“มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย“
ลิงค์: https://ehenx.com/12344/ หรือ
ตำแหน่ง: อาจารย์,นักทรัพยากรบุคคล,นิติกร,เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน,นักบัญชี,นักวิชาการการเงินและบัญชี,นักวิชาการพัสดุ,นักประชาสัมพันธ์,นักวิชาการคอมพิวเตอร์,เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล,นักวิชาการศึกษา,เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโท,ปริญญาเอก
อัตราเงินเดือน: 22,500-35,700
อัตราว่าง: 37
ปฏิบัติงานที่: นครปฐม (มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย)
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 5 ก.พ. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ด้วยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจะรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และข้อ 27 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2541 ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารงานบุคคลในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 และ มติคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามคุฏราชวิทยาลัย ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 จึงประกาศรับสมัครบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในส่วนงานต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อาจารย์
อัตราว่าง : 1 อัตรา
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ส.ค. -9 ส.ค. 2567
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 ส.ค. -23 ส.ค. 2567
- กรมวิชาการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 5 ส.ค. -26 ส.ค. 2567
- ท่าอากาศยานไทย เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-9 ส.ค. 2567 รวม 608 อัตรา,
- กรมเจ้าท่า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-30 ก.ค. 2567 รวม 19 อัตรา,
อัตราเงินเดือน : 29750-35700 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาโท
นักทรัพยากรบุคคล
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นิติกร
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักบัญชี
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการการเงินและบัญชี
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการพัสดุ
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักประชาสัมพันธ์
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการศึกษา
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
อัตราว่าง : 5 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 22500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
อาจารย์
- ปริญญาโท ในสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา, พุทธศาสน์ศึกษา, ปรัชญา, ศาสนาและปรัชญา
หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์ ปริญญาเอก ในสาชาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา,หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์ - ปริญญาเอก ในสาชาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา,พุทธศาสน์ศึกษา, ปรัชญา, ศาสนาและปรัชญา หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา,พุทธศาสน์ศึกษา, ปรัชญา, ศาสนาและปรัชญา หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา,พุทธศาสน์ศึกษา, ปรัชญา, ศาสนาและปรัชญา หรือสาขาวิชาที่สัมพ้น่ธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา,ปรัชญา, ศาสนาและปรัชญา หรือสาชาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึลปี, โบราณคดี, หรือสาชาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต,ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, รัฐศาสตร์, การปกครอง หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, รัฐศาสตร์, การปกครอง, การปกครองท้องถิ่น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, รัฐศาสตร์, การปกครอง หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, การจัดการภาครัฐนโยบายสาธารณะ, บริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชาสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์, สังคมวิทยา, สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษาหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษาหรือสาชาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาการประถมศึกษาหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย, ภาษาไทย,หลักสูตรและการสอน หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก ในสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษ,ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือสาขาวิขาทื่สัมพันธ์
- ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์
นักทรัพยากรบุคคล
ปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
นิติกร
ปริญญาตรี ในสาขาวิชานิติศาสตร์
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
นักบัญชี
ปริญญาตรีในสาขาวิชาการบัญชี, บริหารธุรกิจ ด้านการบัญชี
นักวิชาการการเงินและบัญชี
ปริญญาตรีในสาขาวิชาการเงินและบัญชี, การเงิน,การเงินและการธนาคาร, บริหารธุรกิจด้านการบัญชี บริหารธุรกิจด้านการเงิน, เศรษฐศาสตร์การเงิน หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์ถับการเงิน
นักวิชาการพัสดุ
ปริญญาตรีทุกสาชาวิชา
นักประชาสัมพันธ์
ปริญญาตรีในสาขาวิชาประชาสัมพันธ์, วารสารศาสตร์, สื่อสารมวลชน, นิเทศศาสตร์, วิทยาการลื่อสาร, การตลาด หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กับประชาสัมพันธ์
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ปริญญาตรีในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล
ปริญญาตรีในสาขาวิชาสถิติประยุกต์, คณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์, การวัดและประเมินผลการศึกษา, วิทยาการคอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ศึกษา, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กับการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ
นักวิชาการศึกษา
ปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
ปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
อาจารย์
ปฏิบัติงานด้านการสอน ได้แก่ การศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย ประมวล สรุปและเสนอแนวความคิด เพื่อปรับปรุงและพัฒนาทางวิชาการ วิชาชีพ และเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วางแผนการสอน เตรียมการสอนและดำเนินการสอนแก่นักศึกษาและผู้เรียน วัดและประเมินผลการเรียนการสอน พัฒนาเอกสารทางวิชาการ ตำรา สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ ตลอดจนเทคนิค วิธีการเพื่อการก่ายทอดที่เหมาะสม แก่ผู้เรียนให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวการศึกษาแก่นักศึกษา และผู้เรียน ประสานงานและร่วมในการปรับปรุงพัฒนา หลักสูตรการศึกษา การเผยแพร่ความรู้และการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาอื่น ๆ รวมทั้งการให้บริการวิชาการ แก่ชุมชนและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาจารย์ทุกรูป/คนต้องมีภาระงานตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นตํ่าของมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยภาระงาน ๔ ด้าน คือ งานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
นักทรัพยากรบุคคล
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล การวางแผนทรัพยากรบุคคล การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง การผึเกอบรมและพัฒนาบุคลากร การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การรักษาจรรยาและวินัย การออกจากงาน การคุ้มครองระบบคุณธรรม และปฏิบัติงานหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นิติกร
ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณา วินิจฉัยปัญหากฎหมาย ร่างและพิจารณาตรวจร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดี การสอบสวน ตรวจพิจารณา ดำเนินการเกี่ยวกับวินัย การร้องทุกข์ หรืออุทธรณ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบาย วิเคราะห์งบประมาณ และการวางแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานแผน ประมวลแผน พิจารณาเสนอแนะเกี่ยวกับ นโยบายและเปัาหมายของมหาวิทยาลัย หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารหรือความมั่นคงในระดับประเทศ รวมถึงประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย จัดทำแผนหรือโครงการของมหาวิทยาลัย หรือใช้เป็นข้อมูลสำหรับกำหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้วแต่กรณีและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักบัญชี
ปฏิบัติงานทางวิชาการบัญชี ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชี การรับรอง ความถูกต้องทางการบัญชีและการเงิน การวิเคราะห์งบดุล การจัดทำบัญชีที่มีลักษณะพิเศษ การวางระบบและปรับปรุง แก้ไขระบบบัญชี การวางรูปบัญชี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการการเงินและบัญชี
ปฏิบัติงานทางวิชาการเงินและบัญชี ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ การบัญชีทั่วไปของส่วนราชการ การศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม ประเมินผล การใช้จ่ายเงิน การวิเคราะห์ฐานะ ทางการเงินและบัญชี การวิเคราะห์งบประมาณ การพัฒนาระบบงานคลัง การตรวจสอบความถูกต้องของการลงบัญชี ประเภทต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการพัสดุ
ปฏิบัติงานทางวิชาการพัสดุ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียด ของงานพัสดุเพื่อกำหนดมาตรฐานและคุณภาพ การตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้าง สัญญาซื้อและสัญญาจ้าง และการบริหารสัญญา การเสนอความเห็นเกี่ยวกับพัสดุ การวางระบบเกี่ยวกับระเบียบ และวิธีการปฏิบัติงาน ด้านการพัสดุ ตรวจสอบและจัดทำรายงานทางการเงินที่เกี่ยวกับคลังพัสดุของมหาวิทยาลัย และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้อง
นักประชาสัมพันธ์
ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมตามโครงการ ประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และสรุปผลเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการประชาสัมพันธ์ ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวางแผนการประชาสัมพันธ์และติดตามผล จัดทำเอกสาร และผลิตบทความ เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ปฏิบัติงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนด คุณสมบัติของเครื่อง จัดระบบติดตั้ง เชื่อมโยงระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบเกี่ยวกับชุดคำสั่ง ระบบชุดคำสั่งประยุกต์ การจัดทำคู่มือการใช้คำสั่งต่าง ๆ กำหนดคุณลักษณะ ติดตั้งและใช้เครื่องมือชุดคำสั่งสื่อสาร การจัดและบริหารระบบสารสนเทศ รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้คำปรึกษาแนะนำ อบรมเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ แก่บุคคล หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล
ปฏิบัติงานด้านสนับสนุนวิชาการศึกษา ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการสนับสนุนแน่วทาง ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำนโยบาย แผน มาตรฐานการศึกษา หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ รวมถึงการพัฒนา หลักสูตรแบบเรียน สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา การส่งเสริมการจัดการศึกษา การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาร่วมกับคณะต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการศึกษา
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานทะเบียน งานประมวลผล งานเอกสารการศึกษา และงานสำเร็จการศึกษา ซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การลาพักการศึกษา การตรวจสอบวุฒิการศึกษา ประมวลผลการศึกษา จัดทำหนังสือรับรอง การตรวจสอบการสำเร็จการศึกษา การอนุมัติการสำเร็จการศึกษา การขึ้นทะเบียนบัณฑิต และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับปริญญาบัตร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในสำนักงานและการบริหารทั่วไป ซึ่งมีลักษณะงาน ที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูล สถิติ การรายงาน ช่วยวางแผนและติดตามงาน การติดต่อ นัดหมาย จัดงานรับรองและงานพิธีต่าง ๆ เตรียมเรื่องและเตรียมการสำหรับการประชุม จดบันทึก และเรียบเรียง รายงานประชุมทางวิชาการ และรายงานอื่น ๆ ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ติดตามผลการปฏิบัติงาน ตามมติที่ประชุมหรือผลการปฏิบัติงานตามคำสั่ง หรือมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมและบริหารงาน ทั่^ หลายด้านด้วยกัน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
วิชาที่สอบ
สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์
วิธีการคัดเลือก
รอบที่ 1 การสอบข้อเขียน ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้
- การสอบความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับอาจารย์ (T) (ภาคเข้า)
เป็นการวัดความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นต้น (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) - การสอบทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (ภาคบ่าย) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
รอบที่ 2 การสอบสอน และการสอบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยการประเมิน 2 ส่วน ดังนี้
1. การสอบสอน
ประเมินความรู้เฉพาะสาขาวิชา ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และความเหมาะสมในการเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยจากการสอนในสาขาวิชาที่สมัครตามหัวข้อที่ระบุไว้ใน ใบสมัคร และด้วยสื่อประกอบการสอนที่จัดเตรียมมา โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
2. การสอบสัมภาษณ์
ประเมินบุคลิกภาพ พฤติกรรม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นหมู่คณะ ทักษะและความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยและวัฒนธรรมประเพณีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งและ การเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจพิจารณาให้ทำแบบทดสอบ หรือทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อประกอบการพิจารณา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เกณฑ์การตัดสิน
- ผู้ผ่านการสอบความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับอาจารย์ (T) และการสอบทักษะ การเขียนเชิงวิชาการ ต้องได้คะแนนรวมกันไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 70 จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบสอนและการสอบ สัมภาษณ์
- ผู้ผ่านการสอบสอนและการสอบสัมภาษณ์ต้องได้คะแนนไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 70 ทั้ง 2 ส่วน จึงจะมีสิทธิเข้ารับการพิจารณาตามเกณฑ์การตัดสินใน
- มหาวิทยาลัยจะพิจารณาการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกโดยเรียงตามลำดับผลคะแนน สอบสัมภาษณ์
สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป
วิธีการคัดเลือก
รอบที่ 1 การสอบข้อเขียน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. การสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาคเช้า)
การทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (A และ B) เป็นการวัดความรู้ ความสามารถด้านการคิดคำนวณ ด้านการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์ ด้านความเช้าใจและการใช้ภาษา (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และด้านพระพุทธศาสนาและความรู้ทั่วไป (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
กรณีพระภิกษุ ทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับพระภิกษุ (A)
กรณีคฤหัสถ์ ทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไปสำหรับคฤหัสถ์ (B)
ทั้งนี้ ผู้สมัครที่ผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. (ภาค ก) แล้ว ให้เช้าสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งได้ในภาคบ่าย โดยไม่ต้องเช้าสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ที่มหาวิทยาลัยจัดสอบในภาคเช้า
2. การสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาคบ่าย)
เป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามลักษณะงานของ แต่ละตำแหน่ง ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
รอบที่ 2 การสอบสัมภาษณ์
เป็นการประเมินบุคลิกภาพ พฤติกรรม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ การทำงาน เป็นหมู่คณะ ทักษะและความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัย วัฒนธรรมประเพณีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งและ การเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยจากการสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจพิจารณาให้ทำแบบทดสอบ ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือ ทดสอบปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานของแต่ละตำแหน่ง เพื่อประกอบการพิจารณา
เกณฑ์การตัดลืนฺ
- ผู้ที่ผ่านการสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ต้องได้คะแนนไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 60 หรือผ่านการสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) จาก ก.พ. แล้ว จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาตามเกณฑ์ การตัดสินใน
- ผู้ผ่านการสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ต้องได้คะแนนไม่ตํ่ากว่า ร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์
- ผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์ต้องได้คะแนนไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิได้ขึ้นบัญชี ผู้ผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ในการเข้ารับการสอบให้ผู้สมัครใช้บัตรประจำตัวประขาชน (กรณีคฤหัสถ์) หรือหนังสือ สุทธิ (กรณีพระภิกษุ) แสดงตนในการเข้าสอบทุกครั้ง อนึ่ง ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่งอันทำให้ ไม่สามารถใช้วิธีการคัดเลือกหรือเกณฑ์การตัดสินข้างต้น ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการบรรจุและ แต่งตั้งบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามคุฏราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2464 พิจารณาเป็นรายกรณี และการวินิจฉัยของคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการบรรจุแต่งตั้งๆ ถือเป็นที่สุด
วิธีการสมัครงานพนักงาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย :สมัครทางไปรษณีย์
ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย www.mbu.ac.th แล้วส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยให้ผู้สมัครกรอกใบสมัคร พร้อมแนบหลักฐาน ประกอบการสมัครและหลักฐานการชำระเงิน ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนไปที, ฝายวิเคราะห์งานบุคคล มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย ห้อง 406 ชั้น 4 อาคารสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (B 7,3) มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย เลขที่ 248 หมู่ 1 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 โดยเขียนกำกับที่มุมขวาล่างของหน้าซองว่า “สอบบรรจุปี 2464” ภายในวันและเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย เลขที่ 248 หมู่ 1 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม73170 ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2564 – 5 กุมภาพันธ์ 2564 (ในวันและเวลาราชการ)
ทั้งนี้ ผู้สมัครเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมฝากส่งไปรษณีย์ เนื่องจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงแพร่ระบาด มหาวิทยาลัยไม่รับการติดต่อหรือการสมัครสอบด้วยตนเองในสถานที่ชองมหาวิทยาลัยทุกกรณี
ดาวน์โหลดไฟล์ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย