“สำนักงานศาลยุติธรรม“
ลิงค์: https://ehenx.com/1194/ หรือ
ตำแหน่ง: รวม25อัตรา,เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม,นิติกรปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ป.ตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 25
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 12 พ.ย. – 30 พ.ย. 2561
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สำนักงานศาลยุติธรรม เปิดรับสมัครสอบ
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสำนักงานศาลยุติธรรม
ด้วยสำนักงานศลยุติธรรมจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแตง่ตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสำนักงานศาลยุติธรรม จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ รายละเอียดดังต่อไปนี้
- กรณีผ่านภาค ก. ก.พ. >> ใช้ผลคะแนนการสอบผ่านภาค ก. ก.พ. แทนการสอบภาค ก. ศาลยุติธรรมได้
- กรณีไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. >> ต้องสอบภาค ก. ศาลยุติธรรม สอบผ่านได้ขึ้นทะเบียนไม่ต้องสอบภาค ก. ศาลยุติธรรม ในการสอบที่จัดสอบโดยสำนักงานศาลยุติธรรมครั้งต่อๆ ไป
ตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ
อัตราว่าง 20 อัตรา
ระดับคุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
อัตราว่าง 5 อัตรา
ระดับคุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นิติกรปฏิบัติการ
- สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ม.ค. 2568 รวม 27 อัตรา,
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเขาวง เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 28 ก.พ. -5 มี.ค. 2568
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-9 ธ.ค. 2567 รวม 6 อัตรา,
- กรมควบคุมมลพิษ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-13 ธ.ค. 2567 รวม 7 อัตรา,
- สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-12 ธ.ค. 2567 รวม 10 อัตรา,
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชาทางอาชญาวิทยากระบวนการยุติธรรม ทางศิลปศาสตร์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นิติกรปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ วินิจฉัย วิจัย พัฒนามาตรฐานงานทางกฎหมาย งานนิติการ การตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับ แนะนำ และตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
- ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานสรุปความเห็น จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับงานไกล่เกลี่ย และประนอมข้อพิพาททางเลือก การอนุญาโตตุลาการ ตามที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานสรุปความเห็น จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินการ และการพัฒนางานไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางเลือก การอนุญาโตตุลาการ เพื่อเป็ฯทางเลือกในการยุติความขัดแย้งได้ตามวัตถุประสงค์และสร้างความเชื่อถือ และเชื่อมั่นต่อประชาชน
- ศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการในด้านความตกลง และกฎมหายว่าด้วยความร่วมมือทางการศาลระหว่างประเทศ ทั้งทางแพ่งและอาญา ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อใช้สนับสนุนให้การดำเนินการในเรื่องต่างๆ อาทิ การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายสนธิสัญญา กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่มีลักษณะเฉพาะด้านของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์ของข้าราชการศาลยุติธรรม ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานราชการศาลยุติธรรม ตามที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานสรุปความเห็น จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับงานบังคับคดีและสืบทรัพย์นายประกัน ปฏิบัติงานในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
- ตรวจสอบ และให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการยกร่าง แก้ไข นิติกรรมสัญญา และข้อตกลงในเรื่องต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสำนักงานศาลยุติธรรม และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ดำเนินการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในคดีที่สำนักงานศาลยุติธรรม หรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดซึ่งปฏิบัติราชการแทนหน่วยงานเป็นความเพื่อช่วยแก้ต่าง และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัยของศาลฎีกาตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้การจัดทำย่อคำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่ง และคำวินิจฉัยบรรลุเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลกฎหมายและข้อมูลบวิชาการทางกฎหมายในด้านต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อใช้ประกอบการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือ และสื่อสารสนเทศอื่นทางกฎหมาย และวิชาการกฎหมายของศาลยุติธรรม
- เสนอความเห็นทางกฎหมายแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานศาลยุติธรร และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
- ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลกฎหมาย หรือข้อมูลทางวิชาการกฎหมายในสาขาต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และในต่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินการพัฒนากฎหมาย
ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานในความรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายการบริหารราชการของศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม
ด้านการประสานงาน
- ประสานงานกับหน่วยงานภายในหน่วยงานภายนอก องค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานทางกฎหมายและคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ
- ประสานงานกับทีม โครงการ หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอกองค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย เกี่ยวกับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อคำถามในเบื้องต้น หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับความรู้ทางกฎหมายเบื้องต้น การปฏิบัติตัวเมื่อมาติดต่อราชการศาลยุติธรรม และกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
- ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อคำถามในเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีในข้อกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินการของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
- ให้บริการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง และคำคู่ความ การขอปล่อยตัวชั่วคราว การจัดทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาชั้นทุเลาการบังคับคดี รวมทั้งให้คำแนะนำด้านกฎหมายแก่ประชาชนเพื่ออำนวยความสะดวก และสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- จัดทำสื่อประกอบการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ทางกฎหมาย เพื่อเผยแพร่การเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้แก่ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
- ค้นคว้าข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา จะเก็บเอกสารข้อมูลทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนให้การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ร่วมจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ วินิจฉัย วิจัย พัฒนามาตรฐานในงานธุรการคดีและงานธุรการทั่วไป การตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับ แนะนำ และตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบบรรดาคำฟ้อง คำคู่ความ สำนวนความและเอกสาร หมายและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการคดีตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย คดีเยาวชนและครอบครัว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และคดีพิเศษอื่นๆ ตั้งแต่การรับจนคดีถึงที่สุด เพื่อสนับสนุนให้การพิจารณามีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล และดำเนินการในงานธุรการทั่วไปตามที่ได้รับมอบหมาย อาทิ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป งานนโยบายและแผน งานบริหารงบประมาณ งานติดตามประเมินผล งานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดทำระบบงาน งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานบริหารอาคารสถานที่ งานสารนิเทศ งานเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานประชุมและสัมมนา งานต่างประเทศ งานเลขานุการนักบริหาร และงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- เตรียมความพร้อมก่อนการพิจารณาพิพากษาคดี ปฏิบัติงานศูนย์นัดความและศูนย์ประสานงานพยา การจัดทำแผนที่พิพาทและเดินเผชิญสืบ เพื่อสนับสนุนให้การสืบพยานและการพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อใช้ประกอบการวางระบบ พัฒนาระบบ พัฒนามาตรฐาน แผนงาน โครงการ ในระบบงานธุรการคดีทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีล้มละลาย คดีเยาวชนและครอบครัว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แล้วคดีพิเศษอื่นๆ และในระบบงานธุรการทั่วไป อาทิ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป งานนโยบายและแผน งานบริหารงบประมาณ งานติดตามประเมินผล งานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล งานจัดระบบงาน งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานบริหารอาคารสถานที่ งานสารนิเทศ งานเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานประชุมและสัมมนา งานต่างประเทศ งานเลขานุการนักบริหาร และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้การปฏิบัติราชการของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
1.2 ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานในความรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายการบริหารราชการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม
1.3 ด้านการประสานงาน
- ประสานงานกับหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก องค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานธุรการคดีหรืองานธุรการทั่วไปที่อยู่ในความรับผิดชอบ
- ประสานงานกับทีม โครงการ หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก ในกระบวนการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานในด้านต่างๆ ของหน่วยงานบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
- ประสานงานเกี่ยวกับงานล่าม นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ผู้พิพากษาสมทบ เพื่อสนับสนุนให้การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
1.4 ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อคำถามในเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับความรู้ทางกฎหมายเบื้องต้น การปฏิบัติตัวเมื่อมาติดต่อราชการศาลยุติธรรม และกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
- ช่วยค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ข้อมูลทางวิชาการกฎหมาย ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- รวมจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
วิชาที่สอบ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน มี 3 ภาค (ภาค ก. , ภาค ข. ภาค ค.) ดังนี้
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
ทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย คะแนนเต็ม 200 คะแนน ดังต่อไปนี้
1. วิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 150 คะแนน) ดังต่อไปนี้
1.1 วิชาความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถ
(ก) ด้านการคิดคำนวณ โดยทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณการแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณต่างๆ และ
(ข) ด้านเหตุผล โดยทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติหรือข้อสรุปอย่างสมเหตุผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ
1.2 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถ
(ก) ด้านความเข้าใจภาษา โดยทดสอบความสามารถในการอ่านาและการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อควา รวมทั้งการสรุปความและตีความ และ
(ข) ด้านการใช้ภาษา โดยทดสอบความสามารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา และการเรียงข้อความ
(2) วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)
เพื่อวัดความสามารถด้านการพูด เขียน อ่าน และฟังภาษาอังกฤษ และความเข้าใจสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น
(3) วิชาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)
เพื่อวัดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเบื้องต้น
กรณีหากผู้สมัครสอบรายใดเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. หรือของสำนักงานศาลยุติธรรม (ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบผ่าน ภาค ก. ของสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ตามมติ ก.ศ. ครั้งที่ 16/2559 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559) ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่าแล้ว สามารถใช้หนังสือรับรองผลการสอบผ่านภาค ก. ดังกล่าวแทนการสอบ ภาค ก. ได้
สำหรับผู้สมัครที่ยังไม่ได้เป็ผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารรถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า หรือของสำนักงานศาลยุติธรรมในระดับปริญญาตรี จะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงานศาลยุติธรรมในครั้งนี้ และหากผู้สมัครสอบดังกล่าวเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องตรงตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ข้อ 3.1 และข้อ 3.2 สำนักงานศาลยุติธรรมจะขึ้นบัญชีและจัดทำทะเบียนเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงานศาลยุติธรรมต่อไป
ผู้สมัครสอบสามารถนำหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. หรือของสำนักงานศาลยุติธรรมในระดับวุฒิการศึกษาที่สูงกว่าไปใช้ในการสอบในระดับวุฒิการศึกษาที่ต่ำกว่าที่สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จัดสอบได้
ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
นิติกรปฏิบัติการ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน
- ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
- ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งนิติกร
เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
- ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
- ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
- ความรู้เกี่ยวกับการปฏบัติงานธุรการทั่วไปและงานธุรการคดีของศาลยุติธรรม
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏบัติในตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
ทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยวิธีสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) โดยการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรยาบรรณของข้าราชการ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะในงานของตำแหน่ง
เกณฑ์การตัดสิน
ต้องสอบผ่าน 3 ภาค (เกิน 60%) คือ ภาค ก. ภาค ข. และ ภาค ค. แต่สำนักงานศาลยุติธรรมจะรวมคะแนนเฉพาะภาค ข. และ ภาค ค. เท่านั้น (ไม่นำคะแนนภาค ก. มารวม) เพื่อขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และเรียกบรรจุตามลำดับต่อไป
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานศาลยุติธรรม :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย. – 30 พ.ย. 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สำนักงานศาลยุติธรรม
แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |