กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 10 ส.ค. -2 ก.ย. 2563 รวม 10 อัตรา,

แชร์เลย

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเปิดรับสมัครสอบข้าราชการ

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ลิงค์: https://ehenx.com/10087/ หรือ
ตำแหน่ง: นักพัฒนาสังคมฏิบัติการ,นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ป.ตรี,ป.ตรีทุกสาขา,ป.ตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 10
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 10 ส.ค. – 2 ก.ย. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพ่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ด้วยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จะดำเนินการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำหน่งนักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ ตำหน่งนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ ตำหน่งนิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักพัฒนาสังคมฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ป.ตรีทุกสาขา*


นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ป.ตรี


นิติกรปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ป.ตรี


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ

ประเภท : ทั่วไป

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักพัฒนาสังคมฏิบัติการ

ได้รับริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา

นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิยอ่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการตลาด

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักพัฒนาสังคมฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยทางวิชาการเบื้องต้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานและการจัดทำระบบ มาตรฐาน มาตรการ แนวทาง หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  2. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมเบื้องต้น รวมทั้งติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังทางสังคม เพื่อปรกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคม และการวางแผนป้องกันแก้ปัญหา และพัฒนางานด้านการพัฒนาาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. ส่งเสริม สนับสนุนและให้บริการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเบื้องต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสิทธิและบริการขั้นพื้นฐานตามที่กำหนด
  4. รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติ และจัดทำเอกสารวิชาการ สื่อเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  5. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเบื้องต้น เพื่อประกอบการจัดหา ระดมทุนและจัดสรรเงินกองทุนในความรับผิดชอบ
  6. ติดตาม รวบรวม จัดเก็บข้อมุล ปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้การดำเนินงานเ็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานแผน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตำรา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม และความั่นคงของมนุษย์แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่ายสังคมและประชาชนทั่วไป เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการทางสังคมและการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  2. ร่วมจัดการฝึกอบรม และถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย และประชาชนทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงขอมนุษย์
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ค้นหาข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ สอบประวัติ เยี่ยมบ้าน ติดตาม สืบเสาะหาข้อเท็จจริงรวมทั้งศึกษาชุมชน และประเมินสภาวะทางสังคมเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยและให้บริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
  2. ให้บริการการปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ปกป้อง คุ้มครอง และพัฒนากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  3. รวบรวม ประมวล สรุป จัดลำดับความสำคัญและความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา เพื่อประกอบการวางแผนให้ความช่วยเหลือ พิทักษ์สิทธิและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย
  4. สำรวจ รวบรวม ศึกษา สรุปจัดทำรายงาน รวมทั้งประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ สถานการณ์และปัญหาด้านสังคม เพื่อประกอบการวิจัย การจัดทำฐานข้อมูล การวางแผนการจัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐานและการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
  5. รวบรวม จัดเก็บข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อประกอบการจัดทำเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ คู่มือ แนวทางปฏิบัติ เอกสารวิชาการ สื่อเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์
  6. จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประกอบการพัฒนาและวางแผนด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ และด้านอื่นๆ ที่เกีย่วข้อง

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้กาดรำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานแผน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำและให้บริการทางวิชาการแก่บุคคล หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินงานด้านสวัสดิการและสังคมและสังคมสงเคราะห์ เพื่อพัฒนาความรู้ เทคนิค ทักษะในการดำเนินงานและพัฒนาบริการด้านสวัวสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
  2. ให้บริการข้อมูล เอกสาร ตำรา สื่อ และคู่มือในรูปแบบต่างๆ เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์แก่ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่าย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการทางสังคมและการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  3. ร่วมจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ครอบครัว กลุ่มชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่ายและประชาชนทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านนิติกร ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคตับบัญชา
  2. ศึกษา วิเคราห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
  3. ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานแผน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ให้คำแนะนำและให้บริการด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษารดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือ โต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
  2. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสา รหลักฐานหนังสือตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  4. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป

2. ด้านการบริการ

  1. ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
  2. ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
  3. ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเ็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
  2. รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
  3. ตรวจสอบและดูความถูกต้งอของเกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
  4. ประสานงานในระดับฝ่าย หรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรอืประชาชนทั่วไป เืพ่อขอความช่วเยหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เ็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
  2. ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

นักพัฒนาสังคมฏิบัติการ
  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ สวัสดิการข้าราชการ วินัยข้าราชการ และการรักษาวินัยข้าราชการ
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เช่น การพัฒนาศักยภาพสตรี การส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมระหว่างประเทศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว การคุ้มคราองพิทักษ์สิทธิสตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด และบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและเยียยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี
  4. การปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคมและที่เกี่ยวข้อง
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ สวัสดิการข้าราชการ วินัยข้าราชการและการรักษาวินัยข้าราชการ
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เช่น การพัฒนาศักยภาพสตรี การส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมระวห่างเพศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว การคุ้มครองพิทักษ์สตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด และบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและเยียวยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี
  4. การปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราห์และที่เกี่ยวข้อง
นิติกรปฏิบัติการ
  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ สวัสดิการข้าราชการ วินัยข้าราชการและการรักษาวินัยข้าราชการ
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เช่น การพัฒนาศักยภาพสตรี การส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมระวห่างเพศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว การคุ้มครองพิทักษ์สตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด และบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและเยียวยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี
  4. การปฏิบัติงานด้านนิติกรและที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติความเท่เทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 รวมถึงความรู้เกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานความรับผิดทางละเมิด ทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครองและงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ
  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ สวัสดิการข้าราชการ วินัยข้าราชการ และการรักษาวินัยข้าราชการ
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เช่น การพัฒนาศักยภาพสตรี การส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมระหว่างเพศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด และบุคคลในครอบครัว การสร้างคามเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้งอกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและเยียยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การคุ้มครองและพัฒนาอาชีผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี
  4. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และที่เกี่ยวข้อง
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
  1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ สวัสดิการข้าราชการ วินัยข้าราชการ และการรักษาวินัยข้าราชการ
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เช่น การพัฬนาศักยภาพสตรี การส่งเสริมกาความเสมอภาคและความเท่าเทียมระหว่างเพศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด และบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและเยียวยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างประเทศ การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี
  4. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงานและที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 และที่ก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จข่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงการคลังว่ด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562 ระเบียบ่วาด้วยกรบริหารงบประมาณ พ.ศ.2562ม พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.250 ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS : Government Fiscal Management information System)

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว :สมัครทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. – 2 ก.ย. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |