่ความของคณะกรรมการเพื่อยื่นต่อศาลหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหรือ ว่าคดีแทนคณะกรรมการในคดีอันเกี่ยวกับการฝ่าฝ่นหรือไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ

(๗) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และเสนอแนะเพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงแกไข กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวทางปฏิบัติงาน พัฒนาระบบและวิธีการสืบสวน สอบสวน และการไต่สวนให้มี ความรวดเร็ว ชัดเจน และทันสมัย และเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการดำเนินการตามกฎหมาย เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ รวมทั้ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
(๘) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อเสนอแนะ ในการพัฒนารูปแบบ ระบบ และวิธีการจัดทำคำวินิจฉัย ความเห็น คำร้อง คำขอ คำแถลง และคำคู่ความ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและการว่าคดีในศาล รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบแนวทางการพิจารณา การวินิจฉัย คำวินิจฉัย คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหรือองค์กร■ชี้ขาดอื่น และตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๙) เข้าร่วมประชุม ตอบปัญหา ชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ในงานที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบและ งานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานทางด้านข้อมูลและการข่าวเกี่ยวกับการกระทำดันเป็นการฝ่าฟินหรือไม่ ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง และกฎหมายอื่นที่อยู่ในหน้าที่และ อำนาจของคณะกรรมการจากหน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจการเลือกตั้ง และแหล่งข่าวต่าง ๆ เพื่อให้มีฐานข้อมูลและ การข่าวที่เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน และไต,สวนให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการวางมาตรการป้องกันการกระทำผิดในส่วนที่เป็นหน้าที่และอำนาจของ คณะกรรมการ
(๑๐) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือส่วนงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือส่วนงานทีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษา แนะนำ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสนับสบุนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การสืบสวน สอบสวน หรือไต่สวน การวินิจฉัย การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและการว่าคดีในศาล แก่บุคคล คณะบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นิติกรปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือ หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับระเบียบของคณะกรรมการหรือระเบียบสำนักงานที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและ เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการ เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยของพนักงาน การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมาย ปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล และการดำเนินคดีของหน่วยงาน
(๔) ปฏิบัติงานฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการด้านกฎหมาย เพื่อจัดประชุมเสนอความเห็น จัดทำระเบียบ วาระ และรายงานการประชุม
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของส่วนงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง เพื่อสร้างความเช้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคล หรือหน่วยงานดังกล่าว


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทีต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และประมวลนโยบายของคณะกรรมการ รัฐบาล สถานการณ์ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบาย และเป้าหมายของสำนักงาน หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือ ความมั่นคง
(๒) รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ ของสำนักงาน หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หรือโครงการ ให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(๓) วิเคราะห์นโยบายของสำนักงาน หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(๔) สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายของคณะกรรมการ และประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำ แผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของคณะกรรมการ เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผล ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของส่วนงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) รวบรวมข้อมูลเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน โครงการ
(๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผน เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน


นักทรัพยากรบุคคลปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การจัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงาน เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการ และความจำเป็น ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษาและการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนและ เสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน และแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและ การฟิกอบรม
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่ง และ การวางแผนอัตรากำลังของส่วนงาน
(๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหาร ผลการปฏิบัติงานและการบริหารค่าตอบแทน
(๖) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ถ้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการ ทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรรเพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานของตนเอง ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของส่วนงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลส์มฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องกับภาพรวม ผลงานของทีมงาน ประสานงานกับสมาชิกภายในทีมงาน ให้ความช่วยเหลือภายในทีมงาน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) อธิบายการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจและความร่วมมือในการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของสำนักงาน
(๒) ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจ ของบุคคลหรือหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่าง ๆ
(๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน


นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในสำนักงาน หรือการบริหารงานทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านบริหารงบประมาณ ด้านบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหาร งานสืบสวนสอบสวน งานพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง งานการมีส่วนร่วม งานกฎหมาย งานตรวจการ งานอาคารสถานที่ เป็นต้น
(๒) ปฏิบัติงานเลขาบุการของผู้บริหารหรือคณะกรรมการ เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เถิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารหรือ
คณะกรรมการ
(๓) จัดเตรียมการประชุม บันทึก และเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่น ๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของส่วนงาน
(๔) ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
(๕) ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหาร หรือคณะกรรมการของส่วนงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานของตนเอง ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของส่วนงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
ประสานการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องกับภาพรวม ผลงานของทีมงาน ประสานงานกับสมาชิกภายในทีมงาน ให้ความช่วยเหลือภายในทีมงาน เพื่อให้ได้ผลสัมถุทธิ้ตามที่กำหนดไว้

๔. ด้านการบริการ
ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจ ในงานที่รับผิดชอบ


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฎิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านตรวจสอบภายในภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ
มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและตรวจสอบความลูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลตัวเลข หลักฐาน การทำสัญญาและเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างลูกต้อง และได้ผล ตรงกับหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง
(๒) ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณการเงินพัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารด้านอื่น ๆ ของสำนักงาน เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพสูงและตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
(๓) จัดทำรายงานการตรวจสอบรายเดือนเพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะ
ให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบผลการดำเนินงาน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ต้านการบริการ
ฟิกอบรม ใท้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการ ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจพนักงาน และเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหา ข้อขัดแย้งในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ทีสนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อแสดงสถานะทางการเงิน และใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) รวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินของสำนักงาน เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของสำนักงาน เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ ตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละส่วนงาน
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบคณะกรรมการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชีแก่พนักงานระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรมและ วิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและ ข้อกำหนด
(๗) ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินและการควบคุมการเบิกจ่ายเงินตามแผนงานโครงการ
(๘) ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท การจัดทำงบดุล งบการเงิน การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
(๙) ศึกษา วิเคราะห์งบการเงินและตรวจสอบบัญชีของพรรคการเมือง เพื่อจัดทำความเห็น เสนอคณะกรรมการก่อนประกาศให้สาธารณชนทราบ

(๑๐) ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงระบบบัญชีหน่วยงาน การให้คำปรึกษาแก่พนักงาน ผู้ปฏิบัติงานการเงินของสำนักงาน
(๑๑) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่สำนักงาน เพื่อให้พนักงานของสำนักงานได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
(๓) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง และแก่ไขปัญหาข้อขัดช้องต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดกิจกรรมตามโครงการประชาสัมพันธ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
(๒) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนและรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และสรุปผล เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
(๓) ศึกษา ด้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อประกอบการวิจัยวางแผนการประชาสัมพันธ์และ ติดตามผล
(๔) จัดทำเอกสารและผลิตบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานทีรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเช้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ


นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิเทศสัมพันธ์ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่างโต้ตอบหนังสือเป็นภาษาต่างประเทศ งานแปลเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศ
(๒) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และติดตามประเมินผล จัดทำบันทึกสรุปรายงานการประชุม ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชา
(๓) จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการเจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ เพื่อให้การประชุม เจรจาบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการเกี่ยวกับทุนการศึกษา ■ฝึกอบรมดูงานผู้เชี่ยวชาญ วัสดุอุปกรณ์ อาสาสมัครองค์การพัฒนาเอกชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานความร่วมมือ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปด้วย ความราบรื่น
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที,กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
(๑) เผยแพร่ความรู้ทั่วไปด้านการต่างประเทศแก่ผู้มาติดต่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและ ถูกต้อง เผยแพร่ความรู้ให้คำปรึกษาและชี้แจง ตอบปัญหาด้านการต่างประเทศแก่ผู้ที่มาติดต่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ อันดีและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
(๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานด้านต่างประเทศเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่ง ระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูประบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยการให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในความรับผิดชอบ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแกไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้องตรงตาม ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงานอยู่เสมอ
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผน ไว้แล้ว เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องชองคำสั่ง แกไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูล ของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และ ตรงตามความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์ และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานของเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่องให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งส่วนงาน และตรงตามความต้องการ ลักษณะการใช้งานของส่วนงาน

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของส่วนงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลส้มฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผูใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแถ่ผูใช้ให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง
(๒) ดำเนินการฟิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ผูใช้งานระดับรองลงมา
(๓) ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ใช้ในการนำระบบไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการพัสดุภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุเพื่อกำหนดคุณภาพและมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักงานและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชีหรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(๔) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครองเพื่อใท้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพหรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำใน การปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและปีกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการปีกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ถกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้

(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับ เบื้องต้นแก่ส่วนงานต่าง ๆ ในสำนักงาน เพื่อให้พนักงานได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบายแผนงานหลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ซัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก ราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการด้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไวิใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้ เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อ ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นด้วยความราบรื่น
(๒) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่องาน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(๓) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสบุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
มีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งาน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณ ประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงาน และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ หน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่มกับส่วนงานอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือ ในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

พนักงานเลือกตั้งปฎิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)

ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป

๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้

๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)

(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใฃ้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วย พรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


พนักงานสืบสวนไต่สวนปฎิบัติการ

-๔-
หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใข้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบ เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วย พรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการสืบสวน การสอบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด การดำเนินคดีในศาลในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและทางอาญา การวิเคราะห์กฎหมาย การยกร่างกฎหมายและ การให้บริการทางวิชาการทางกฎหมาย การรวบรวมพยานหลักฐาน การให้ความเห็น การพิจารณาวินิจฉัยเบื้องต้น ในข้อเท็จจริง หลักฐานเอกสารรายละเอียดจากการสืบสวน สอบสวน และไต่สวน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสคบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นิติกรปฎิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐0 คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วย พรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๓) ความรู้เกี่ยวกับการสืบสวน การสอบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด การดำเนินคดีในศาลในลำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและทางชาญา การวิเคราะห์กฎหมาย การยกร่างกฎหมายและ การให้บริการทางวิชาการทางกฎหมาย การรวบรวมพยานหลักฐาน การให้ความเห็น การพิจารณาวินิจฉัยเบื้องต้น ในข้อเท็จจริง หลักฐานเอกสารรายละเอียดจากการสืบสวน สอบสวน และไต่สวน เพื่อประกอบการพิจารณา วินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฎิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ชองสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๔๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใชในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ การติดตามและประเมินผล และการบริหารจัดการ
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว ขีงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักทรัพยากรบุคคลปฎิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๔๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วย พรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการบริหารงานภาครัฐ
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใชในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วย พรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผน การประสานงาน การบริหารจัดการภายในองค์กร และการบริหารงานทั่วไป

๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคควาXแหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฎิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใฃ้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเช้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาขิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมายว่าด้วย พรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๓) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการดำเนินงาน การบริหารจัดการงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การบัญชี และการพัสดุ
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในต้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ กฎหมายวำด้วยการจัดชื่อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕0 คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาขิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับระบบการเงิน บัญชี และงบประมาณ การบริหารเงินและงบประมาณ การจัดทำ สอบทาน ข้อมูลทางการเงิน รายงานการเงิน และวิเคราะห์รายงานทางการเงิน หลักการและนโยบาย การบัญชี มาตรฐานทางบัญชี นโยบายแผนงานโครงการ และการวางแผนค่าใช้จ่ายระบบและการปฏิบัติงานด้านพัสดุ
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เช้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะศรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสื่อสารมวลชน หลักการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ การวางแผนประชาสัมพันธ์ การจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารในยุคดิจิทัล และการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในรูปแบบและช่องทางต่าง ๆ การวิเคราะห์ประเด็น การเรียบเรียงข้อมูล และการเขียน เพื่อการประชาสัมพันธ์

๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเช้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียน ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (ปรนัย ๓๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางต้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ วิชาภาษาอังกฤษเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ปรนัยและอัตนัย ๗๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (structure, Vocabulary and Reading Comprehension) (ปรนัย ๓๐ คะแนน)
(๒) ความสามารถในการวิเคราะห์ สรุป และจับประเด็นสำคัญ แปลความจาก ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ แปลความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และการร่างหนังสือโต้ตอบเป็น ภาษาอังกฤษ (อัตนัย ๔๐ คะแนน)

-๓-
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัตการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเช้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ และพัฒนาฐานข้อมูลทั่วไป รวมทั่งระบบ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั่งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเช้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั่งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั่งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใซ้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของ ทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาขิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ขึ๋นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.๑ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ไนหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ หรือบริการทั่วไป
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ขึ้นไป
๒. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ทดสอบโดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย ดังนี้
๒.® ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน (๕๐ คะแนน)
(๑) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใชในการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ และระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
(๓) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๒.๒ ความรู้ความเข้าใจในภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (๕๐ คะแนน)
(๑) ยุทธศาสตร์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของคณะกรรมการ การเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ การเลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา กฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน การคลัง และการบัญชี รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับระบบ GFMIS
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) โดยวิธีการสัมภาษณ์ เป็นการประเมินบุคคล เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกต พฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมพิจารณาความเหมาะสม กับในด้านต่าง ๆ เข่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) แล้ว จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบภาคความเหมาะสม กับตำแหน่ง (ภาค ค)

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กกต. :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. – 15 มี.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กกต.

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |