กทม. เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 6 พ.ย. -19 พ.ย. 2561 รวม 477 อัตรา

แชร์เลย

กทม.

กทม.

ลิงค์: https://ehenx.com/1119/ หรือ
ตำแหน่ง: รวม477อัตรา,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี,พนักงานปกครอง,พนักงานเทศกิจ,เจ้าพนักงานพัสดุ,นายช่างสำรวจ,เจ้าพนักงานการเกษตร,เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม,เจ้าพนักงานสาธารณสุข,นายช่างเครื่องกล,นายช่างเทคนิค,เจ้าพนักงานสื่อสาร,โภชนาการ,เจ้าพนักงานห้องสมุด,เจ้าพนักงานสถิติ,เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์,นายช่างศิลป์,เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์,เจ้าพนักงานเทศกิจ,เจ้าพนักงานปกครอง,เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,นิติกร,นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นักวิชาการคอมพิวเตอร์,เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์,นักวิชาการเกษตร,นักประชาสัมพันธ์,นักวิชาการเงินและบัญชี,นักวิชาการศึกษา,นักสังคมสงเคราะห์,นักวิชาการจัดเก็บรายได้,นักวิชาการตรวจสอบภายใน,นักวิชาการพัสดุ,นักวิชาการสุขาภิบาล,นักวิชาการโสตทัศนศึกษา,วิศวกรโยธา,นักโภชนาการ,สถาปนิก,นักวิชาการสถิติ,บรรณารักษ์,นักวิชาการสิ่งแวดล้อม,นักพัฒนาการท่องเที่ยว,นักวิชาการวัฒนธรรม,นักวิชาการศูนย์เยาวชน,นักพัฒนาการกีฬา,นักวิชาการศูนย์เยาวชน,นักจัดการงานรักษาความสะอาด
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปวส.,ป.ตรี
อัตราเงินเดือน: 9,400-15,800
อัตราว่าง: 477
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 6 พ.ย. – 19 พ.ย. 2561
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สอบ กทม. กรุงเทพมหานครเปิดรับสมัครสอบ ครั้งที่ 1/2561

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ครั้งที่ 1/2561

ด้วยสำนักงานคณธกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ

จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 47 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

  • กรณีผ่านภาค ก. ก.พ. แล้ว ยื่นแทนการสอบภาค ก. กทม.
  • กรณีไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. สอบภาค ก. กทม. ผ่านจะได้รับใบรับรองผลการสอบภาค ก. กทม.เพื่อใช้ในการสอบภาค ข. ครั้งต่อไป

กทม.กฎหมายที่ทุกตำแหน่งต้องสอบหายไป..อาจไม่ได้หายจริง

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
จำนวน 60 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง พนักงานปกครองปฏิบัติงาน
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง พนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
จำนวน 18 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
จำนวน 35 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
จำนวน 20 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
จำนวน 9 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสื่อสารปฏิบัติงาน
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง โภชนาการปฏิบัติงาน
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500


ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ
จำนวน 10 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,500-15,800

ตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
จำนวน 14 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
จำนวน 15 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
จำนวน 16 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
จำนวน 18 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
จำนวน 9 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

https://actcorner.com/%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a-%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%a1-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%84-%e0%b8%81-%e0%b8%82-3/

ตำแหน่ง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
จำนวน 30 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ติวสอบ กทม. ภาค ก-ข

ตำแหน่ง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง สถาปนิกปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
จำนวน 4 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมพลศึกษา)
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมศิลปะ)
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

ตำแหน่ง นักจัดการงานรักษาความสะอาดปฏิบัติการ
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ ทางเลขานุการ หรือทางการขาย
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน  สาขาวิชาการธนาคารและธุรกิจการเงิน สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาเทคนิคการตลาด หรือสาขาวิชาการตลาด หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการจัดการ หรือสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือสาขาวิชาการตลาด หรืออนุปริญญาปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี ทางการตลาด ทางการเงินและการธนาคาร หรือทางการบริหารทั่วไป

พนักงานปกครองปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการหรือการเลขานุการ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ หรือทางการเงินและการธนาคาร
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ ทางการเงิน หรือทางการเงินและการธนาคาร

พนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางช่างกลโรงงาน หรือทางช่างโลหะ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ สาขาวิชาเลขานุการหรือการเลขานุการ สาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบ วิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ หรือสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ หรือทางการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง งานเครื่องกล ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไฟฟ้า หรือทางโลหะ
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาการก่อสร้าง สาขาวิชาสำรวจ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ เตาไฟฟ้า ทางช่างโลหะหรือทางช่างกลโรงงานหรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปีต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ ทางการเงิน หรือทางการเงินและการธนาคาร

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาเครื่องกล
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการธนาคารและธุรกิจการเงิน สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเทคนิคการตลาด สาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมเครื่องใช้สำนักงาน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการ หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาการก่อสร้าง หรือสาขาวิชาเครื่องกล หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี ทางการตลาด ทางการเงินและการธนาคาร หรือทางการบริหารทั่วไป

นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาสำรวจ หรือประกาศนียบัตรนักเรียนนายสิบแผนที่ ในสาขาวิชาสำรวจ ทางแผนที่จากกรมแผนที่ทหารบก
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศซกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคการจัดการงานก่อสร้าง หรือ สาขาวิชาสำรวจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาก่อสร้าง
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง

เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการเกษตร หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ ทางธุรกิจเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ หรือสาขาวิชาพืชศาสตร์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์

เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการอนามัย ทางผู้ช่วยพยาบาล ทางการสาธารณสุข หรือทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากประกาศนียับตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  2. ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการสาธารณสุข ทางการพยาบาล ทางการพยาบาลและดุงครรภ์ ทางโภชนาการ ทางเซลล์วิทยา ทางการแพทย์แผนไทย หรือทางพนักงานอนามัย ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการสาธารณสุข ทางการพยาบาล ทางโภชนาการ ทางพยาธิวิทยา หรือทางเซลล์วิทยา ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการสาธารณสุข ทางการสาธารณสุขชุมชน ทางโภชนาการ ทางการแพทย์แผนไทย ทางเวชกิจฉุกเฉิน หรือทางสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง หรือสขาวิชาโลหะการ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทางเครื่องกล
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาก่อสร้าง
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล สาขาิวชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กอทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทางไฟฟ้า หรือทางอิเล็กทรอนิกส์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาสำรวจ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเทคนิคอุสาหกรรม

เจ้าพนักงานสื่อสารปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างวิทยุและโทรคมนาคม ทางช่างวิทยุ ทางช่างโทรคมนาคมทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ทางเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือทางช่างไฟฟ้า หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทางการสื่อสาร ทางสัญญาณวิทยุ หรือทางช่างวิทยุ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า ทางช่างไฟฟ้า หรือสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางช่างไฟฟ้า หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางช่างไฟฟ้า
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างโทรคมนาคม ทางช่างวิทยุและโทรคมนาคม ทางช่างวิทยุ หรือทางช่างไฟฟ้า

โภชนาการปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการอาหารและโภชนาการ
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพาณิชยการ ทางเลขานุการ ทางการเลขานุการ ทางภาษาต่างประเทศ หรือทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางบรรณารักษ์ศาสตร์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการ ทางเลขานุการ ทางการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางบรรณารักษศาสตร์ ทางบรรณารักษ์และสารนิเทศศาสตร์

เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ

เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเคมี สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรือสาขาวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ หรือได้รับประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ล้างเครื่องกล ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางไฟฟ้า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมีปฏิบัติหรือทางเคมี หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ บางสิ่งทอ
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ทางเภสัชศาสตร์ ทางโภชนาการ ทางเคมีปฏิบัติ หรือทางเคมี

นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ทางศิลปกรรม หรือทางออกแบบผลิตภัณฑ์
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางวิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ทางศิลปกรรม หรือทางออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทางศิลปะประยุกต์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางวิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ทางศิลปกรรม หรือทางออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทางศิลปะประยุกต์

เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ ทางเลขานุการ ทางการขาย ทางภาษาต่างประเทศ หรือทางการประชาสัมพันธ์
  2. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาเทคนิคการตลาด หรือสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์
  3. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด หรือสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาภาษาวรรณคดี

ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์

เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์

เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันและได้รับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์

เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาหรือทางที่มีการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์

นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน  ในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางโสตทัศนศึกษา หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาภาษา วรรณคดี สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางวารสารศาสตร์ หรือทางสื่อสารมวลชน สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ทางคณิตศาสตร์ หรือทางสถิติ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทางจิตวิทยา

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางจิตวิทยา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ ถ้าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต

นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางการคลัง

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการพาณิชย์ ทางการตลาด ทางการเงิน ทางการเงินและการธนาคาร ทางการจัดการ หรือทางการบัญชี หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม ทางอาชีวอนามัย ทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทางสุขาภิบาล ทางสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทางสิ่งแวดล้อม ทางวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางโสตทัศนศึกษา ทางเทคโนโลยีการศึกษา ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา การเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ทางครุศาสตร์เทคโนโลยี หรือทางเวชนิทัศน์ หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางนิเทศศาสตร์ ทางวารสารศาสตร์ ทางสื่อสารมวลชน หรือทางนิเทศศาสตร์การพัฒนา

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล ทางวิศวกรรมชลประทาน หรือ ทางวิศวกรรมโครงสร้าง และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร

นักโภชนาการปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์

สถาปนิกปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด

นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ทางประชากรศาสตร์

บรรณารักษ์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางบรรณารักษ์ศาสตร์ ทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ทางบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ทางสารสนเทศศึกษา หรือทางสารนิเทศศาสตร์

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ทางสถิติ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางประชากรศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่าง ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทางผังเมือง ทางสิ่งแวดล้อม ทางการเกษตร ทางชีววิทยา ทางฟิสิกส์ ทางสุขศึกษา ทางโภชนวิทยา ทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป หรือทางเคมี

นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชารัฐศาสตร์ ทางบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี

นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางพลศึกษา หรือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง าทงบรรณารักษศาสตร์ ทางจิตวิทยา หรือทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางพลศึกษา หรือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางพลศึกษา หรือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา

นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมพลศึกษา)

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางพลศึกษา หรือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา

นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมศิลปะ)

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

นักจัดการงานรักษาความสะอาดปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน

หลักสูตรการสอบ

**โปรดอ่านเพื่อผลประโยชน์ของท่านเอง

  1. ผู้สมัครสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไปที่มีหลักฐานรับรองผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่ยังไม่หมดอายุการรัรองผลการทดสอบจาก TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP) TOEIC IELTS CU TEP หรือ TU GET ตามเงื่อนไขที่ ก.ก. กำหนด ในตารางแนบท้ายประกาศนี้ สามารถนำมาใช้แทนผลการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษในภาคความรู้ความสามารถทั่วไปได้โดยให้ส่งสำเนาหลักฐานดังกล่าวพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องลงลายมือชื่อกำกับ ระบุเลขประจำตัวสอบ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่กองสรรหาบุคคล สำนักงาน ก.ก. ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ในวันและเวลาราชการ ก่อนวันสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป เท่านั้น หากส่งทางไปรษณีย์ให้วงเล็บที่มุมซองด้านขวาล่างว่า (หลักฐานรับรองผลการทดสอบภาษาอังกฤษ) ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ก. จะถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับเอกสารเป็นสำคัญเงื่อนไขผลการทดสอบภาษาอังกฤษ จาก TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP) TOEIC IELTS CU TEP หรือ TU GET ผู้สอบจะต้องยื่นหลักฐานรับรองผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่ยังไม่หมดอายุการรับรองผลการทดสอบต่อสำนักงาน ก.ก. ก่อนวันสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
    • TOEFL >= 45 คะแนน (คะแนนเต็ม 120)
    • TOEIC >= 420 คะแนน (คะแนนเต็ม 990)
    • IELTS >= 4 คะแนน (คะแนนเต็ม 9)
    • CU TEP >= 45 คะแนน (คะแนนเต็ม 120)
    • TU GET >= 350 คะแนน (คะแนนเต็ม 1,000)
  2. กรณีผู้สมัครสอบรายใดเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่าแล้ว สามารถใช้หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถท่วไปของสำนักงาน ก.พ. แทนการสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไปของกรุงเทพมหานครได้สำหรับผู้ที่สมัครสอบที่ยังไม่ได้เป็นู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ในระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า จะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดภาความรู้ความสามารถทั่วไปของกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และหากผู้สมัครสอบดังกล่าวเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องตรงตามประกาศรับสมัครสอบฯ กรุงเทพมหานครจะขึ้นบัญชีและจัดทำทะเบียนเป็นผู้สอบผ่านการวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไปของกรุงเทพมหานครต่อไป
  3. ผู้สมัครสอบจะต้องสอบตามหลักสูตรทุกภาค โดยจะต้องสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (สามารถนำผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. มาใช้แทนได้) และสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก่อน เมื่อสอบผ่านทั้ง 2 ภาคแล้ว จะมีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง

ก. การสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้

  1. วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 150 คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน
    1. ด้านการคิดคำนวณ ทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณต่างๆ
    2. ด้านเหตุผล ทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การคิดวิเคราะห์ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่างๆ
    3. ด้านภาษา ทดสอบความสามารถในการอ่าน และการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ การสรุปความ ตีความ และการใช้ภาษา การเลือกใช้คำ หรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา และการเรียงข้อความ
  2. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน ทดสอบความสามารถด้านการพูด เขียน อ่าน และฟังภาษาอังกฤษ และความเข้าใจในสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น

ข. การสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ โดยวิธีสอบข้อเขียน การสอบปฏิบัติ ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่รับสมัครสอบแข่งขันฯ ครั้งที่ 1/2561

ค. การสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ โดยวิธีดังนี้

  1. การประเมินจิตวิทยา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
  2. การทดสอบสมรรถนะของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยวิธีสอบข้อเขียน
  3. การสัมภาษณ์ เกี่ยวกับทัศนคติสำหรับการปฏิบัติราชการ สมรรถนะ และหรือความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน

ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีทั่วไป งบประมาณ และการเงิน เช่น การจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท บัญชีย่อยต่างๆ การจัดทำรายงานทางการเงิน การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีและเงินฝากธนาคาร การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การตั้งฎีกาเบิกเงินและตรวจสอบใบสำคัญเบิกเงิน เป็นต้น
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่
    1. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529  และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    2. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ.2555

https://www.youtube.com/watch?v=EHu5lyCLWU8&list=PLHhWK_grPWDd_0r-MhAHRZObbiByxfvwz

พนักงานปกครองปฏิบัติงาน

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการทะเบียนและปกครอง ได้แก่
    1. ด้านการทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ การแจ้งย้ายเข้า-ออก การแจ้งเกิด การแจ้งตาย
    2. การทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
    3. การทะเบียนทั่วไป ได้แก่ การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนหย่า การจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม
    4. ด้านการทะเบียนปกครอง ได้แก่ การจดทะเบียนพินัยกรรม การจดทะเบียนมูลนิธิ สมาคม การจดทะเบียนพาณิชย์
  2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
    2. พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ( รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555)
    3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
    4. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
    5. พระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478  และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3
    6. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ( รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555)
    7. พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526  ( รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ 2554)
  3. ความรู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
    1. นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด 1 ภารกิจพิเศษ 5 นโยบายทันใจและ 19 ภาระกิจผลักดันทันที

พนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน

การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

  1. สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
  2. อำนาจของเจ้าหน้าที่เทศกิจในการบังคับการตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ เช่น การจับ การปรับ การดำเนินคดี การยึดอายัด
  3. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
  4. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
  5. พระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2543
  6. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่อยู่ของการบังคับการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
  7. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
  8. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  9. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  10. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2545
  11. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560

การสอบปฏิบัติ

ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งจะต้องทดสอบผ่านทุกข้อจึงจะถือว่า “ผ่าน” ดังนี้

  1. วิ่ง ระยะทาง 50 เมตร
  2. ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร
  3. ลุกนั่ง ภายในเวลา 1 นาที
  4. ยึดพื้นหรือดันข้อ ภายในเวลา 1 นาที

ทั้งนี้ การทดสอบสมรรถภาพร่างกายจะไม่มีการกำหนดคะแนน และใช้เกณฑ์การตัดสิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

  1. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
    1. การจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
    2. ทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญ หลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ
    3. ร่างและตั๋วสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ
  2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
    1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ  พ.ศ. 2529 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536
    2. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ. 2555
    3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 46  และระเบียบงานสารบรรณสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2526
    4. จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543
    5. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
    6. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  3. กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
    1. กำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
    2. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ พ.ศ. 2560
    3. กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน และกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง พ. ศ. 2560
    4. กำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจงวงเงิน การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และเป็นการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560
    5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา พ.ศ.2560
    6. กำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ.2560
    7. กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. 2560
    8. กำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ.2560

นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

  1. ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ได้แก่
    1. หน้าสำรวจที่เกี่ยวกับการเก็บรายละเอียดสภาพภูมิประเทศ
    2. งานวงรอบที่เกี่ยวกับวงรอบชนิดต่างๆ การตรวจสอบและปรับแก้วงรอบ
    3. งานระดับที่เกี่ยวกับการหาค่าระดับภูมิประเทศ เช่น การหาความสูงต่ำของพื้นที่ การเขียนค่าเส้นชั้นความสูง การหาค่าดินตัดดินถม
    4. งานจำนวนและเขียนแผนที่ เช่น การคำนวณระยะ การคำนวณพื้นที่จากค่าพิกัดฉาก สัญลักษณ์ต่างๆ ในงานแผนที่
    5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม เช่น ประโยชน์ของภาพถ่าย หลักการแปลภาพถ่าย
    6. ความรู้เกี่ยวกับระวางแผนที่
    7. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำแผนที่ด้วยดาวเทียม (GNSS)
    8. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (GIS)
    9. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานเขียนแผนที่ เช่น โปรแกรม Autocad
    10. ความรู้เกี่ยวกับการดูแล บำรุง รักษา เครื่องมือสำรวจ
  2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในงานดูแลรักษาที่สาธารณะ
    1. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457  และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 12 พ.ศ. 2552
    2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

  1. หลักพฤกษศาสตร์เบื้องต้น การจำแนกพืช
  2. การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืชรูปแบบต่างๆ เช่น การเพาะเมล็ด การติดตาต่อกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
  3. การดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ การปลูก การปรับปรุงดิน การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม การค้ำยัน การศัลยกรรม การล้อมย้าย
  4. การจัดภูมิทัศน์ ได้แก่ การออกแบบ การตกแต่งเพื่อจัดภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อม
  5. การส่งเสริมการเกษตร ฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่
  6. เศรษฐกิจการเกษตร การพัฒนาธุรกิจการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  7. การประมงทั่วไป และสัตวศาสตร์เบื้องต้น
  8. เครื่องจักรกลการเกษตร และอุปกรณ์การเกษตรประเภทต่างๆ
  9. เทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร และการนำนวัตกรรมมาใช้

เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน

  1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและการสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย การจัดตั้งชุมชน การเลือกตั้งกรรมการชุมชน การยกเลิกการเป็นชุมชน การรื้อย้ายชุมชน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การฝึกอาชีพ การสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ส่งเสริมการออกกำลังกาย การจัดการสภาเด็กและเยาวชน การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน อนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว
  2. ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์
    1. เทคนิคการประสานงาน
    2. เทคนิคการให้คำแนะนำ
    3. เทคนิคการประชาสัมพันธ์
    4. เทคนิคการไกล่เกลี่ยและประนีประนอม
    5. เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม
  3. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร
    1. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ.2555
    2. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2556 (ฉบับที่ 3)
    3. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2560
  4. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสังคมสงเคราะห์
    1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2560
    2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2559
    3. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ.2557

เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสาธารณสุขเบื้องต้น ได้แก่
    1. หลักการพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR :   Cardio Pulmonary Resuscitation)
    2. การควบคุมและป้องกันโรค
    3. การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การวางแผนครอบครัว งานอนามัยแม่และเด็ก งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ
    4. งานทางด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค
    5. งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานอาชีวอนามัย สุขาภิบาลอาหาร
    6. งานสุขศึกษา เผยแพร่ อบรม สาธิตให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข
    7. การวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา การเขียนโครงการและประเมินโครงการ
  2. กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2550  และ พ.ศ. 2560
    2. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
    3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561
    4. พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560
    5. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2560
    6. พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น พ.ศ. 2559
    7. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
    8. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2541 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
    9. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว และสิทธิผู้ป่วย

นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

การบำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง แผนงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะใช้กับเครื่องจักรกลยานพาหนะและเครื่องทุ่นแรง การออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การใช้เครื่องมือวัดละเอียด การสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียด การเชื่อมโลหะ การดูแล จัดเก็บ บำรุงรักษาเครื่องมือช่างอย่างถูกวิธี รวมทั้งการใช้งานอย่างถูกต้อง การดูแล จัดเก็บ จัดหาวัสดุมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำรายงาน การจัดเก็บข้อมูลสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น การให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่กับผู้รับบริการหรือประชาชนทั่วไป และมีความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางช่างในปัจจุบัน เทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านเทคนิคต่างๆ เช่น ซ่อม สร้าง ประกอบ บำรุงรักษา ดัดแปลง ออกแบบ ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ปั๊มน้ำ เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ (ซิลเลอร์) เครื่องจักร เครื่องยนต์ โลหะ เครื่องมือเกี่ยวกับอุปกรณ์งานช่าง งานทางด้านสาธารณูปโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องจักรกล เครื่องวิทยุคมนาคม งานโครงสร้างอาคาร การประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความรู้ในเรื่องการคำนวณรายการและประมาณราคาค่าอุปกรณ์เพื่อใช้ในการประมาณราคา การจัดซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อพื้นที่และการใช้งาน
  2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550
    2. พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
    3. กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

เจ้าพนักงานสื่อสารปฏิบัติงาน

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสื่อสาร ได้แก่ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการใช้วิทยุคมนาคมตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลักการติดต่อสื่อสารที่กรุงเทพฯใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Digital  Trunked Radio System ระบบสารสนเทศต่างๆ หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร การใช้วิทยุสื่อสารคมนาคม การบำรุง ดูแล รักษาเครื่องมือสื่อสารในระบบต่างๆ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เป็นประโยชน์กับงานที่ปฏิบัติ

โภชนาการปฏิบัติงาน

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางโภชนาการ ได้แก่ การกำหนดรายการอาหารตามหลักโภชนาการ และโภชนบำบัดสำหรับโรคต่างๆ และกลุ่มวัยต่างๆ การกำหนดอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์ การจัดทำรายการอาหารหมุนเวียน การคำนวณปริมาณอาหารจำนวนมาก การคำนวณพลังงานและสารอาหารโดยใช้อาหารแลกเปลี่ยน และการประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มาทดแทนรายการอาหารต่างๆ อย่างเหมาะสม การวางแผน ควบคุม ดูแลและสั่งซื้อวัสดุเครื่องบริโภคที่นำมาประกอบอาหาร การควบคุมและการวางแผนการรับ-เบิกจ่ายวัสดุเครื่องบริโภคของหน่วยงานแต่ละวันให้อยู่ในวงเงินงบประมาณที่ทางราชการกำหนดตามระเบียบ รวมถึงจัดเตรียม ดูแล บำรุงรักษา เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่ออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน การจัดการเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร การตรวจสอบใบเบิกอาหาร แยกประเภทให้ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ เพื่อนำไปประกอบอาหารและตรวจสอบก่อนให้บริการแก่ผู้ป่วย มีความรู้ด้านงานพัฒนาคุณภาพ เช่น HA ( Hospital Acceditation) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานบริการอาหาร เช่น การเก็บ รวบรวมข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล สถิติต่างๆ เพื่อทำรายงาน การให้คำแนะนำอาหารตามหลักโภชนาการ โภชนบำบัด อีกาผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ความสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ การประสานงาน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานห้องสมุด พิจารณาเสนอแนะในการจัดหาและคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด จัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ และบันทึกลงฐานข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ให้บริการตอบคำถามช่วยค้นคว้าข้อมูล แล้วแต่ความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้บริการ การเตรียมหนังสือพร้อมให้บริการ ควบคุม ดูแล และซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด จัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ห้องสมุดเพื่อชักจูงให้ประชาชนมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เก็บรวบรวมสถิติและจัดทำรายงานประจำเดือน/ประจำปีของห้องสมุด ดูแล เก็บรักษา ซ่อมแซมหนังสือเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ อาคาร สถานที่ วัสดุและครุภัณฑ์ของห้องสมุด

เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน

ความรู้ความสามารถด้านสถิติข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ การจัดทำฐานข้อมูล การเรียบเรียง/จัดลำดับข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูล ทำแผนภาพทางสถิติ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของกรุงเทพมหานครด้านสิ่งแวดล้อม งานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการบริหาร การจัดเตรียมเครื่องแก้ว เครื่องมือวิทยาศาสตร์ การเก็บรักษาวัสดุวิทยาศาสตร์ เคมีภัณฑ์ การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง มูลฝอย ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำและตะกอนจากแม่น้ำ คลอง สระน้ำ บึง ระบบบำบัดน้ำเสียต่างๆ การจัดเตรียมอุปกรณ์ ดูแลรักษาเครื่องมือ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การปรับตั้งเครื่องมือให้ได้ความเที่ยงตรง แม่นยำ และถูกต้องตามลักษณะงาน การเตรียมสารเคมี การคํานวณความเข้มข้นของสารเคมีเบื้องต้น รวบรวมข้อมูลให้นักวิทยาศาสตร์ ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานศิลป์ที่เกี่ยวกับการร่างและออกแบบ ภาพ ตัวอักษร บอร์ด ป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ นิทรรศการ ฉาก วิธี ซุ้ม ตกแต่งสถานที่ ปั้นภาพและจำลองแบบให้ถูกต้องตามรายละเอียดทางวิชาการ การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการออกแบบงานศิลป์

  • สอบข้อเขียน จำนวน 50 ข้อ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
  • สอบภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ข้อ (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)

เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน

  1. ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
    1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
    2. จรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์
    3. นโยบายกรุงเทพมหานคร นโยบายรัฐบาล

ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติการ

การสอบข้อเขียน

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติงาน การจัดทำแผน การวางแผน การข่าว การใช้กำลังคนด้านเทศกิจ การควบคุม ดูแล การตรวจตราพื้นที่สังกัดความผิดปกติของวัตถุสิ่งของหรือบุคคล การเฝ้าระวังการดำเนินการต่างๆ ของประชาชน การปฏิบัติงานมวลชนสัมพันธ์
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
  3. บทบาทและอำนาจของเจ้าหน้าที่เทศกิจในเรื่องการจับ การปรับ การดำเนินคดี การยึดอายัดเอกสารหลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความเข้าใจในกฎหมายปกครองเพื่อป้องกันการถูกดำเนินคดีทางปกครอง การดำเนินการทางปกครอง
  4. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
    1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
    2. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
    3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การบังคับที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
    4. พระราชบัญญัติการขุดค้น และการถมดิน พ.ศ. 2543
    5. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
    6. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
    7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
    8. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๕
    9. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560

สอบปฏิบัติ

ผู้สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งจะต้องทดสอบผ่านทุกข้อจึงจะถือว่า “ผ่าน” ดังนี้

  1. วิ่ง ระยะทาง 1000 เมตร
  2. ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร
  3. ลุกนั่ง ภายในเวลา 1 นาที
  4. ยึดพื้นหรือดันข้อ ภายในเวลา 1 นาที

ทั้งนี้ การทดสอบสมรรถภาพร่างกายจะไม่มีการกำหนดคะแนน และใช้เกณฑ์การตัดสิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป

เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการปกครอง ได้แก่
    1. การเมืองการปกครองและการเลือกตั้งระดับชาติ การประชามติ การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
    2. กฎหมายปกครองท้องที่ การทะเบียนปกครอง
    3. กฎหมายทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนทั่วไป
    4. กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อยและการดำเนินงานเกี่ยวกับมวลชน
    5. การวางแผน การจัดทำโครงการ การฝึกอบรม และการประสานงาน
    6. ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการประชาชนและการประชาสัมพันธ์งานในอำนาจหน้าที่
  2. ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558

เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ

การสอบข้อเขียน

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิจัย การวางแผนเพื่อระงับอัคคีภัย การป้องกันและบรรเทาอันตรายจากอุทกภัย วาตภัย และภัยอื่นๆ รวมทั้งทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
    1. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
    2. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    3. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
    4. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
    5. กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)  กฎกระทรวงฉบับที่ 39 ( พ.ศ. 2537) กฎกระทรวงฉบับที่ 47 ( พ.ศ. 2540)  กฎกระทรวงฉบับที่ 50 ( พ.ศ. 2540) และกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ( พ.ศ. 2543)  ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
    6. กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555
    7. ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 28
    8. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๔๔
    9. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558- 2562
    10. ประกาศกระทรวง เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552
    11. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    12. กฎกระทรวงกำหนดประเภทและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. 2555
    13. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

การสอบปฏิบัติ

ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องเข้ารับการทดสอบการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกาย จึงจะต้องทดสอบผ่านทุกข้อจึงจะถือว่า “ผ่าน” ดังนี้

  1. วิ่ง ระยะทาง 1000 เมตร
  2. ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร
  3. ทดสอบความพร้อมในการปฏิบัติงานด้วยท่าต่างๆ
    1. ดึงข้อ ชาย 10 ครั้ง หญิง 5 ครั้ง
    2. หลักบันไดตามช่องที่กำหนดไว้ ทำเวลาไม่เกิน 15 วินาที
    3. แบบตุ๊กตาน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ทำเวลาไม่เกิน 45 วินาที
    4. ยึดพื้นหรือดันข้อ  20 ครั้ง ภายในเวลา 1 นาที

ทั้งนี้ การทดสอบการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกาย จะไม่มีการกำหนดคะแนนและใช้เกณฑ์การตัดสิน ผ่าน และ ไม่ผ่าน ผู้ที่ผ่านการทดสอบการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกายจึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป

นิติกรปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐาน
    1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
    3. ประมวลกฎหมายอาญา
    4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  2. ความรู้ความเข้าใจอย่างดียิ่งในเนื้อหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
    1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
    2. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
    3. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
    4. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
    5. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
    6. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
    7. พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
    8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
    1. สถานการณ์ทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
    2. บริบทการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ในด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม
    3. วิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพมหานคร
    4. แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี (พ.ศ. 2556- 2575)
    5. นโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน
    1. นักวิเคราะห์นโยบายภาครัฐ และนโยบายสาธารณะ
    2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ขององค์กร
    3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร
    4. การกำหนดตัวชี้วัดระดับประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการ
    5. การกำหนดแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบาย และแนวทางการพัฒนาองค์กร
    6. การนำนโยบายและแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
    7. การติดตามประเมินผลนโยบาย แผนทุกระดับ โครงการ และกิจกรรม
    8. การจัดทำรายงานผลการดำเนินการ และการนำเสนอรายงาน
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัย
    1. ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติเบื้องต้น
    2. หลักการและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง
    3. การวิเคราะห์โครงการ
    4. การบริหารจัดการงบประมาณ
  4. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    2. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579)
    3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)
    4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
    5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และฉบับแก้ไขปรับปรุง
    6. กฎกระทรวงว่าด้วยผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
  5. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะในการทำงาน
    1. ภาพลักษณ์องค์กร
    2. หลักการและเทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบ
    3. มนุษยสัมพันธ์ การประสานงาน การมีส่วน
    4. การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์
    5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการข้อมูล
    6. การถ่ายทอดความรู้ และการให้คำปรึกษา

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

  1. ความหมายของคำศัพท์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่  (Big Data)
  3. การเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนของกระบวนการทำงาน (Flow Chart)
  4. การวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรม
  5. การบริหารจัดการและการควบคุมการนำระบบ  Social Network มาใช้ในการทำงาน
  6. การบริหารจัดการภัยคุกคามทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
  7. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล
  8. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
  9. ทักษะด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( Digital  literacy Skill)
  10. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  11. การบริหารจัดการโครงการ ( Project Management)
  12. การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านระบบงานคอมพิวเตอร์ ได้แก่

  • การติดตั้ง ตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบโปรแกรมและระบบเครือข่าย รวมถึงบำรุงรักษาสภาพการทำงานของระบบ
  • การจัดทำ รวบรวม วิเคราะห์วิธีการและลำดับการประมวลผลข้อมูลเพื่อเลือกระบบและวางแผนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
  • การรวบรวม จัดทำ จัดเก็บ ดูแล ตรวจสอบ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
  • การวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
  • การให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ และระบบโปรแกรม

นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

  1. การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา เกี่ยวกับด้านต่างๆ ดังนี้
    1. การปรับปรุงพันธุ์พืชและการขยายพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
    2. การปรับปรุงวิธีการผลิตพืชโดยใช้นวัตกรรมทางการเกษตร
    3. การใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน การอารักขาพืช
    4. การปรับปรุงดินและน้ำเพื่อการเกษตร
    5. การเก็บรักษาผลผลิต การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และธุรกิจการเกษตร
  2. การสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลผลิต และแหล่งผลิตทางการเกษตร
  3. การส่งเสริม และเผยแพร่ด้านการเกษตร และเทคโนโลยีทางวิชาการเกษตร
  4. การส่งเสริมและปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร และการสร้างระบบนิเวศป่าในเมือง
  5. การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตร
  6. การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบสาธารณภัย

นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้
    1. การติดต่อสื่อสาร การสำรวจรวบรวม รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน
    2. การวางแผนประชาสัมพันธ์ การจัดทำแผนหรือกลยุทธ์ การประชาสัมพันธ์ตามโครงการและภารกิจความรับผิดชอบของหน่วยงาน
    3. การดำเนินการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเขียนข่าว การเผยแพร่ข่าว การแถลงข่าว การจัดสัมมนา การจัดประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
    4. เทคนิคการกระจายสื่อไปสู่กลุ่มเป้าหมาย การกำหนดหรือการเลือกสื่อประชาสัมพันธ์
    5. การติดตาม รวบรวมข้อมูลเพื่อการผลิตข่าวสาร
    6. เทคนิคการผลิตรายการ ผลิตบทความเพื่อเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
    7. เทคนิคและวิธีการประชาสัมพันธ์ในที่สาธารณะ การพูดในที่สาธารณะ เช่น การเป็นพิธีกร การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ การโน้มน้าว
    8. การวิเคราะห์ข่าว เพื่อนำเสนอหรือเพื่อพิจารณา การชี้แจงข่าว การติดตามประเมินผลการประชาสัมพันธ์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    9. การใช้เทคนิคในการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การประชาสัมพันธ์ในยุคไทยแลนด์ 4.0
    10. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อโซเชียลมีเดีย
    11. การจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
  2. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
    2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
    3. แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
    1. หลักวิชาการเงิน ภาษีอากร รับเงิน การจ่ายเงิน
    2. หลักการบัญชี การจัดทำงบการเงิน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร หลักการบัญชีคู่ ตรวจสอบบัญชีการเงินเบื้อง
    3. หลักวิชาการงบประมาณ การวิเคราะห์งบประมาณ และการบริหารงบประมาณ
    4. หลักวิชาการพัสดุและทรัพย์สิน
  2. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
    1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542  และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
    2. พระราชบัญญัติการจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
    3. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560  และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
    4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555
    5. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ-รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540
    6. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ.2555 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
    7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
    8. พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
    9. แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี

นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

  • นโยบายด้านการศึกษา
  • แผน/โครงการ
  • มาตรฐานการศึกษา
  • หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
  • เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  • สื่อการเรียนการสอน
  • การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
  • การประกันคุณภาพการศึกษา
  • การประเมินผลการจัดการศึกษา
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
  • แผนการศึกษาแห่งชาติ
  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

  1. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เช่น สังคมของผู้สูงอายุ เครือข่ายสังคมออนไลน์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นต้น
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสังคมที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์และพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ สิทธิผู้ป่วย เป็นต้น
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ในระดับจุลภาค มหภาค จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพ
  4. ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการทุกกลุ่มเป้าหมาย การประสานงาน เครือข่ายการช่วยเหลือสังคม และการทำงานในเชิงสหวิชาชีพ
  5. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2550
    2. พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕
    3. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
    4. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560
    5. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2556
    6. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พ.ศ.2553
    7. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
    8. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
    9. พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557
    10. พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556

นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ

  1. การภาษีอากร การพาณิชย์ เศรษฐศาสตร์ และสถิติ ได้แก่
    1. การจัดเก็บภาษี ได้แก่ การติดตาม กระสอบ การประเมิน เร่งรัดภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ
    2. การป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษี
  2. กฎหมาย ระเบียบ แล้วก็บังคับที่เกี่ยวข้อง พ่อแก่
    1. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    2. พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    3. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    4. พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล สุขาภิบาล พ.ศ.2503
    5. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
    6. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครสำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียมจากสถานการณ์ค้าปลีก พ.ศ.2558
    7. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี พ.ศ.2546
  3. รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรายได้ของกรุงเทพมหานคร
  4. เหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

https://www.thebestcenter.com/?p=51061

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

  1. ความรู้เบื้องต้นด้านการบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือธรรมาภิบาล
  2. กฎหมาย กฏ ระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ เช่น
    1. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2548
    2. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
    3. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
    4. ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณการเงิน การคลัง และพัสดุของกรุงเทพมหานคร ฯลฯ
  3. ความรู้เบื้องต้นด้านคอมพิวเตอร์และการใช้งานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง

นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิชาการพัสดุ ได้แก่
    1. การวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
    2. วิธีการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของพัสดุเพื่อประกอบการจัดซื้อจัดจ้าง
    3. การจัดซื้อ การว่าจ้าง การเช่า การให้เช่า งานจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง การทำสัญญาและหลักประกัน การบริหารสัญญาและการตรวจพัสดุ การประเมินผล การปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ การทิ้งงาน
    4. การบริหารพัสดุ การเก็บ การบันทึกการเบิกจ่าย การยืม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การจำหน่ายพัสดุ
    5. การร้องเรียน
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การสร้างความเข้าใจความร่วมมือ
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
    2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารภาครัฐ พ.ศ.2560
    3. กฎกระทรวงออกตามความพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
    4. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ-รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540
    5. ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน  พ.ศ.2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

  1. การสุขาภิบาลอาหาร และความปลอดภัยของอาหาร รวมถึงการตรวจวิเคราะห์และการแปลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารเบื้องต้น
  2. การสุขาภิบาลโรงงาน การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  3. การตรวจสอบควบคุมเหตุรำคาญ การควบคุมปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำเสีย การจัดการคุณภาพอากาศและเสียง การจัดการมูลฝอย ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล มลพิษจากสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมถึงการตรวจ การวิเคราะห์ และการแปลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
  4. การควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค และการควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค
  5. ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง ได้แก่ คุณภาพอากาศในอาคาร และสุขาภิบาลในอาคารสาธารณะ เป็นต้น
  6. การอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การเกิดสาธารณภัย สารเคมีรั่วไหล การเกิดโรคระบาด เป็นต้น
  7. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิธีการตรวจวัดและมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม)

นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

  1. หลักวิชาโสตทัศนศึกษา ได้แก่ การติดตั้ง การควบคุม การใช้ การซ่อมแซม  บำรุงรักษา การเก็บรักษาเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดิทัศน์ เครื่องขยายเสียง เครื่องบันทึกเสียง ไมโครโฟน ลำโพง เครื่องฉายวีดิโอโปรเจคเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. การใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องขยายเสยีง เครื่องบันทึกเสียง ไมโครโฟน ลำโพง กล้องถ่ยภาพ กล้อง่ถายวีดิทัศน์ เครื่องฉาย การลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดแสดงหรือบรรยาย เพื่อให้การแสดงหรือบรรยายที่ต้องอาศัยเครื่องขยายเสียงหรือเครื่องฉายดำเนินไปโดยความเรียบร้อย และเกิดความเหมาะสม
  3. การเขียน เรียบเรียง คำบรรยายภาพ คำบรรยายแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ โปสเตอร์ บทรายการวิทยุ หรือบทวีดิทัศน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ
  4. การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง เช่น การผลิตสื่อการเรียนรู้ การผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

การออกแบบและคำนวณด้านวิศวกรรมโยธา งานศึกษาวางแผนและการวางโครงการก่อสร้างงานสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การทดสอบวิเคราะห์วิจัยวัสดุทางวิศวกรรม การประมาณราคา การควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุงรักษาบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน งานด้านขนส่งและจราจร งานด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา งานกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ การให้คำปรึกษา แนะนำหรือตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐานแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

นักโภชนาการปฏิบัติการ

ความรู้ความเข้าใจเกียวกับการปฏิบัติงานด้านโภชนาการ ได้แก่ การศึกษา การวิเคราะห์ วิจัยปัญหาโภชนาการ การวางแผนและเฝ้าระวังโรคด้วยวิธีการต่างๆ ในการสำรวจภาวะโภชนาการของประชาชน วิเคราะห์คุณค่าอาหารและสารอาหารโดยคำนวณความต้องการสารอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ การดำเนินการป้องกันและบำบัดโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่สมดุล และประเมินภาวะโภชนาการ การวิเคราะห์วิจัยด้านอาหารและสุขภาพของประชาชน การวางแผนด้านโภชนาการเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มผู้นำชุมชน การค้นคว้าทดลองตามหลักวิชาอาหารและโภชนาการ การส่งเสริมโภชนาการแบบต่างๆ การควบคุมดูและการบริการอาหารในโรงพยาบาลและโรงเรียน การควบคุมตรวจสอบและให้คำแนะนำในการกำหนดรายการอาหารโดยใช้หลักโภชนบำบัด การให้คำปรึกษาทางโภชนาการและโภชนบำบัดตามแนวทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยและบุคคลในวัยต่างๆ การเผยแพร่ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านความปลอดภัยในการบริโภคแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ

สถาปนิกปฏิบัติการ

  1. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการออกแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมหลัก การตกแต่งภายใน การจัดองค์ประกอบของสวน การจัดพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยภายในอาคาร การปรับปรุงซ๋อมแซม และดัดแปลงอาคารให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการออกแบบวางผังเมือง การพัฒนาเมืองและการออกแบบชุมชนเมือง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. เทคโนโลยีการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ การประมาณราคา และจัดทำงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของหน่วยงาน และความต้องการของผู้ใช้อาคาร โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  4. การควบคุมงานก่อสร้างอาคาร การปรับปรุงซ่อมแซมและดัดแปลงอาคาร เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบ และรายการที่กำหนด โดยคำนึงถึงหลักวิศวกรรม และความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
  5. การตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบสถาปัตยกรรมหลักเบื้องต้นให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร การผังเมือง และด้านสิ่งแวดล้อม
  6. ความถนัดทางด้านเทคโนโลยีการออกแบบ และการจัดทำแบบร่างเบื้องต้นเพื่อนำเสนอผลงาน

นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ

ความรู่้ความสามารถเกี่ยวกับงานด้านวิชาการสถิติ ดังนี้

  • การจัดเก็บ/รวบรวมข้อมูสถิติ การจัดทำฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ประมวลผลแปลความหมายข้อมูล จัดทำแผนภูมิหรือแผนภาพทางสถิติและนำเสนอเป็นรายงาน
  • การกำหนดและจัดทำแบบสอบถามตามหลักวิชาการตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนด การสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการและการประมวลผล รวมทั้งการวิเคราะห์ค่าสถิติ
  • ความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้อย่างเหมาะสม
  • ความรู้เกีย่วกับพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.2550
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

บรรณารักษ์ปฏิบัติการ

  1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดทุกประเภท องค์ประกอบ โครงสร้าง วัตถุประสงค์ การจัดการระบบความรู้ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และการเก็ฐรักษาแบบดิจิทัล การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากห้องสมุด และแหล่งข้อมูลสารสนเทศภายนอก มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  2. การจัดการห้องสมุด การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดการการเงิน บุคลากรและอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ การร่วมมือระหว่างห้องสมุด การจัดกิจกรรม นิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ แนะนำการให้บริการ แนะนำการเขียนเอกสารอ้างอิงในการวิจัยเบื้องต้น
  3. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การคัดเลือก จัดหา และประเมินทรัพยากรสารสนเทศ วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดการสารสนเทศ การบันทึกลงฐานข้อมูลระบเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการสาระสังเขปและดรรชนี บริการค้นคืนสารสนเทศภายในห้องสมุดและนอกเครือข่าย ตลอดจนจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ กระบวนการสำรวจ คัดลอกและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    1. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชนใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรทางกายภาพ ด้านทรัพยากรทางชีวภาพ ด้านผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประดยชน์ของมนุษย์ ด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
    2. การลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน)
    3. การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน
    4. สถานการณ์และการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง ด้านอากาศและเสียง ขยะ และน้ำเสีย
    5. การติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและเสียง
    6. การวางแผน การจัดทำแผนและโคงการในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    7. การบริหารจัดการการลดปริมาณ และการกำจัดขยะมูลฝอย
  2. กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวขอ้งกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
    2. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
    3. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
    4. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม การประชาสัมพันะ์และเผยแพร่

นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่

  • นโยบาย การวางแผนงาน การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย ทางด้านการท่องเที่ยว
  • ข้อมูลพื้นฐานด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานของเมือง (กรุงเทพมหานคร) และปริมณฑล
  • การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยว
  • การพัฒนาการท่องเที่ยวเมือง และการกำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ
  • การพัฒนาสินค้า บิรการ และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว
  • การพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
  • การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการท่องเที่ยว
  • การพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว
  • การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดทางการท่องเที่ยว
  • การพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมและงานเทศกาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
  • การส่งเสิรมด้านอุตสาหกรรไมซ์ (MICE) (การประชุม การจัดนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล)
  • ความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการวัฒนธรรม ได้แก่
    1. มิติและโครงสร้างทางวัฒนธรรม
    2. การเปลี่ยนแปลงของกระแสวัฒนธรรมโลก
    3. วัฒนธรรมเมืองและการจัดการแหล่งวัฒนธรรม
    4. ท้องถิ่นศึกษา
    5. การจัดการพิพิธภัณฑ์ หอศิลปวัฒนธรรม
    6. ขนบธรรมเนียม ประเพณี
    7. วิถีชีวิต ภูมิปัญญา
    8. ประวัติศาสตร์ทั่วไป
    9. ปรัชญาและศาสนา
    10. ศิลปศึกษา
    11. การอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
  2. หลักและวิธีการจัดทำแผนงานและโครงการ
  3. วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
  4. การพัฒนาเครือข่ายทางวัฒนธรรม
  5. ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
  6. ทัศนศิลป์
  7. วิจิตรศิลป์

นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ

  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินงานในศูนย์เยาวชน
  2. สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สภาเด็กและเยาวขนแห่งประเทศไทย
  3. แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564
  4. แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564)
  5. การจัดกิจกรรมต่างๆ ในศูนย์เยาวชน
    1. พลศึกษา
    2. คหกรรม
    3. นาฏศิลป์
    4. ห้องสมุด
    5. ศิลปะ
    6. สังคมศาสตร์
    7. นันทนาการ
    8. ดนตรีไทย-สากล
  6. การดำเนินงานและการให้บริการผู้สูงวัย

นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ

สอบข้อเขียน

ทดสอบความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวิชาการศึกษา ศูนย์กีฬา ศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน (โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร) การจัดฝึกอบรมด้านกีฬา วิธีการจัดการเรียนการสอน การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา การตัดสินกีฬา การบาดเจ็บทางกีฬา การปฐมพยาบาล การศึกษาวิเคราะห์วิจัยสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ และสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการประชาสัมพันธ์ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานของศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การสอบปฏิบัติ

ผู้ที่สอบ่ผานภาคความรู้ความสามารถทั่วไป และเข้าสอบข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งในข้อ 1 ก่อน จึงมีสิทธิเข้าทดสอบปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ดังนี้

  1. วิ่ง
    1. ชาย 1,200 เมตร ใช้เวลา 5 นาที (25 คะแนน)
    2. หญิง 800 เมตร ใช้เวลา 3.30 นาที (25 คะแนน)
  2. ว่ายน้ำ 50 เมตร
    1. ชาย ใช้เวลา 30 วินาที (25 คะแนน)
    2. หญิง ใช้เวลา 35 วินาที (25 คะแนน)
  3. สาธิตทักษะการสอนกีฬา ใช้เวลา 10  นาที (50 คะแนน)

นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมพลศึกษา)

การสอบข้อเขียน

ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์เยาวชนด้านกิจกรรมพลศึกษา เช่น การจัดกิจกรรมพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ วิธีการจัดการเรียนการสอน การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา การตัดสินกีฬา การบาดเจ็บทางกีฬา การปฐมพยาบาล การจัดค่าพักแรม การจัดและนำเกมส์ เพลง เป็นต้น การศึกษาวิเคราะห์วิจัย สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ และสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานของศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การสอบปฏิบัติ

ผู้ที่สอบ่ผานภาคความรู้ความสามารถทั่วไป และเข้าสอบข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งในข้อ 1 ก่อน จึงมีสิทธิเข้าทดสอบปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ดังนี้

  1. วิ่ง
    1. ชาย 1,200 เมตร ใช้เวลา 5 นาที (25 คะแนน)
    2. หญิง 800 เมตร ใช้เวลา 3.30 นาที (25 คะแนน)
  2. ว่ายน้ำ 50 เมตร
    1. ชาย ใช้เวลา 30 วินาที (25 คะแนน)
    2. หญิง ใช้เวลา 35 วินาที (25 คะแนน)
  3. สาธิตการนำกิจกรรมนันทนาการ เกมส์ เพลง ใช้เวลา 10  นาที (25 คะแนน)
  4. สาธิตทักษะการสอนกีฬา ใช้เวลา 10  นาที (25 คะแนน)

นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมศิลปะ)

  • ความรู้เกี่ยวกับงานด้านศิลปะสาขาต่างๆ
  • บทบาทหน้าที่ของผู้นำกิจกรรมศิลปะ
  • กระบวนการสอนศิลปะเบื้องต้น เช่น การสร้างความพร้อมขั้นต้นของผู้เรียน การใช้สื่อและเทคโนโลยี การจัดกระบวนการเรียนรู้ แผนการสอน การเขียนโครงการและการประเมินผล เป็นต้น
  • แนวคิด ทฤษฎีด้านศิลปะที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน
  • ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านศิลปะสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน
  • หลักการหรือแนวทางในการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน
  • การสร้างเทคนิคใหม่ นวัตกรรมด้านศิลปะ
  • การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

นักจัดการงานรักษาความสะอาดปฏิบัติการ

  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ได้แก่
    1. การจัดการมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและไขมัน
    2. การรักษาสภาวะแวดล้อม
    3. การส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมในเรื่องการลดปริมาณมูลฝอยและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
    4. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย และค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
    5. โครงการ/แผนงาน/นโยบาย ด้านการรักษาความสะอาด
    6. การควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแล การรักษาความสะอาดที่สาธารณะและสิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ
    7. การนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมาใช้กับงานด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
    1. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
    2. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
    3. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเก็บ ขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย พ.ศ.2544
    4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของอาคารสถานที่และสถานบริการการสาธารณสุข พงศ.2545
    5. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
    6. กฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรามเนียมการให้บริการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ พ.ศ.2545
    7. กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ.2560
    8. กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ.2561
    9. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ.2543

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กทม. :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. – 19 พ.ย. 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 7 ธ.ค. 2561

ดาวน์โหลดไฟล์ “กทม.

แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |