“กรมสรรพากร“
ลิงค์: https://ehenx.com/12231/ หรือ
ตำแหน่ง: นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 631
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 25 ม.ค. – 17 ก.พ. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมสรรพากร เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ด้วยกรมสรรพากรจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัิตงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : อัตรา
อัตราเงินเดือน : บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันะ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ สาขาวิชขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
- ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมทบริการ สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษาวรรณคดี จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ สาขาวิชาการจัดการทรัพยกรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาิวชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาับนการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
- ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน้ดานตรวจสอบภาษี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ตรวจสอบผู้เสียภาษีที่เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในความดูแลในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี เช่น ตรวจสภาพกิจการ วิเคราะห์ข้อมูลการยื่นแบบชำระภาษี ตรวจสอบยันใบกำกับภาษี ฯลฯ เพื่อให้การบริการจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริง เกิดความเสมอภาคครบถ้วน และไม่ก่อให้เกิดหนี้ภาษีอากรค้าง
- ประมวลผลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและข้อพิจารณาลงนามอนุมัติผลการตรวจสอบต่อไป
- สืบสวน ป้องกัน ปราบปราม และจับกุมการหลีกเลี่ยง และลักลอบการหนีภาษี เพื่อให้การจ่ายภาษีอากรเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อใดห้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทะิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในความดูแล เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายของส่วนราชการ รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจและเสียภาษีไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมได้
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านสรรพากร ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- รับแบบแสดงรายการ คำร้อง คำขอรับใบอนุญาต และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารหลักฐานต่างๆ และตรวจสอบ ควบคุมการตรวจสอบแยกแฟ้มแสดงรายการและเอกสารที่แนบพิจารณาคำร้อง คำขอหรือเรื่องราวอื่นๆ ในขั้นต้น เพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตต่างๆ ตามที่ยื่นเรื่องขอไว้
- เก็บรักษาหรือค้นหาหลักฐานและเรื่องอื่นๆ ของผู้เสียภาษีและผู้ประกอบการและรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา
- ควบคุม ตรวจสอบโรงงานในด้านการผลิต การบรรจุภาชนะ การปิดแสตมป์อากรการขนส่งและการจัดจำหน่าย เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตในการดำเนินงาน
- เร่งรัดภาษีอากรค้าง พิจารณาคืนภาษี ยกเว้นภาษี หรือเรียกค่าปรับ เพื่อเรียกเก็ฐภาษี
- รับเบิกจ่าย เก็บรักษา นำส่งเงิน แสตมป์อากรและแบบพิมพ์ ออกหลักฐาน ลงบัญชีและทะเบียนต่างๆ เพื่อเก็บรักษาหลักฐานต่างๆ ไว้เป็นข้อมูลของหน่วยงาน
- ปรับปรุง แก้ไข ติดตาม ประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานภายในหน่วยงานสำเร็จลุล่วง
- ช่วยคำนวณเกี่ยวกับภาษีอากรที่ไม่ยุ่งยาก ลงรหัสในแบบแสดงรายการเสียภาษีประมวลสถิติเกี่ยวกับภาษี เพื่อเป็นข้อมูลในการเก็บภาษีและเป็ฯข้อมูลในการดำเนินงานอื่นๆ
- ร่วมสอดส่องและตรวจการธุรกิจในอำเภอ/จังหวัด เพื่อควบคุม ดูแลการดำเนินงานและการจ่ายภาษีของธุรกิจ/ผู้เสียภาษีนั้นๆ
- ออกกำหนดรายรับขั้นต่ำในกิจการขนาดเล็กถึงใหญ่
- รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงาน เพื่อจัดทำรายงาน และเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
- ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ปฏบิัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
- ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
- ร่างและตรวจสซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
- รายาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
- ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
- ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
วิชาที่สอบ
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ จำนวนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงิน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
- ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้า่ใจเกี่ยวกับภาษาัองกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักภาษีอากร และประมวลรัษฎากร
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
- ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้า่ใจเกี่ยวกับภาษาัองกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน แบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ความรู้ เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และความรู้เกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
- ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
- ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน
ทดสอบความรู้ ความเข้า่ใจเกี่ยวกับภาษาัองกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมสรรพากร :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. – 17 ก.พ. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมสรรพากร
แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |